Think In Truth
ระเบียบวิธีทางพุทธศาสนาBuddhist Methodology โดย : ฟอนต์ สีดำ
ระเบียบวิธีทางพุทธศาสนา Buddhist Methodlogy หลายคนก็มองว่า กระบวนการทางการแสวงหาความรู้ของศาสนาพุทธนั้นเป็นไปตามกระบวนการของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญหา โดยผ่านลำดับการคิดตามกระบวนการตามหลักของอริยะสัจสี่ แต่กระบวนการได้มาซึ่งหลักธรรมในพระพุทธศาสนานั้น เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสรุปองค์ความรู้มาเป็นหลักธรรม ที่ถือว่าเป็นทฤษฎีเบื้องต้น Grounded Theory และได้รับการทบทวนความรู้จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึง 49 วัน แล้วจึงถูกนำไปเผยแผ่ในหมู่ปัญจวัคคี จนเป็นที่ชัดเจนว่า เป็นความจริงที่สามารถยอมรับเป็น ทฤษฎี Theory ได้ อีกทั้งได้มีการเผยแผ่ผ่านชฏิล สามพี่น้อง คือ อุรุเวฬะกัสสัปปะ ซึ่งจะเปรียบได้กับนักวิชาการระดับสูงในสถาบันการศึกษา นทีกัสสัปปะ ซึ่งเปรียบเสมือนกับผู้นำความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากอุรุเวฬะกัสสัปะไปถ่ายทอดต่อ คยากัสสัปปะซึ่งเปรียบเสมือนกับครูผู้สอนในระดับหมู่บ้าน ที่บ่มเพาะสานุศิษย์ ให้ยึดถือปฏิบัติ เป็นวิถีชีวิต ซึ่งสามารถประเมินได้ว่า เป็นการยอมรับหลักธรรมในพระพุทธสาสนา เป็นความจริง เป้นสิ่งที่ถูกต้อง ที่ยอมรับในระดับเป็นสากล Normal ได้
การที่หลักธรรมในพระพุทธสาสนา เป็นความรู้ในระดับของความเป็นสากล Normal ซึ่งเป็นการยอมรับสูงกว่าความเป็นปรัชญา นั้น เพราะพระธรรมในพระพุทธศาสนา เป็น หลักธรรมที่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นจริงในทุกสถานที่ และทุกเวลาในการพิสูจน์ ตามบทสวนสรรเสริญพระธรรม “สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ" แปลว่า “พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน” พระธรรมในพระพุทธศาสนาได้พิสูจน์ความถูกต้อง เป็นจริงมาแล้ว 2500 ปี โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย นั่นคือสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่า หลักธรรมในพระพุทธสาสนา มีความถูกต้องเป็นจริง สามารถพิสูจน์ได้จริง ในทุกสถานที่ ทุกสถานกาล และทุกเวลา ที่เป้นความแข็งแกร่งทางหลักวิชาการมาก ที่ยังไม่มีทฤษฎีที่เป็นองค์ความรู้ใดมาลบล้าง(Falsification)ในความถูกต้องของพระธรรมได้
ที่มาของหลักธรรมในพระพุทธสาสนามาจากไหน การศึกษาวิเคราะห์ถึงหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ก็ต้องใช้หลักหรือระเบียบวิธีการแสวงหาความรู้ หรือ Methodology ที่มีความถูกต้อง เที่ยงตรงในความรู้ที่ได้มามากที่สุด คือ หลักแห่งไตรสิกขา ในพระพุทธศาสนา ที่ประกอบด้วย ศีล ซึ่งหมายถึงองค์ความรู้ที่พึงละเว้นในการปฏิบัติและควรปฏิบัติ สมาธิ คือ การปฏิบัติและละเว้นอย่างมีสติ และปัญญา คือการไตร่ตรองสิ่งที่ค้นพบอย่างมีโยนิโสมนสิการตามหลักแห่งอริยะสัจสี่ คือ ทุกข์ ซึ่งหมายถึงปัญหา สมุทัย หมายถึงที่มาของปัญหา นิโรธ หมายถึงสมมุติฐาน และมรรค หมายถึงแนวทางในการพิสูจน์นิโรธหรือสมมุติฐาน
