Think In Truth

จับกระแส! ชิงสว.ว่าด้วยชุดเลือกกันเอง ใคร..?จะเข้าวิน! โดย : ฅนข่าว2499



แม้ว่าการเลือกตั้งการเลือกสมาชิกวุฒิสภาหรือ สว.ได้ผ่านการตัดเลือกในระดับจังหวัดไปแล้วก็ตาม หากแต่เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในวิธีการเลือกตั้งเนื่องจากการเลือกสว.ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ใช้วิธีการเลือกกันเองด้วยเหตุนี้จึงขอนำข้อมูลมาขยายความดังต่อไปนี้

การเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567 เป็นการเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 13 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 107 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 ภายหลังวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ซึ่งเป็นชุดเฉพาะกาลหมดวาระลงเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมาโดยวุฒิสภาชุดนี้จะมีจำนวน 200 คนและไม่สามารถร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีได้

การเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทยในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ใช้วิธีการเลือกกันเองของประชาชนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในกลุ่มต่าง ๆ จำนวน 20 กลุ่ม ใน 3 ระดับ คือระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ

วุฒิสภาไทยมีการเปลี่ยนแปลงการได้มาหลายครั้งนับแต่เริ่มก่อตั้งในปี2490 โดยมีทั้งการเลือกตั้งทางตรงและทางอ้อมหรือคละกัน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ประกาศใช้หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 กำหนดให้มีสว.เฉพาะกาลคราวละ 5 ปีโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองที่ปกครองประเทศไทยตั้งแต่รัฐประหารใน พ.ศ. 2557 จนถึง พ.ศ. 2562 ที่มีวุฒิสภาถาวร

วุฒิสภาเฉพาะกาลประกอบด้วยสมาชิกที่ คสช. แต่งตั้ง 250 คน โดยมีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)ฝ่ายวุฒิสภาเลือกพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาอย่างล้นหลามใน พ.ศ. 2562 และนายเศรษฐา ทวีสินในปี 2566 บทบัญญัตินี้ถูกสาธารณชนตรวจสอบอย่างเข้มงวดในระหว่างการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566 เมื่อสว.ไม่ให้ความเห็นชอบนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แม้ว่า ส.ส.ส่วนใหญ่ให้คะแนนสนับสนุนก็ตาม

หลังสว.เฉพาะกาลหมดวาระในวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 สว.ชุดถัดไปจะได้รับเลือกตั้งทางอ้อมผ่านระบบการเลือกตั้งที่ซับซ้อนอย่างมาก ด้วยจุดประสงค์ในการสร้างสถาบันคตินิยมนักวิชาการ การเลือกสมาชิกวุฒิสภาในปี 2567 จะเป็นครั้งแรกที่ใช้ระบบนี้ และวุฒิสภาถาวรชุดนี้จะไม่มีอำนาจในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี

ขอย้อนไปการเลือกตั้งเมื่อปี 2566รัฐบาลประยุทธ์พ่ายแพ้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย พ.ศ. 2566 แบบแลนด์สไลด์โดยพรรคก้าวไกลได้ที่นั่งมากที่สุด รองลงมาคือพรรคเพื่อไทย แต่ความพยายามที่จะจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างทั้งสองฝ่ายกลับล้มเหลว หลังจากนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ไม่ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนใหญ่เป็นเพราะการคัดค้านจากสว.ชุดเฉพาะกาลซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยม

จากเหตุการณ์นี้จีงทำให้มีการจัดตั้งรัฐบาลโดยนายเศรษฐา ทวีสินของพรรคเพื่อไทย คณะรัฐมนตรีเศรษฐาได้รับการสนับสนุนจากพรรคภูมิใจไทยและพรรคชาติไทยพัฒนา เช่นเดียวกันกับพรรคการเมืองแนวร่วมประยุทธ์อย่างพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมไทยสร้างชาติ

ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 จำแนกกลุ่มบุคคลในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาไว้ จำนวน 20 กลุ่ม ดังนี้

1.กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง เช่น อดีตข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

2.กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เช่น ผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

3.กลุ่มการศึกษา เช่น ครู อาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษา หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

