Travel Sport & Soft Power
สส.สกลนครลุยเอาจริงพัฒนาเปิดประตูสู่ ปราสาทขอมพันปีเป็นแลนด์มาร์คใหม่
สกลนคร-สส.จังหวัดสกลนคร เตรียมผลักดันสะพานขอม 1,000 ปี แห่งเดียวในประเทศไทย เป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือแลนด์มาร์คใหม่ แต่ต้องปรับปรุงพื้นที่โดยรอบให้มีกลิ่นอายของอารยธรรมขอม
วันที่ 9 สิงหาคม 2567 ที่โรงแรมเอ็มเจ เดอะมาเจสติค อ.เมือง จ.สกลนคร นายอภิชาต ตีรสวัสดิชัย ส.ส.สกลนคร เขต 1 พรรคเพื่อไทย เป็นประธานเปิดการเสวนาเรื่องเปิดประตูสู่สะพานขอม 1,000 ปี กับการพัฒนาเมืองสกลนคร โดยมีวิทยากรได้แก่ นายดุสิต ทุมมาภรณ์ นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ, นายจักรพันธ์ เพ็งประไพ นักโบราณคดีชำนาญการ นายพงศฺธร เพียงแก้ว สถาปนิกชำนาญการพิเศษนายฤทธิ์กุล ภูมิสถาปนิกปฏิบัติการ ซึ่งทั้งหมดมาจากกรมศิลปากร โดยผู้เข้าร่วมการเสวนามาจากทุกภาคส่วนทั้งส่วนราชการและเอกชน กว่า 300 คน สะพานขอมมีความกว้าง 4 เมตร ยาว 16 เมตร สูง 3 เมตร บนสะพานทำเป็นพื้นเรียบ ยกขอบศิลาแลงเป็นสันขึ้นมาทั้งสองข้าง ด้านล่างที่เป็นเสาสะพานก่อด้วยศิลาแลงยาวตลอดความกว้างสะพาน โดยก่อเว้นเป็นช่อง 11 ช่อง เพื่อรับน้ำหนักสะพานด้านบน และเป็นช่องให้น้ำไหลผ่านได้ จากข้อสันนิษฐานเดิมสะพานขอมเป็นสะพานข้ามลำน้ำสาขาของห้วยโมงที่ไหลมาจากด้านตะวันตกสู่หนองหารหลวงด้านเหนือ สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 หรือ 1,000 - 800 ปีมาแล้ว
คณะได้ลงพื้นที่บริเวณประตูเมืองสกลนคร ถนนสกลนคร-อุดรธานี ซึ่งเป็นที่ตั้งของสะพานขอม 1,000 ปี พบว่าสภาพโครงสร้างสะพานขอมด้านล่างสุดต่ำจากระดับผิวคืนปัจจุบัน 2..3 เมตร (V) มีลักษณะเป็นชั้นทรายละเอียดหนาประมาณ 5 เชมติเมตร รองรับส่วนฐานของกำพงกันดินดินริมตลิ่ง โดยบริเวณตลิ่งริมคลองมีลักษณะเป็นดินปนเศษศิลาแลงบดอัดแน่น ส่วนท้องคลองปูล้ายศิลาแลงมีลักษณะโต๊ะตามรูปคลองและ ท้องคลองบริเวณกลางคลอง ต่ำกว่าระดับผิวดินปัจจุบัน 1.6-1.8 ม. ท้องคลองบริเวณริมตลิ่งต่ำจากระดับผิวดินปัจจุบัน 1.4 ม.พื้นศิลาแลงท้องคลองทำหน้าที่เป็นฐานราราก รองรับสะพานจำนวน 10 ต้น มีระยะห่างระหว่างเสา 70 ซ.ม. บริเวณคอสะพานดานทิศตะวันออก และทิศตะวันตกถูกรบกรบกวนจากการชุดชั้นดินในการก่อสร้างถมนสมัยปัจจุบัน และจาการบูรณะ จึงทำให้ระดับผิวบนของพื้นใช้งานริมคลองหายไป เหลือเพียงแนวชั้นบดอัดบริวณใต้บันไดด้านทิศตะวันตก สันนิษฐานฐานว่าเป็นระดับของแนวคันถนนที่เชื่อมต่อจากสะพาน นอกจากนี้ พบโบราณวัตถุประเภทเศษภาชนะดินเอาเนื้อแก่งเคลือบสีน้ำตาล ผลิตจากแหล่งเตาในสมัยวัฒนธรรมเขมรโบราณ กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18 และเศษเครื่องถ้วยจีนลายคราม สมัยราชวงศ์หมิง กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22 อยู่ภายในชั้นดินตะกอนท้องคลอง
นายอภิชาติ ตีรสวัสดิชัย ส.ส.สกลนคร เขต 1 พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคเพื่อไทย ได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ในโครงการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อต้องการ สร้างการรับรู้ สร้างการมีส่วนร่วม ของประชาชน ต่อการพัฒนาเมืองสกลนคร จึงได้กำหนดให้มีเวทีเสวนา ในหัวข้อ"เปิดประตูสู่สะพานของ 1,000 ปี กับการพัฒนาเมืองสกลนคร" หลังจากที่สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น ได้ค้นพบโบราณสถาน "สะพานขอม" ซึ่งเป็นสะพานก่อด้วยศิลาแลงที่สกลนคร โดยมีทีมโครงการขุดค้นขุดแต่งโบราณสถานสะพานขอม ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร ผู้รับผิดชอบโครงการ ขณะนี้กำลังดำเนินการสำรวจพื้นที่และขุดค้นขุดแต่งโบราณสถาน การจัดเวทีเสวนาเพื่อต้องการสร้างการรับรู้ผ่านประชาชนทุกช่วงวัยและรับฟังความคิดเห็นต่อการบูรณะและปรับภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบสะพานขอม เพื่อจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพราะที่ผ่านไม่มีหน่วยงานเข้าดำเนินการและอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร
ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ได้ข้อสรุปตรงกันว่า ควรจะคงสภาพเดิมไว้ให้เป็นโบราณสถานจริงๆ และควรปรับเอาต้นไม้ออกไม่ให้บดบังทัศนียภาพ เพราะสะพานขอมสร้างขึ้นมาให้พุ่งตรงเข้าสู่พระธาตุเชิงชุมและตัวเมืองสกลนคร จากนั้นหางบประมาณจากกระทรวงวัฒธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวฯและงบของจังหวัดฯ เพื่อนำมาปรับปรุงบริเวณสะพานขอมให้มีกลิ่นไอของอารยธรรมขอม 1,000 ปี เชื่อว่าหากสมบูรณ์แบบเมื่อใด จะสามารถสร้างความภาคภูมิใจแก่ชาวสกลนคร ส่งผลต่อเศรษฐกิจการค้า และการท่องเที่ยวให้ดีขึ้น เหมาะสมที่จะเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของ จ.สกลนคร.