Travel Sport & Soft Power
ลพบุรีเฝ้าระวังโรคลัมปี สกินโค-กระบือ
ลพบุรี-“ปศุสัตว์ลพบุรี ระดมกำลังประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ”ด้วยการประชุมออนไลน์ผ่านWeb Conference ไปยังสหกรณ์และศูนย์รับน้ำนมดิบทั้ง14แห่ง
เมื่อวันที่20พ.ค.2564 นายจรูญ ชูเกียรติวัฒนา ปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี ได้ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนและให้ความรู้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมโดยการประชุมออนไลน์ผ่านWeb Conference ไปยังสหกรณ์และศูนย์รับน้ำนมดิบทั้ง14แห่งในจังหวัดลพบุรีเพื่อชี้แจงแนวทางการป้องกันและควบคุมโรค”ลัมปี สกิน”
ในโคนม โรคลัมปี สกิน มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส เป็นโรคที่เกิดเฉพาะในโค กระบือไม่เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้ก่อโรคตามอวัยวะที่มีเซลล์เยื่อบุ มีลักษณะอาการที่สังเกตได้คือ พบตุ่มเนื้อบนผิวหนังและเยื่อเมือกทั่วร่างกาย ซึ่งต่อมาจะตกสะเก็ดและเป็นแผลหลุม สัตว์อาจมีไข้และหายใจลำบากร่วมด้วย โดยในโคนมอาจพบนำ้นมลดลง25-65เปอร์เซนต์ โรคนี้มีแมลงดูดเลือด เช่น เห็บ แมลงวันดูดเลือดและยุงเป็นพาหะที่สำคัญในการแพร่กระจายเชื้อนอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัสสัตว์ป่วยโดยตรง ผ่านทางนำ้เชื้อหรือผ่านทางรกได้
ในปัจจุบันมีการรายงานการเกิดโรคนี้ในหลายจังหวัดของประเทศไทย ดังนั้นจังหวัดลพบุรีจึงยกระดับการป้องกันโรค
“ลัมปี สกิน” โดยดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคของกรมปศุสัตว์อย่างเข้มงวด โดยเน้นการดำเนินการใน5มาตรการหลักที่สำคัญ1.เร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์เกษตรกรให้รับรู้ลักษณะของโรคและสถานการณ์การระบาดของโรค 2.เข้มงวดการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง 3.เน้นขอความร่วมมือจากพ่อค้าสัตว์ เกษตรกรงดการซื้อขายโค-กระบือ ที่มาจากเเหล่งที่เกิดโรคหรือจากพื้นที่ในรัศมี50กม.รอบจุดเกิดโรค 4.สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลพบุรีระดมกำลังเจ้าหน้าที่ร่วมบูรณาการกับสำนักงานปศุสัตว์อำเภอทั้ง11อำเภอของจังหวัดลพบุรี, ด่านกักกันสัตว์ลพบุรี
สหกรณ์/ศูนย์รับน้ำนมดิบทุกแห่งในจังหวัด, หน่วยHHU ,ท้องถิ่นฯลฯ ออกปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมแมลงพาหะนำโรค โดยใช้สารกำจัดแมลง โดยการจัดหน่วยบริการเคลื่อนที่เข้าไปดำเนินการฉีดพ่นสารกำจัดแมลงซึ่งเป็นพาหะของโรคบริเวณคอกสัตว์ แนะนำเกษตรกรปรับภูมิทัศน์โดยรอบฟาร์มให้โปร่งโล่งไม่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงพาหะรวมถึงกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในพื้นที่โดยรอบ กำจัดมูลสัตว์ออกจากฟาร์มเป็นประจำหรือใช้ผ้าคลุมเพื่อป้องกันแมลงมาวางไข่ รวมทั้งกางมุ้งให้แก่สัตว์เพื่อป้องกันแมลงดูดเลือด 5.จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวัง ค้นหาโรค หากตรวจพบฟาร์มที่สงสัย ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอในท้องที่หรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลพบุรีในทันที
เพื่อจะได้ควบคุมโรคไม่ให้ลุกลามและแพร่กระจายออกไป
ทวีศักดิ์/ลพบุรี