4.กลุ่มการสาธารณสุข เช่น แพทย์ทุกประเภท นักเทคนิคการแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

5.กลุ่มอาชีพเกษตรกรทำนา ปลูกพืชล้มลุก หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

6.กลุ่มอาชีพทำสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

7.กลุ่มพนักงานลูกจ้างที่ไม่ใช่ราชการหรือหน่วยงานรัฐ ผู้ใช้แรงงาน หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

8.กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์ และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

9.กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อยตามกฎหมาย หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

10.กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจาก (9)

11.กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบกิจการอื่นหรือพนักงานโรงแรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

12.กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

13.กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

14.กลุ่มสตรี

15.กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือผู้ทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น ๆ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

16.กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

17.กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์การสาธารณประโยชน์ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

18.กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

19.กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

20.กลุ่มอื่น ๆ

ลักษณะอื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน ในที่นี้ เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 และมีผลบังคับใช้ในวันถัดมา (26 เมษายน 2567)

ตามกรอบเวลาหลังจากวาระของวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 สิ้นสุดลงในวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ในวันเดียวกัน จะมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือก สว. ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่63เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.) เสนอเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567โดยคาดว่าจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 11 พฤษภาคม 2567

นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. ยังอนุมัติแผนการจัดเลือกสว.โดยกำหนดวันเลือกและวันรับสมัครในวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 และจะมีการรับสมัครเป็นเวลา 5 วัน คือจนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2567 จากนั้นอีก 5 วัน (22 พฤษภาคม 2567) จะเป็นการประกาศรายชื่อผู้สมัครและถัดมาได้กำหนดให้ในวันที่ 9 มิถุนายน 2567 จะเป็นวันเลือกระดับอำเภอ, กำหนดให้วันที่ 16 มิถุนายน 2567 เป็นวันเลือกระดับจังหวัด และวันที่ 26 มิถุนายน 2567 เป็นวันเลือกระดับประเทศ ณ อิมแพคฟอรั่ม อิมแพ็ค เมืองทองธานีจากนั้นกำหนดให้วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ที่จะถึงนี้เป็นวันประกาศผลผู้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา

เมื่อทำการเลือกในระดับอำเภอ อำเภอหนึ่งแต่ละกลุ่มจะมีผู้ได้รับเลือกคะแนนสูงสุด 3 คน 1 อำเภอ 20 กลุ่ม เป็น 60 คน โดยอำเภอทั่วประเทศ คือ 928 อำเภอ เมื่อรวมแล้วจะมี 55,680 คน ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการเลือกระดับจังหวัด เพื่อเลือกผู้ได้รับคะแนนสูงสุด 2 คนแรกของแต่ละกลุ่ม เป็นผู้ที่ได้รับเลือกไปสู่การเลือกระดับประเทศ รวม 3,080 คน จากนั้นการเลือกระดับประเทศจะเหลือ 200 คน จำนวน 20 กลุ่มๆ ละ 10 คน

สรุปวิธีการเลือกตั้ง

รอบ

วันที่

ระดับ

ความคืบหน้าของผู้สมัคร

วิธีเลือกตั้ง

ในกลุ่ม

ทุกกลุ่ม

ทั่วประเทศ

1

9 มิถุนายน

แต่ละคนใน 928 อำเภอ

5

100

92,800

จำกัดคะแนนเสียง (โหวต 2 คะแนน)

2

3

60

55,680

เสียงเดียวโอนไม่ได้

3

16 มิถุนายน

แต่ละคนใน 77 จังหวัด

5

100

7,700

จำกัดคะแนนเสียง (โหวต 2 คะแนน)

4

2

40

3,080

เสียงเดียวโอนไม่ได้

5

26 มิถุนายน

ทั่วประเทศไทย

40

800

จำกัดคะแนนเสียง (โหวต 10 คะแนน)

6

10

200

จำกัดคะแนนเสียง (โหวต 5 คะแนน)

