In News

ภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคในมิ.ย.67 ท่องเที่ยวดันให้ขยายตัวหลายภูมิภาค



กรุงเทพฯ-เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนมิถุนายน 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวได้ในหลายภูมิภาค และการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคของภาคเอกชนในบางภูมิภาค เช่น ภาคใต้ ภาคกลาง เป็นต้น ในขณะที่การลงทุนชะลอตัวในหลายภูมิภาค เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก เป็นต้น

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมิถุนายน 2567 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนมิถุนายน 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวได้ในหลายภูมิภาค และการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคของภาคเอกชนในบางภูมิภาค เช่น ภาคใต้ ภาคกลาง เป็นต้น ในขณะที่การลงทุนชะลอตัวในหลายภูมิภาค เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก เป็นต้น” โดยมีรายละเอียดดังนี้

เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนมิถุนายน 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคของภาคเอกชน รายได้เกษตรกร และเงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวได้ ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและอุตสาหกรรมปรับลดลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 11.8 และ 44.1 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -29.7 และ -4.7 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 56.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 57.7 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -34.5 และ -27.8 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 145.1 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 83.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 87.0 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ … และ … ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนมิถุนายน 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคของภาคเอกชน และรายได้เกษตรกร ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและอุตสาหกรรมปรับลดลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 7.9 และ 0.5 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -31.8 และ -11.9 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 57.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 59.4 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุก

จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -29.7 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -36.5 ต่อปี และเงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 93.6 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ ... และ ... ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนมิถุนายน 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคของภาคเอกชน และรายได้เกษตรกร ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและอุตสาหกรรมปรับลดลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 17.1 และ 1.4 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -32.1 และ -14.7 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 61.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 63.0 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -36.7

และ -25.0 ต่อปี ตามลำดับ อีกทั้งเงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 70.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 73.7 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ ... และ ... ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนมิถุนายน 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคของภาคเอกชน เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ และความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -29.3 -12.2 และ -3.1 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 59.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 61.2 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุก

ส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -35.1 และ -18.7 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 26.2 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานคัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 89.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 86.5 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ ... และ ... ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลในเดือนมิถุนายน 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคของภาคเอกชน และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและอุตสาหกรรมปรับลดลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -19.6 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -18.6 และ -6.0 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 58.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 60.1 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -33.7 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -34.6 ต่อปี อย่างไรก็ตาม เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 51.0 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานฟอกหนังสัตว์ในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 93.6 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ ... และ ... ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันออกในเดือนมิถุนายน 2567 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนหดตัว อย่างไรก็ตาม เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการยังขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -7.2 -34.4 -15.7 และ -9.7 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 61.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 63.1 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -27.4 และ -14.8 ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.9 และ 1.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ อีกทั้งเงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 1,047.9 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป ในจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 91.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 89.7 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ ... และ ... ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนมิถุนายน 2567 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนหดตัว อย่างไรก็ตาม รายได้เกษตรกรยังขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -0.6 -36.5 และ -27.4 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 57.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 59.4 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -26.4 และ -17.5 ต่อปี ตามลำดับ และเงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 93.6 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ ... และ ... ต่อปี ตามลำดับ