จากการใช้ระเบียบวิธีการแสวงหาความรู้ตามหลักพระพุทธสาสนา เราก็พบหลักฐานสำคัญว่า พระพุทธศาสนา มีที่มาจากหลักความเชื่ออยู่สองหลักความเชื่อ คือ หลักความเชื่อในศาสนาผี หรือศาสนาพระอินทร์ กับหลักความเชื่อในศาสนาพราหมณ์สยาม หรือสาสนาพระพรหม(ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดู ที่เคารพพระวิษณุกรรม พระนารายณ์ และพระอิศวร) เพราะหลักฐานที่สำคัญคือ ในทางศาสนาผี มีความเชื่อเกี่ยวกับ มิ่ง และ ขวัญ มิ่งหมายถึง ร่างกาย ซึ่งเป็นที่อาศัยของขวัญ ขวัญหมายถึง ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นวิญญาณ(Subconscious Wiskdom) ซึ่งในทางศาสนาพราหมณ์สยาม ก็มีความเชื่อเกี่ยวกับ กาย ซึ่งหมายถึงร่างกาย และจิตวิญญาณ ซึ่งหมายถึงความรู้สึกนึกคิดที่เป็นวิญญาณ (Subconscious Wiskdom) ด้วยเช่นกัน ในทางศาสนาพุทธได้นำเอาความเชื่อทั้งสองอย่างนี้มาเรียกว่า รูป และ นาม ซึ่งในระเบียบวิธีการศึกษายุคปัจจุบัน เรียกว่า การศึกษาเชิงปริมาณ(Quantity Reseach) และการศึกษาเชิงคุณภาพ (Quality Research)
โดยชาติกำเนิดของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ที่เกิดในกลุ่มที่มีความเชื่อในศาสนาผี หรือ เคารพพระอินทร์ เป็นเทพเคารพสูงสุด สิ่งที่ชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัด คือ ในช่วงทรงวัยเยาว์ พระองค์ได้เสด็จตามพระราชบิดาไปร่วมพิธีแรกนาขวัญ ซึ่งคำว่านา ทุกคนก็จะเข้าใจร่วมกันว่าเป็นแปลงนาที่ใช้ในการปลูกข้าว ถ้าเอามารวมกับคำว่าขวัญ เป็น “นาขวัญ” หมายถึงนาที่เป็นสิ่งที่คนทั้งเมืองให้ความเคารพนับถือ นาขวัญเป็นแปลงนาที่เป็นแปลงแรกในการลงมือทำ ซึ่งชาวอีสานเรียกว่า “ตาแฮก” โดยข้อมูลนี้ก็พอที่จะชี้สรุปได้ว่า พระพุทธเจ้าหรือเจ้าชายสิทธัตถะเกิดมาในตระกูลที่นับถือศาสนาผี
ศาสนาพราหมณ์สยาม หรือศาสนาพระพรหมนั้นเข้ามาเกี่ยวข้องกับตระกูลสักกะซึ่งนับถือสาสนาผี เพราะความเป็นเครือญาติ และมีการแต่งงานกันไปมาในสองตระกูลคือสักกะ กับ โกลิยะ พระนางยโสธราเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าสุปปพุทธะแห่งโกลิยะ กับพระนางอมิตาแห่งสักกะ มีพระเชษฐาพระองค์หนึ่งนามว่าพระเทวทัต พระชนกเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าอัญชนะแห่งโกลิยะ ส่วนพระชนนีเป็นพระขนิษฐาของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งสักกะ พระชนกและพระชนนีเป็นเครือญาติกัน สืบสันดานมาแต่พระเจ้าโอกกากราช โดยตระกูลสักกะและโกลิยะจะสมรสกันระหว่างสองตระกูลเท่านั้น ซึ่งเมืองโกลิยะเป็นเมืองที่นับถือพราหมณ์หรือที่เรียกกันว่า เป็นเมือง เทวทหะ นั่นเอง
ด้วยความเชื่อในหลักธรรมของศาสนาผี และ ศาสนาพราหมณ์สยาม มีความแตกต่างกัน เพราะศาสนาผีจะมีความเชื่อตามพฤติกรรมของฝ่ายหญิง หรือให้ความสำคัญต่อแม่ เป็นสำคัญ ในขณะเดียวกัน ความเชื่อและหลักคิดในศาสนาพราหมณ์สยาม จะมีความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ มีความดิดสร้างสรรค์ในทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ดังนั้น เมืองที่นับถือพราหมณ์สยาม จึงถูกเรียกว่า “ขอม” เพราะขอมมีความสามารถในวิทยาการทางด้านช่าง(ตามจารึก ก.เบื้องจาร ลายสือไทย ที่แปลโดย หลวงปู่อ่ำ ภูริทัตโต)