อย่างไรก็ตามจากการเลือกสมาชิกวุฒิสภาในครั้งนี้โดยใช้วิธีการผู้สมัครเลือกกันเอง ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์วุฒิสภาไทย และเมื่อลงลึกในรายละเอียดพบว่า เป็นวิธีการที่ซับซ้อนมากที่สุดอีกด้วย ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ระดับอำเภอ-จังหวัด-ประเทศ

นอกจากนี้ กฎและระเบียบของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง สร้างความไม่สะดวกและไม่อำนวยให้ผู้สมัครได้แนะนำตัว หรือหาเสียง อาทิ ห้ามแจกเอกสารแนะนำตัวด้วยการวาง โปรย หรือติดประกาศในที่สาธารณะ, ห้ามแนะนำตัวทางวิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์, และห้ามให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน นักข่าว หรือสื่อโฆษณา ที่เผยแพร่ทางแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ เป็นต้น[13] ซึ่งในการเลือกตั้ง สว. ที่ผ่านมา 4 ครั้ง ไม่เคยมีระเบียบเช่นนี้ออกมาก่อน

อย่างไรก้ตามก่อนการเลือกสว. คือในช่วงเดือนมีนาคม 2567 คณะก้าวหน้า ร่วมกับโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw - ไอลอว์) ได้ดำเนินการส่งผู้สมัคร สว. เข้าประกอบในทุกพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และลดอำนาจองค์กรอิสระโดยมีการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกประมาณ 100 คนทั่วประเทศโดยเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา มีการเปิดตัวผู้ที่สนใจลงสมัคร 29 คน

หลังจากนั้น ทั้งคณะก้าวหน้าและไอลอว์ยังดำเนินการรณรงค์เพิ่มเติม โดยไอลอว์ร่วมกับเครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ ได้เปิดเว็บไซต์ https://senate67.com/ ขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2567 เพื่อให้ผู้ที่สนใจลงสมัคร สว. มาแนะนำตนเอง และตรวจสอบคุณสมบัติ ส่วนคณะก้าวหน้าได้ออกไปรณรงค์ให้ประชาชนลงสมัคร สว. ตามพื้นที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงหลังวันสงกรานต์ และเริ่มต้นแคมเปญนี้อย่างเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 22 เมษายน พรรณิการ์ วานิช โฆษกคณะก้าวหน้า ปฏิเสธว่า แคมเปญนี้ของคณะก้าวหน้าไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อผลิต สว. สีส้ม แต่อย่างใด

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกมาเตือนเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 ว่า การรณรงค์ของคณะก้าวหน้าและไอลอว์ข้างต้นเข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมาย โดยได้รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อมูล และพยานหลักฐานทั้งหมดแล้ว และหากเห็นว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย จะดำเนินการในทันที จึงขอให้ยกเลิกและยุติการกระทำดังกล่าว แต่ไอลอว์ออกมาปฏิเสธทันทีว่าเป็นการข่มขู่ประชาชนด้วยข้อมูลเท็จ เนื่องจากได้ตรวจสอบแล้ว ไม่พบข้อห้ามดังกล่าวในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 และในวันเดียวกัน กกต. ได้ออกระเบียบว่าด้วยการแนะนำตัว โดยมีผลบังคับใช้ในวันถัดมาคือ 27 เมษายน ส่งผลให้เว็บไซต์ https://senate67.com/ ต้องยกเลิกการเปิดเผยข้อมูลผู้สมัครในวันเดียวกันทันที

24 พฤษภาคม 2567 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนระเบียบ กกต. ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 3 ข้อ ดังนี้

ข้อ 7 ระบุว่า การใช้เอกสารแนะนำตัวผู้สมัคร ให้ใช้เอกสารขนาดไม่เกิน A4 สามารถระบุข้อความเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว ใส่รูปถ่ายของผู้สมัคร ประวัติการศึกษา ประวัติการศึกษา หรือประสบการณ์ในการทำงานในกลุ่มเท่านั้น ไม่เกิน 2 หน้า การแจกเอกสารตามวรรคหนึ่ง จะกระทำในสถานที่เลือกไม่ได้

ข้อ 8 ระบุว่า ผู้สมัครสามารถแนะนำตัวโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง โดยให้ใช้ข้อความตามเอกสารแนะนำตัวตาม ข้อ 7 และเผยแพร่แก่ผู้สมัครอื่นในการเลือกเท่านั้น

