In Thailand

ปศุสัตว์พังงามอบกรรมสิทธิ์ไถ่ชีวิตสัตว์ เฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่10



พังงา-ปศุสัตว์จังหวัดพังงา จัดพิธีมอบกรรมสิทธิ์ไถ่ชีวิตโค-กระบือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.15 น. ที่วัดบางเสียด หมู่ที่ 4 ตำบลบางเตย อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพังงา จัดทำโครงการมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค - กระบือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  โดยนายบัญชา ธนูอินทร์ ปลัดจังหวัดพังงารองอธิบดีกรมปศุสัตว์  ปศุสัตว์จังหวัดพังงา  หัวหน้าส่าส่านราชการรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงาผู้ช่วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร2และเขต1 ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น แขกผู้มีเกียรติ และเกษตรกรทุก

มีหัวหน้าส่วนราชการ เกษตรกร แขกผู้มีเกียรติ และประชาชนผู้เข้าร่วมงานพร้อมกัน ณ บริเวณพิธีฯ  กิจกรรมประกอบด้วย ไถ่ชีวิต โค-กระบือ เพื่อนำไปส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกร ตามหลักเกณฑ์ของโครงการธนาคารโค - กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ  จำนวน 30 ราย   และกิจกรรมมอบกรรมสิทธิ์ โค-กระบือ แก่เกษตรกรที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการ  เป็นกรณีพิเศษ จำนวน 72 ราย ภายใต้ระเบียบและหลักเกณฑ์ของโครงการธนาคาร โค-กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ ถือเป็นโอกาสอันดีที่ทุกท่านได้ร่วมกันสร้างกุศลครั้งยิ่งใหญ่ในโอกาสมหามงคลนี้    โครงการธนาคาร โค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ เป็นหนึ่งในโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราชบรมนาถบพิตร กรมปศุสัตว์ รับสนองพระราชดำริดำเนินการมาตั้งแต่ ปีพุทธศักราช 2522 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มี โค - กระบือไว้ใช้แรงงาน และเพิ่ม ผลผลิตทางการเกษตรจากการดำเนินงาน ที่ผ่านมา ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ไปแล้ว 7,658 ราย มอบกรรมสิทธิ์ โค–กระบือ ให้เกษตรกรไปแล้ว 135,491 ราย คิดเป็นมูลค่า 2,880 ล้านบาท

ทั้งนี้ยังมีเกษตรกรอยู่ในความดูแลของโครงการ 118,623 ราย โครงการธนาคาร โค - กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ ถือได้ว่า เป็นโครงการ ที่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกรโดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปรับใช้ในการดำเนินงาน  ประกอบกับมีการทำงานบูรณาการ ร่วมกันในพื้นที่อย่างเป็นระบบ สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งตลอดจนมีการต่อยอดการใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่นต่อไป