Biz news

FORTUNEประกาศการจัดอันดับรายชื่อ  SOUTHEAST ASIA 500



ประเทศไทย  วันที่ 18 มิถุนายน 2567 -  วันนี้ทาง Fortune ได้เผยการจัดอันดับ Southeast Asia 500 ปี 2567 เป็นครั้งแรก โดยมีรายชื่อของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถูกจัดอันดับตามรายได้สำหรับปีงบประมาณ 2566  Fortune ได้มุ่งเน้นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นในเศรษฐกิจโลก ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานและการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจในภูมิภาค

การจัดอันดับครั้งแรกนี้ประกอบไปด้วยบริษัทจาก 7 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา  โดยอินโดนีเซียครองอันดับหนึ่งด้วยรายชื่อบริษัทติดอันดับสูงสุดถึง 110 บริษัท ในขณะที่ประเทศไทยตามมาด้วย 107 บริษัท  มาเลเซีย 89 บริษัท แซงหน้าสิงคโปร์ที่มี 84 บริษัท  ตามด้วยเวียดนามที่ติดอันดับ 70 บริษัท ฟิลิปปินส์อยู่ที่ 38 บริษัท และกัมพูชาที่ 2 บริษัท

ในด้านรายได้ บริษัทค้าสินค้าโภคภัณฑ์ Trafigura ของประเทศสิงคโปร์ครองอันดับที่ 1 ด้วยยอดขาย 244 พันล้านดอลลาร์ จากการจำหน่ายแร่ธาตุ โลหะ และพลังงาน โดยมีจำนวนพนักงานน้อยที่สุดในบรรดาบริษัทชั้นนำ 10 อันดับแรก เมื่อพิจารณาตามรายได้ และเป็นบริษัทที่ทำกำไรได้มากเป็นอันดับสองในกลุ่มนี้

บริษัท 10 อันดับแรกใน Southeast Asia 500 เป็นกลุ่มบริษัทที่มีความหลากหลาย โดยภาคพลังงานมีบริษัทที่ติดอันดับสูงสุดจำนวน 3 บริษัทด้วยกัน ได้แก่ปตท. (PTT) ของไทยเข้ามาอยู่ในอันดับที่ 2   Pertamina ของอินโดนีเซียอยู่ในอันดับที่ 3 และบริษัทไฟฟ้าภาครัฐของอินโดนีเซีย Perusahaan Listrik Negara อยู่ในอันดับที่ 6  อีกประเด็นที่น่าสนใจคือสิงคโปร์มีจำนวนบริษัทที่ติดอันดับมากที่สุดใน 10 อันดับแรก โดยมี Trafigura อยู่อันดับแรก ตามมาด้วย Wilmar ที่อันดับ 4   Olam ที่อันดับ 5 Flex ที่อันดับ 8 และ DBS ที่อันดับ 10 นอกจากนี้ ในสิบอันดับแรกยังมี CP All ของไทยอยู่ที่อันดับ 7 และ San Miguel ของฟิลิปปินส์ที่อันดับ 9 อีกสามบริษัทจากไทยที่ติดอันดับ 20 บริษัททำรายได้สูงสุดได้แก่: อินโดรามา เวนเจอร์ส (Indorama Ventures) อยู่ที่อันดับ 14 ปูนซิเมนต์ไทย (Siam Cement) อยู่ที่อันดับ 16 และ ซีพี แอ็กซ์ตร้า (CP Axtra) อยู่ที่อันดับ 19

บริษัทที่ใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกได้รับรายงานว่ามีรายได้ถึง 6.5 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าหนึ่งในสามของรายได้รวมในงบประมาณปี 2566 จากบริษัททั้งหมดใน Southeast Asia 500 ซึ่งมีรายได้ทั้งสิ้น 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ เกณฑ์รายได้ขั้นต่ำในการมีรายชื่ออยู่ใน Southeast Asia 500 คือ 460.8 ล้านดอลลาร์

ด้วยรายได้รวมอยู่ที่ 2.42 แสนล้านดอลลาร์ การธนาคารจึงเป็นภาคส่วนที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สำคัญ ธนาคาร 9 แห่งติดหนึ่งใน 20 บริษัทที่ทำกำไรได้มากที่สุด โดยนำด้วยธนาคาร DBS ของสิงคโปร์ทั้งในด้านรายรับและผลกำไร