ข้อ 11 (2) ระบุว่า นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา มีผลบังใช้ไปจนถึงวันที่ กกต.ประกาศผลการเลือก ห้ามผู้สมัครหรือผู้ช่วยเหลือผู้สมัคร แนะนำตัวในกรณี ผู้ประกอบอาชีพทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อมวลชน หรือโฆษณา เช่น นักแสดง นักร้อง นักดนตรี พิธีกร เป็นต้น ใช้ความสามารถ หรือวิชาชีพดังกล่าว เพื่อเอื้อประโยชน์ในการแนะนำตัว

เนื่องจากเห็นว่า ระเบียบดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทำให้ขาดการมีส่วนร่วมประชาชนตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

หลังจากปิดการรับสมัคร ได้มีการรายงานถึงผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติการลงสมัครสมาชิกวุฒิสภา โดยจังหวัดบุรีรัมย์มีการตัดสิทธิ์ผู้สมัครเนื่องจากสังกัดพรรคการเมือง ซึ่งขัดกับเงื่อนไขการรับสมัคร จำนวนทั้งสิ้น 51 คน โดยมีสมาชิกจากพรรคภูมิใจไทยมากที่สุด คือ 11 คน รองลงมาคือพรรคพลังเพื่อไทยจำนวน 7 คน และพรรครวมใจไทย จำนวน 6 คน และในจังหวัดพิจิตรพบผู้สมัครลักษณะต้องห้ามจำนวน 25 ราย ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะต้องห้ามคือ เป็นสมาชิกพรรคการเมือง และ เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นเว้นแต่ได้พ้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง

ซึ่งผลจากการที่ผู้สมัครที่ถูกตรวจสอบและขาดคุณสมบัติ จะต้องถูกดำเนินการที่มีบทลงโทษผู้กระทำผิดหรือกรณีรู้อยู่แล้วว่าไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง สว. คือผู้ใดฝ่าฝืนรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกไม่ว่าเพราะเหตุผลใดได้สมัครรับเลือกต้องระวางโทษจำคุก 1-20 ปี ปรับ 20,000 -200,000 บาท ให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น มีกำหนด 20 ปี และมีความผิดในข้อหาที่ว่าผู้ใดรับรองหรือเป็นพยาน ซึ่งลงชื่อรับรองเอกสารหรือหลักฐานที่ใช้ประกอบการสมัครเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 5 ปี

กล่าวโดยสรุปสำหรับขั้นตอนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา มีดังนี้

ขั้นที่ 1ประกาศให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ภายใน 5 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา มีผลบังคับใช้ กกต.ประกาศ กำหนดวันเลือกระดับอำเภอ จังหวัด และประเทศ

ขั้นที่ 2การสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา เริ่มรับสมัครไมเกิน 15 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือก สมาชิกวุฒิสภา มีผลบังคับใช้ และกำหนดวันรับสมัคร 5 - 7 วัน

ขั้นที่ 3ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ผู้อำนวยการเลือกระดับอำเภอประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็น สมาชิกวุฒิสภา ภายใน 5 วัน นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลารับสมัคร

ขั้นที่ 4การเลือกสมาชิกวุฒิสภา 3 ระดับ การเลือกสมาชิกวุฒิสภา มี 3 ระดับ คือ ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ

ขั้นที่ 5ประกาศผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา เมื่อ กกต. ไดรับรายงานจากผู้อำนวยการเลือกระดับประเทศแล้ว ให้รอไว้ไม่น้อยกว่า 5 วัน เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ถ้า กกต. เห็นวาเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม  ให้ประกาศผลการเลือกในราชกิจจานุเบกษา

ในขั้นที่ 4 การเลือกสมาชิกวุฒิสภามี 3 ระดับด้วยกัน คือ ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ ซึ่งประกอบด้วยการเลือกกันเองในกลุ่ม และการเลือกแบบไขว้ ดังนี้

