Think In Truth

ลุ้น!! ทอ.ซื้อเครื่องบินรบใหม่เซียนฟันธง F-16แซงโค้ง โดย : ฅนข่าว2499



กระแสความสนใจเกี่ยวกับโครงการจัดซื้อหาเครื่องบินรบใหม่วงเงิน 19.000 ล้านบาทของกองทัพ อากาศ หรือ ทอ.กำลังลุ้นกันตัวโก่งระหว่าง“F-16กับ Gripen”  เพื่อนำไปทดแทนเครื่องบินที่หมดอายุการใช้งาน ในภารกิจหลักคือ การป้องกันภัยทางอากาศและภารกิจรองคือการโจมตีสนับสนุนภาคพื้นดิน ภารกิจลาดตระเวนทางอากาศ แต่ในครั้งนี้จะนำมาใช้กับภารกิจหลัก คือป้องกันภัยทางอากาศ ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วก็ดีและเหมาะกับไทยทั้งสองรุ่น

ทั้งนี้แต่โดยเบื้องลึกแล้วเชื่อว่าใจจริง ทอ.อยากได้ F-16 แต่ก็คงกลัวกระแสประชาชนตีกลับด้วย เพราะสื่อข่าวหลายๆช่องเอาแต่ลงข่าวเรื่องราคาของ 2รุ่นนี้ ทั้งที่จริงๆ F-16 ดูตอบโจทย์กับ ทอ.ไทยมากกว่าทั้งเรื่องการซ่อมบำรุงกับชั่วโมงบินของนักบิน

เครื่องบินทั้งสองแบบ  ต่างเป็นเครื่องบินที่กำลังตกรุ่นทั้งคู่กริพเพนเคยเกือบจะขายได้สำเร็จในหลายประเทศ  ด้วยจุดเด่นเรื่องค่าใช้จ่ายในการบินที่ประหยัดมากโดยสเปค-สมรรถณะF-16 เหนือกว่าทุกด้าน  แต่ราคาแพงกว่า  flight hour cost ก็แพงกว่า

ถ้าจะว่ากันตรงๆแล้ว กริฟเพนเหมาะกับไทยมากกว่า บินรบพิสัยใกล้ ใต่ระดับเร็ว คล่องตัว เหมาะจะใช้ป้องกันประเทศ ราคาก็ถูกกว่า ประสิทธิภาพไม่ได้ด้อยไปกว่าเลยกริฟเพน อี/เอฟเป็นเครื่องบินที่คุ้มค่าแล้วก็คุ้มราคาเพียงแต่ว่าถ้าระยะยาวแล้วยังต้องการอยู่กับฝั่งสหรัฐในเรื่องของเครื่องบินรบและกำลังทางอากาศ ก็คงต้องเอนเอียงไปทาง F-16 อยู่ดี

 

F-16 เน้นใช้งานทุกด้าน ทั้งการโจมตีนอกและในเห็นผลระยะยาวมากกว่า ทั้งเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และอะไหล่บำรุงรักษา(เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตอนที่ไทยจัดซื้อกริฟเพนครั้งแรก ทางล็อคฮีตถึงกับส่งจดหมายมาถามเลยว่าทำไมไม่เลือกF-16)

ประเด็นสำคัญ ก็คือกองทัพวางแผนระยะยาวไว้แบบไหนถ้าระยะยาวยังต้องการ F-35 มาใช้งานในกองทัพก็มีความจำเป็นที่จะต้องเลือก F-16 block 70 หรือ 72 มาใช้งานเพราะอย่างน้อยมันก็ทำให้มีโอกาสในการได้ F-35 สูงขึ้นส่วนหลายคนที่มองว่าเกินความจำเป็นในทางกลับกันมันก็เหมือนกับยุคสมัยก่อนที่เราซื้อF-16 มาใช้งานตอนนั้นF-16ก็มีสถานะเหมือน F- 35 คือไทยไม่ได้มีความจำเป็นขนาดที่จะต้องใช้ F-16แต่สุดท้ายแล้วทุกอย่างก็มีเหตุผลในตัวมัน F-16 ทุกวันนี้กลายเป็น standard ของเครื่องบินรบยุคใหม่ที่อะไหล่หาง่ายแล้วก็สามารถใช้งานได้ยาวนาน