ภาพรวมของ Southeast Asia 500 ในปีที่ผ่านมามีรายได้และผลกำไรที่ลดลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้รับผลกระทบจากธุรกิจภาคพลังงานที่ถดถอยลง จึงได้บดบังการเติบโตที่น่าประทับใจในหลายอุตสาหกรรม บริษัทที่มีการเติบโตอย่างน่าประทับใจได้แก่สายการบินเช่น การบินไทย (Thai Airways) บริษัทเหมืองแร่ในอินโดนีเซียเช่น Harita Nickel และ Merdeka Battery Materials รวมถึงบริษัทประกันภัยและธนาคารอีกมากมาย

Clay Chandler บรรณาธิการบริหารประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า “การจัดอันดับ Fortune Southeast Asia 500 สะท้อนให้เห็นถึงภูมิภาคที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจหลักเติบโตเร็วกว่าภูมิภาคยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญมากขึ้นในเศรษฐกิจโลก เนื่องจากบริษัทข้ามชาติที่ติดอันดับ Global 500 หลายแห่งได้ย้ายห่วงโซ่อุปทานการผลิตไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น”

ในการนำเสนอรายชื่อใหม่ที่จะถูกเผยแพร่บน Fortune.com และ Fortune Asia ฉบับเดือนมิถุนายน/ กรกฎาคม  คุณ Clay ตั้งข้อสังเกตว่า "Southeast Asia 500 จะติดตามการเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านสินค้าโภคภัณฑ์ การขนส่ง การเงิน การค้าปลีก เทคโนโลยี หรือการให้บริการ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปีต่อ ๆ ไป”

อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ในภูมิภาคที่นักวิเคราะห์ของ Fortune สังเกตเห็น คือการที่มีซีอีโอและประธานบริษัทหญิง ประมาณ 30 คน จากกลุ่ม Southeast Asia 500 และมีซีอีโอที่อายุน้อยที่สุดคือ นายศินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทบ้านปู (BANPU) ของประเทศไทย ซึ่งมีอายุ 34 ปี และได้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยรวมแล้วมีผู้นำในวัย 30 กว่า ๆ ทั้งสิ้น 16 คน ดำรงตำแหน่งซีอีโอ, กรรมการผู้จัดการ, ประธานกรรมการบริหารหรือประธานบริษัท และในจำนวน 500 บริษัทนี้ ว่าจ้างพนักงานรวมแล้วเกือบ 6 ล้านคนด้วยกัน

“เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้เผยแพร่ Southeast Asia 500 ให้กับผู้อ่านของเราทั่วโลก เราได้ต่อยอดจากประวัติศาสตร์ 70 ปีของการเผยแพร่ Fortune 500 ด้วยการจัดลำดับ Southeast Asia 500 ใหม่ล่าสุดนี้ ซึ่งเราจะเน้นไปที่เรื่องราวการเติบโตที่น่าประทับใจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบริษัทอันดับต้น ๆ ที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจอันหลากหลายในภูมิภาคนี้” Khoon-Fong Ang หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการประจำภูมิภาคเอเชียของ Fortune กล่าวทิ้งท้าย

ด้วยการเปิดตัวรายชื่อ Southeast Asia 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทชั้นนำที่ได้รับการยอมรับจากการรวมตัวกันภายใต้กลุ่ม Fortune 500 อันทรงเกียรติ ซึ่งประกอบด้วย Fortune 500 Global, Fortune 500 Europe, Fortune China 500 และ Fortune Southeast Asia 500 ใหม่นี้

รายชื่อและเรื่องราวของ Fortune Southeast Asia 500 จะวางจำหน่ายบนแผงขายหนังสือพิมพ์ทั่วเอเชียตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายนเป็นต้นไป

ข้อมูลเพิ่มเติม : https://mail.google.com/mail/u/1/#inbox/FMfcgzQVxHZZXQVBxLwsVnCrFjQlxSfr?projector=1&messagePartId=0.3

ภาคผนวก 1: 20 อันดับบริษัท Southeast Asia 500 เรียงตามรายได้และผลกำไร

บริษัท 20 อันดับแรกตามรายได้

 

อันดับ

 

บริษัท

 