จากข้อมูลพื้นฐานดังกล่าว ที่โยงความสัมพันธ์ ระหว่างเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งมีชาติกำเนิดในศาสนาผี กับ พระนางยโสธราพิมพา ซึ่งมีชาติกำเนิดในศาสนาพราหมณ์สยาม สิ่งที่เจ้าชายสิทธัตถะค้นพบเมื่อครั้งยังคงครองเรือนกับพระนางโสธราพิมพา นั้นเชื่อว่าด้วยความเชื่อ แนวปฏิบัติ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน จึงเกิดความขัดแย้งทางความคิดในครอบครัว ปัญหาแห่งความขัดแย้งที่สร้างความเบื่อหน่าย โดยเฉพาะผู้ชายคนเดียวที่อยู่ท่ามกลางนางสนมจำนวนมาก รวมทั้งปัญหาที่แนวคิดที่แตกต่างกัน ที่สะสมมาเป็นเวลา 17 ปี หลังแต่งงาน อีกทั้งยังพบความทุกข์ที่ทั้งสองความเชื่อต้องเผชิญ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นความทุกข์ที่ทำให้เกิดความต้องการแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ จนไม่อาจจะหยุดความคิดในการออกแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ได้ นั่นคือความรู้พื้นฐานทางความเชื่อและวัฒนธนธรรมของศาสนาได้ติดตัวเจ้าชายสิทธัตถะ ไปเพื่อแสวงหาหนทางพื้นทุกข์
ในการแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ ในครั้งนั้น เปรียบเหมือนกับการวิจัย (Research , Re = ทำซ้ำแล้วซ้ำอีก Search = การค้นหา) หกปีในการเดินเข้าหาสำนักศิลปะวิชาการ(มหาวิทยาลัย) ที่ได้นำศิลปะวิทยาการมาทดลองปฏิบัติ เมื่อไม่ตอบโจทย์ที่เป็นปัญหา(Non Significant) ก็ไปเรียนรู้จากสำนักศิลปะวิทยาการใหม่ ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า อยู่อย่างนี้จนเป็นเวลา หกปี ก็ได้เข้าไปสำนักศิลปะวิทยาการสุดท้ย คือการปฏิบัติพรหมจรรย์ ด้วยการนั่งสงบนิ่ง ไม่ทานอาหาร ไม่ดื่มน้ำ ไม่ไหวติงหรือที่เรียกว่า “ทุกรกิริยา” จนวรกายฝ่ายผอม ไม่มีเรี่ยวแรงที่จะยังชีพเพื่อการแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ได้ นั่นคือข้อสรุปที่มีต่อศิลปะวิทยาการของสำนักสุดท้ายที่ไม่ตอบโจทย์ในการแสวงหา เมื่อนางสุชาดา ได้นำข้าวมทุปายาสมาถวายในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 พระองค์ได้ทานอาหารก็เกิดมีเรี่ยวแรง เกิดปัญญาญาณ สรุปถึงหนทางพ้นทุกข์ได้ คือ อริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัน นิโรธ และมรรค ที่อยู่บนทางสายกลาง นี่คือ Grounded Theory ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ค้นพบ
อริยสัจสี่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้น มันเป็นกระบวนการทางปัญญาที่สำคัญ ที่สามารถประมวลประสบการณ์ผ่านกระบวนคิดตามหลักของอริยะสัจสี่ ที่เปรียบประหนึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ศาตร์ Science Methodในปัจจุบัน แต่สิ่งที่เหนือกว่า คือ กระบวนการตามหลักอริยะสัจนั้นเป็นระเบียบวิธีของการแสวงหาความรู้ แสวงหาปัญญาได้ทั้ง การศึกษาเชิงปริมาณ Quantity Research และการศึกษาเชิงคุณภาพ Quality Research ระเบียบวิธีที่พระองค์ทรงค้นพบ ที่จำแนกกระบวนการคิดออกเป็นสองประเภท คือ การศึกษาเชิงรูปธรรม และการศึกษาเชิงนามธรรม พระองค์ก็ไม่ได้สรุปในทันทีว่าเป็นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นที่สุด พระองค์ยังได้ทดสอบความรู้ที่ได้ด้วยการตั้งคำถามกับตัวเองว่า ถ้าเราจะไม่เชื่อในคำสอนของครูบาอาจารย์ที่ร่ำเรียนมาก่อนหน้านี้ แต่จะใช้ความรู้ที่ค้นพบใหม่นี้จะเป็นการถูกต้องหรือไม่(คือ เปรียบเทียบกับการอฐิษฐาน ที่ใช้ชามข้าวมทุปายาสถ้าลอยทวนน้ำจะสำเร็จมรรคผล นิพพาน) สิ่งที่ได้คำตอบจากตนเองคือ ใช่ (เสมือนกับชามข้าวมทุปายาสลอยทวนน้ำ) หลังจากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงใช้เวลาในการทบทวนความรู้ที่ค้นพบใหม่ หรือนักวิจัยส่วนใหญ่จะเรียกว่า การ Finding นานถึง 49 วัน จึงออกเดินทางไปพบปัญจวัคคี ซึ่งเป็นการทดลองทฤษฎีที่ค้นพบครั้งแรก และเกิดจริง จากความรู้ที่เป็นทฤษฎีพื้นฐาน Grounded Theory ก็ขยับขึ้นมาเป็น ทฤษฎี Theory ที่มีคนได้ทดลองใช้แล้วได้ผล