แต่สุดท้ายชาติตะวันตกต่างๆก็เลือกจะเทงบไปซื้อ F-35ที่แพงกว่าอยู่ดี   ด้วยเหตุผลว่าถึงกริพเพนจะประหยัดมากแต่การซื้อ F-35 ไปซะทีเดียวจะประหยัดกว่า  เนื่องจากกริพเพนใช้ได้อีกแปบเดียวก็ตกรุ่นไม่สามารถรับมือภัยคุกคามสมัยใหม่ได้  สุดท้ายก็ต้องกำตังไปซื้อ F-35 อยู่ดี กลายเป็นเสียเงินสองรอบ

เดิมทีF-16 และF-35ก็มีแนวคิดเดียวกันอยู่แล้วคือถูกสร้างเพื่อใช้งานเป็นม้าหลักในกองทัพไม่ใช่เครื่องบินที่ถูกสร้างมาเพื่อภารกิจใดภารกิจหนึ่งเช่น F-15 พูดง่ายๆก็คือมันเป็นเครื่องบินที่จะถูกใช้งานมากที่สุด เข้าประจำการมากที่สุด และมีจำนวนมากที่สุดในตลาด ถ้าในภาษารถยนต์ก็เรียกว่ารถบ้านนั่นแหละ

ดังนั้นถ้าจะมองว่าต่อไปอยากได้ F-35 ก็ต้องเลือกจิ้มไปที่ F-16 บล็อก 70 หรือ 72 แต่ประเด็นก็คือการซื้อ F-16 มีคิวยาวมาก อาจจะทำให้มีช่องว่างของระยะเวลากว่าที่จะได้F-16 บล็อก 70 มาเข้าประจำการ F-16  ฝูงปัจจุบันก็ถูกปลดและมีช่วงห่างของระยะเวลาค่อนข้างนาน ตรงนี้มากกว่าที่จะเป็นปัญหาของกองทัพที่จะทำให้ไม่เลือกตัวF-16

 

ล็อกฮีดมาร์ติน(Lockheed Martin) ผู้ผลิตเครื่องบินขับไล่ F-16แถลงข่าวอ้างพร้อมมอบข้อเสนอชดเชยทางเศรษฐกิจ (Offset / a robust industrial participation proposal) โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับเครื่องบินรบ เช่น การช่วยยกระดับ Datalinkให้กับไทยเพิ่มเติม และการพัฒนาศูนย์วิจัยและอบรมแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินรอบ ตลอดจนโอกาสในการให้ไทยเป็นศูนย์การผลิตชิ้นส่วน (Supply Chain) ให้กับ Lockheed Martin ท่ามกลางการแข่งขันเสนอขายสู้กับเครื่องบินขับไล่JAS 39 Gripen E/F ของสวีเดน

ในการแถลงข่าว Lockheed Martin ได้พูดถึงความสำคัญของการเป็นพันธมิตรตลอด 40 ปี ระหว่างไทยกับ Lockheed Martin ในฐานะผู้ใช้งาน F-16 โดยในข้อเสนอขาย (Proposal) F-16 Block 70/72 จะประกอบไปด้วยผลประโยชน์ 7 ด้าน ดังนี้

1. ศูนย์วิจัยและพัฒนา (Research & Development Center) เพื่อยกระดับแรงงานไทยในหลากหลายด้าน

2. การฝึกอบรวมวิศวกรรมอากาศยานขั้นสูง (Advanced aerospace engineering training) ให้กับพันธมิตรในไทย รวมถึงกองทัพอากาศไทย

3. การพัฒนาแรงงานในภาคการผลิต (Manufacturing workforce development) สำหรับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

4. การยกระดับมาตรฐานการรับ - ส่งข้อมูล (Advanced datalink upgrade) ระหว่าง F-16 Block 70/72 กับ F-16 AM/BM eMLUและรุ่นย่อยอื่น ๆ ของกองทัพอากาศไทยที่มีอยู่เดิม