ที่ตั้งสำนักงานใหญ่

 

ประเภทธุรกิจ

 

1

 

Trafigura Group

 

สิงคโปร์

 

ซื้อขายสินค้า

 

2

 

PTT

 

ประเทศไทย

 

การกลั่นปิโตรเลียม

 

3

 

Pertamina

 

อินโดนีเซีย

 

การกลั่นปิโตรเลียม

 

4

 

Wilmar International

 

สิงคโปร์

 

การผลิตอาหาร

 

5

 

Olam Group

 

สิงคโปร์

 

จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค

 

6

 

Perusahaan Listrik Negara

 

อินโดนีเซีย

 

สินค้าสาธารณูปโภค การจำหน่ายแก๊สและไฟฟ้า

 

7

 

CP All

 

ประเทศไทย

 

อาหารและยา

 

8

 

Flex

 

สิงคโปร์

 

สินค้าอิเล็กทรอนิกส์  อุปกรณ์ไฟฟ้า

 

9

 

San Miguel

 

ฟิลิปปินส์

 

เครื่องดื่ม

 

10

 

DBS Group Holdings

 

สิงคโปร์

 

ธนาคารพาณิชย์

 

11

 

United Overseas Bank

 

สิงคโปร์

 

ธนาคารพาณิชย์

 

12

 

Oversea-Chinese Banking

 

สิงคโปร์

 

ธนาคารพาณิชย์

 

13

 

Charoen Pokphand Foods

 

ประเทศไทย

 

การผลิตอาหาร

 

14

 

Indorama Ventures

 

ประเทศไทย

 

ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์

 

15

 

Bank Rakyat Indonesia

 

อินโดนีเซีย

 

ธนาคารพาณิชย์

 

16

 

Siam Cement

 

ประเทศไทย

 

วัสดุก่อสร้าง กระจก

 

17

 

Maybank

 

มาเลเซีย

 

ธนาคารพาณิชย์

 

18

 

Singapore Airlines

 

สิงคโปร์

 

สายการบิน

 

19

 

CP Axtra

 

ประเทศไทย

 

อาหารและยา

 

20

 

Sea

 

สิงคโปร์

 

บริการอินเทอร์เน็ตและการค้าปลีก

 

20 อันดับบริษัทที่ทำกำไรได้มากที่สุด

 

1

 

DBS Group Holdings

 

สิงคโปร์

 

ธนาคารพาณิชย์

 

2

 

Trafigura Group

 

สิงคโปร์

 

ซื้อขายสินค้า

 

3

 

Oversea-Chinese Banking

 

สิงคโปร์

 

ธนาคารพาณิชย์

 

4

 

Pertamina

 

อินโดนีเซีย

 

การกลั่นปิโตรเลียม

 

5

 

United Overseas Bank

 

สิงคโปร์

 

ธนาคารพาณิชย์

 

6

 

Bank Rakyat Indonesia

 

อินโดนีเซีย

 

ธนาคารพาณิชย์

 

7

 

Bank Mandiri

 

อินโดนีเซีย

 

ธนาคารพาณิชย์

 

8

 

PTT

 

ประเทศไทย

 

การกลั่นปิโตรเลียม

 

9

 

Bank Central Asia

 

อินโดนีเซีย

 

ธนาคารพาณิชย์

 

10

 

Keppel

 

สิงคโปร์

 

อสังหาริมทรัพย์

 

11

 

Maybank

 

มาเลเซีย

 

ธนาคารพาณิชย์

 

12

 

Singapore Airlines

 

สิงคโปร์

 

สายการบิน

 

13

 

Adaro Energy Indonesia

 

อินโดนีเซีย

 

การทำเหมืองแร่ การผลิตน้ำมันดิบ

 

14

 

Singtel

 

สิงคโปร์

 

โทรคมนาคม

 

15

 

Telkom Indonesia

 

อินโดนีเซีย

 

โทรคมนาคม

 

16

 

MIND ID

 

อินโดนีเซีย

 

การทำเหมืองแร่ การผลิตน้ำมันดิบ

 

17

 

CIMB Group Holdings

 

มาเลเซีย

 

ธนาคารพาณิชย์

 

18

 

Wilmar International

 

สิงคโปร์

 

การผลิตอาหาร

 

19

 

Public Bank