หลังจากนั้นก็เกิดการนำทฤษฎีหรือหลักธรรมของพระพุทธเจ้าออกไปเผยแผ่ไปยังสถานที่ต่างๆ และที่สำคัญ คือการยอมรับของนักวิชาการชั้นสูงของสถาบันทางวิชาการที่ได้รับการยอมรับมาก นั่นคือ ชฏิลสามพี่น้อง ประกอบด้วย อุรุเวฬะกัสสัปะ เปรียบเสมือนนักวิชาการระดับสูงที่บำเพ็ญเพียรบนภูเขาอุรุเวฬ หรือจะเปรียบได้กับศาสตราจรย์ ในปัจจุบัน นทีกัสสัปปะ ซึ่งเปรียบเสมือนกับนักวิชาการระดับกลางที่นำองค์ความรู้ของศาสตราจารย์ไปถ่ายทอดต่อลูกศิษย์ระดับล่าง คือ คยากัสสัปปะ ประหนึ่งกับครูผู้นำความร้ไปสอนศิษย์ตามหมู่บ้านต่างๆ ให้นำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิต จากความสำเร็จนี้ หลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ความแข็งแกร่งทางหลักวิชาการ ในระดับ Grand Theory จนถึงวันอาสารหบูชา ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรม ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร และประกาศพระพุทธศาสนา นี่เป็นการประกาศถึงทฤษฎีพระพุทธศาสนา มีการยอมรับโดยทั่วไป ที่คนที่นับถือพระพุทธศาสนา จะค้นพบด้วยตนเอง เห็นจริง ในทุกที่ ทุกเวลาซึ่งเป็นการยอมรับในระดับ สากล Normal ซึ่งเป็นการยอมรับในทางวิชาการสูงสุด
หลักธรรมในพระพุทศาสนา ไม่ใช่เป็นความเชื่อเพียงแค่ปรัชญา แต่หลักธรรมในพระพุทธสาสนาเป็นความจริงที่ยอมรับกันในระดับสากล Normal นักวิชาการไทย ที่เข้าใจหลักปรัชาญาแห่งศาสตร์ หรือ Philosophy of Science ควรต้องให้ความสำคัญในหลักทฤษฎีทางพระพุทธศาสนา ที่ฝรั่งบอกว่า ศาสนาเป็นเพียงปรัชญา ก็ไม่กล้าที่จะพิสูจน์ว่า หลักธรรมของพระพุทธศาสนา มีความจริงที่แข็งแกร่งสามารถพิสูจน์ได้ ทุกที่ ทุกสถานการณ์ และทุกเวลา ซึ่งควรต้องได้รับการยกย่องให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล Normal Science ก็ขอฝากถึงนักวิชาการทั้งหลาย โปรดมีความกล้าหาญทางวิชาการ ที่จะกล้าก้าวออกมาจากกรอบแห่งความคิด ที่ถูกขีดข้อจำกัดจากนักวิชาการที่ไม่รู้เรื่อง แล้วออกมาสร้างพลังแห่งความจริงทางวิชาการ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า เราคนไทย ก็เป็นหนึ่งในความเป็นนักวิชาการที่สามารถสร้างองค์ความรู้ สร้างปัญญา ให้โลกได้เรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้จริง สร้างหนทางพ้นทุกข์ หรือขจัดข้อสงสัยได้จริง ขอให้นักวิชาการไทยนอกจากท่านจะสร้างสถานะ ดร. , ผศ.ดร. , รศ.ดร. ศ.ดร. เพื่อเพิ่มรายได้ของพวกท่านแล้ว ช่วยกันสร้างศักดิ์ศรีของความเป็นนักวิชาการไทย ให้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ดั่งพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นคนไทย ได้สร้างปรากฏการณ์นี้แล้ว ท่านไม่อยากเจริญรอยตามพระองค์ ในการยกรัดับการยอมรับของความเป็นนักวิชาการของพวกท่านให้สูงขึ้นหรือ ครับ