5. การฝึกอบรมการบำรุงรักษาเครื่องบินขับไล่ (Fighter maintenance training) เพิ่มเติมสำหรับกองทัพอากาศไทย

6. การเสนอความเป็นไปได้ในการให้ไทยเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain opportunities) ในการผลิตชิ้นส่วนให้กับ Lockheed Martin

7. การยกระดับขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (Sustainment capabilities) สำหรับประเทศไทย

ทั้งนี้ ข้อเสนอทั้งหมดเป็นเพียงการแถลงการณ์จากฝั่งผู้ผลิตอย่าง Lockheed Martin เท่านั้น ในขณะที่กองทัพอากาศไทยในปัจจุบันยังไม่ได้มีการแถลงข่าวถึงกรณีนี้เพิ่มเติม

 

จากข้อเสนอที่ประกาศโดยฝั่ง Lockheed Martin ประโยชน์ทางด้านเทคโนโลยีหลักที่กองทัพอากาศไทยจะได้ก็คือ การช่วยอัปเกรดดาตาลิงก์ (Datalink) ของกองทัพอากาศไทย โดย Datalinkเป็นเครือข่ายการรับส่งข้อมูลทางยุทธวิธีหรือชื่อเต็มว่า Tactical Datalinkเนื่องจากในปัจจุบันกองทัพอากาศไทยมี Datalinkที่ใช้งานอยู่ด้วยกันสองแบบ คือ Link-16 และ Link-TH ซึ่งในเครื่องบินขับไล่ F-16 ที่มีประจำการในปัจจุบันนั้นรองรับเพียงแค่ Link-16 ซึ่งเป็นมาตรฐานในกลุ่มพันธมิตร NATO ในขณะที่ Link-TH เป็นระบบ Datalinkที่ไทยกำลังพัฒนาเพื่อใช้เป็นมาตรฐานของกองทัพเองในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องบินขับไล่ JAS 39 Gripen C/D, เครื่องบินระวังภัยส่วนหน้า Saab 340 AEW/ELINT , เครื่องบินขับไล่ Alphajet, เครื่องบินขับไล่แบบ F-5TH, เครื่องฝึกบิน T-50TH, และเครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH ที่สามารถใช้ Link-TH ได้

โดยในแถลงการณ์ระบุเพียงว่า Lockheed Martin จะเข้ามาช่วยสนับสนุนทางเทคนิค เพื่อให้กองทัพอากาศไทยสามารถยกระดับดาตาลิงก์ในฝูงบินที่ประจำการอยู่เดิมได้ (technical assistance for an advanced datalink upgrade to ensure interoperability with existing fleet) แต่ยังไม่เปิดเผยว่าจะเข้ามาสนับสนุนการปรับปรุง Link-16 ให้ใช้งานร่วมกันได้ทั้งกองทัพอากาศ หรือการสนับสนุนการพัฒนา Link-16 สำหรับกองทัพอากาศไทย แต่ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงในด้านใด TNN Tech เชื่อว่ากองทัพอากาศไทยจะได้การสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี Datalinkจาก Lockheed Martin ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเครื่องบินรบที่สำคัญที่สุดของโลก เพราะนอกจากเป็นผู้ผลิต F-16 แล้ว ยังเป็นผู้พัฒนาเครื่องบินรบยุคที่ 5 อย่าง F-35 ด้วยเช่นกัน

 