ระดับอำเภอ

รอบที่ 1 เลือกกันเองในกลุ่ม เลือกผู้สมัครในกลุ่มเดียวกัน เลือกกันเองในกลุ่มเดียวกันไม่เกิน 2 คน  เลือกตนเองก็ได้ แต่จะลงคะแนนให้ผู้ใดเกิน 1 คะแนนไม่ได้ ผู้ได้คะแนนสูงสุด 5 ลำดับแรกเป็นผู้ได้รับเลือกไปสู่รอบที่ 2 ต่อไป (เหลือกลุ่มละ 5 คน)

รอบที่ 2 เลือกแบบไขว้ เลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นที่อยู่สายเดียวกัน แบ่งสายไม่เกิน 4 สาย โดยการจับสลากประกอบด้วยจำนวนกลุ่มเท่ากันเลือกผู้สมัครกลุ่มอื่นในสายเดียวกันกลุ่มละ 1 คน แต่จะเลือกกลุ่มเดียวกันหรือตนเองไม่ได้ผู้ได้คะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก ของแต่ละกลุ่ม เป็นผู้ได้รับเลือกในระดับอำเภอของกลุ่มนั้น เพื่อไปสู่ระดับจังหวัดต่อไป

ระดับจังหวัด

รอบที่ 1 เลือกกันเองในกลุ่ม เลือกผู้สมัครในกลุ่มเดียวกัน เลือกกันเองในกลุ่มเดียวกันไม่เกิน 2 คน  เลือกตนเองก็ได้ แต่จะลงคะแนนให้ผู้ใดเกิน 1 คะแนนไม่ได้ ผู้ได้คะแนนสูงสุด 5 ลำดับแรกเป็นผู้ได้รับเลือกไปสู่รอบที่ 2 ต่อไป (เหลือกลุ่มละ 5 คน)

รอบที่ 2 เลือกแบบไขว้ เลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นที่อยู่สายเดียวกัน แบ่งสายไม่เกิน 4 สาย โดยการจับสลากประกอบด้วยจำนวนกลุ่มเท่ากันเลือกผู้สมัครกลุ่มอื่นในสายเดียวกันกลุ่มละ 1 คน แต่จะเลือกกลุ่มเดียวกันหรือตนเองไม่ได้ผู้ได้คะแนนสูงสุด2 ลำดับแรก ของแต่ละกลุ่ม เป็นผู้ได้รับเลือกในระดับอำเภอของกลุ่มนั้น เพื่อไปสู่ระดับประเทศต่อไป

ระดับประเทศ

รอบที่ 1 เลือกกันเองในกลุ่ม เลือกผู้สมัครในกลุ่มเดียวกัน เลือกกันเองในกลุ่มเดียวกันไม่เกิน 10 คน  เลือกตนเองก็ได้ แต่จะลงคะแนนให้ผู้ใดเกิน 1 คะแนนไม่ได้ ผู้ได้คะแนนสูงสุด 40 ลำดับแรกเป็นผู้ได้รับเลือกไปสู่รอบที่ 2 ต่อไป (เหลือกลุ่มละ 40 คน)

รอบที่ 2 เลือกแบบไขว้ เลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นที่อยู่สายเดียวกัน แบ่งสายไม่เกิน 4 สาย โดยการจับสลากประกอบด้วยจำนวนกลุ่มเท่ากันเลือกผู้สมัครกลุ่มอื่นในสายเดียวกันกลุ่มละ 5 คน แต่จะเลือกกลุ่มเดียวกันหรือตนเองไม่ได้ ผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับที่ 1-10 ของแต่ละกลุ่มเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา และผู้ได้รับคะแนนลำดับที่ 11-15 อยู่ในบัญชีสำรองของกลุ่มนั้น

สำหรับในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาครั้งนี้ เราจะมีสมาชิกวุฒิสภา (สว.) รวมทั้งสิ้น 200 คน และมีบัญชีสำรอง จำนวน 100 คน ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560ทั้งนี้โดยคาดว่าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจะตีพิมพ์รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาที่ผ่านการเลือกตั้งในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ที่จะถึงนี้

ต้องติดตามดูโฉมหน้าใหม่ สว.ชุดเลือกกันเองว่าจะมีใครเข้าวินบ้าง.