บรรยายภาพ : เครื่องบิน F-16 ฝูงแรกของไทยที่ประจำการอยู่กองบินที่ 23 โคราช

ปัจจุบัน กองทัพอากาศไทยมีเครื่องบินขับไล่ F-16A/B ADF F-16A/B OCU และ F-16A/B eMLUประจำการรวมกันประมาณ 50 ลำ และจะเริ่มทยอยปลดประจำการในปี 2027 นี้ซึ่งสื่อหลายสำนักรายงานว่ากองทัพอากาศอยู่ระหว่างพิจารณาจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ทดแทนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยปัจจุบันตัวเลือกที่เป็นกระแสคือ F-16 Block 70/72 จาก Lockheed Martin ของสหรัฐอเมริกา และ JAS 39 Gripen E/F จาก Saab ของสวีเดน โดย F-16 Block 70/72 ได้ชูจุดเด่นในการติดตั้งระบบเรดาร์เดียวกันกับที่ใช้บนเครื่องบินรบยุคที่ 5 อย่าง F-35 และ F-22 รวมถึงเสริมความทนทานของลำตัวเครื่องบินให้มีอายุการบินสูงสุดที่ 12,000 ชั่วโมง ซึ่งมากกว่า F-16 ในรุ่นย่อยก่อนหน้าถึงร้อยละ 50

สำหรับการจัดซื้อเครื่องบินรบฝูงใหม่ จำนวน 4 เครื่อง วงเงิน 19,000 ล้านบาท งบผูกพัน 4 ปี ได้ถูกบรรจุในงบประมาณ 2568 ไปเรียบร้อยแล้ว และผ่านการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี แล้วอยู่ระหว่างการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ส่วนการเลือกแบบอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ โดยเมื่อเดือนพฤษภาคม2567 เป็นการทำ workshop ของเครื่องบินทั้ง 2 แบบ (กริพเพน ของสวีเดน และ ตระกูล F ของสหรัฐฯ) ซึ่งจะต้องทำด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง เพราะถือเป็นโอกาสเดียว ในการจัดหาซึ่งใช้งบประมาณค่อนข้างสูง เพื่อให้ได้ของที่ดีที่สุด

เหตุเพราะปี 2572 เป็นต้นไป กองทัพอากาศจะทยอยปลดประจำการ เครื่องบินเป็นจำนวนมากจาก 6 ฝูงบินอาจจะเหลือแค่ 3 ฝูงบิน และมีฝูงบินรบหลักเหลือเพียง 2 ฝูงบินเท่านั้น คือที่กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กับกองบิน 4 จ. นครสวรรค์ เพราะกองบิน 1 จะต้องทยอยปลด ในปี 2572 เป็นต้นไป

ถ้าหากดูตามไทม์ไลน์ เราจัดหาในปี 2568 ซึ่งอาจจะช้าไปแล้วด้วย 4+4+4 รวม 12 เครื่อง ครบ 1ฝูง กว่าจะเรียบร้อยเข้ามาประจำการอาจใช้เวลานาน หลังปี 2572 เป็นต้นไปจะต้องทยอยเอาเครื่องบินรบเข้าประจำการในกองบิน 1 ซึ่ง 4 เครื่องแรก ที่จะจัดซื้อในปีงบประมาณ 2568 ยังรับประกันไม่ได้ว่า จะเข้าประจำการ ภายในปี 2572 เพราะว่า ต้องมีการฝึก การรับเครื่องบิน รวมถึงการฝึกการพร้อมรบ เพื่อให้นักบินพร้อมปฏิบัติภารกิจ อย่างน้อยที่สุด หากเราได้จัดหาเครื่องบินมาภายในปี 2568 ปลายปี 2572 อาจทำให้กองทัพอากาศมีความพร้อมรบได้ในระดับหนึ่ง

  • กริพเพน E/F คิวน้อยได้ไว งบปี 25668 ปี 2573-2574 ก็น่าจะได้มาใช้
  • F-16 คิวยาวได้ช้า งบปี 2568 อาจต้องรอถึงปี 2577 -2578 ถึงจะได้เครื่องมาใช้

สำหรับความคืบหน้าโครงการจัดหาเครื่องบินรบฝูงใหม่ ภายหลังกองทัพอากาศได้สรุปข้อมูลของทั้ง 2 แบบ ได้แก่ F-16 Block 70 บริษัท Lockheed Martin สหรัฐ​อเมริกา และ Gripen E บริษัท SABB สวีเดน ผ่าน นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม เพื่อนำเรียนไปยัง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีเพื่อให้รับทราบ ว่า ซึ่งยังไม่มีการสรุปว่าเป็นแบบใด.