In Thailand
สจ.กาญจนบุรีร่วมประชุมการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพทางสังคมด้านยาเสพติด
กาญจนบุรี-สจ.กาญจนบุรี ร่วมประชุมศูนย์ปฏิบัติการติดตามเร่งรัดการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ 11/2567
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น.ของวันที่ 20 สิงหาคม 2567 ที่ ห้องประชุมมณีเมืองกาญจน์ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี ร้อยโท ทศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วย นายนิสิต จงศุภวิศาลกิจ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี
พล.ต.ต.นครินทร์ สุคนธวิท ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี นายนพรัตน์ ไวอัมภา ผู้อำนวยการส่วนประสานพื้นที่สำนักงานปปส.ภาค 7 นางตะติมา นุ้ยฉิม ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติและยุติธรรมจังหวัดกาญจนบุรี นายอนันท์ชัย ทองสีนุช เลขานุการ สนง.ศอ.ปส.จ.กจ. ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
เข้าร่วมการประชุมศูนย์ปฏิบัติการติดตามเร่งรัดการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ 11/2567 โดยมี นายมานะ ศิริพิทยาวัฒน์ รองเลขาธิการ ป.ป.ส. เป็นประธานการประชุม ฯ ผ่านระบบออนไลน์ด้วยระบบ Cisco Webex
ในการประชุมมีการายงานสถานการณ์ข่าวเกี่ยวกับยาเสพติดประจำสัปดาห์ จากนั้นมีการชี้แจงผลการดำเนินงานด้านการปราบปราม วันที่ 1 มิถุนายน - 18 สิงหาคม 2567 ผลการจับกุมข้อหาร้ายแรง / ข้อหาสมคบและสนับสนุน/ การตรวจสอบทรัพย์สิน เบื้องต้น ผลการดำเนินงานต่อเครือข่ายรายสำคัญและเจ้าหน้าที่รัฐ สถิติข่าวผลกระทบจากการใช้ยาเสพติด และ การรับแจ้งเหตุเกี่ยวกับจิตเวชผ่าน สายด่วน 191 ผลการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การนำผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัด / ผลการดำเนินงานตามโครงการชุมชนล้อมรักษ์/ การนำผู้เสพที่มีอาการทางจิตเข้าสู่กระบวนการบำบัด (ระบบ HDC และ บสต.) ผลการดำเนินงานศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ประกอบด้วย 1.) การจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม 2.) การช่วยเหลือของศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ผลการดำเนินงานตามโครงการชุมชนบำบัดอย่างยั่งยืน ในพื้นที่แพร่ระบาดยาเสพติด ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และ การนำผู้เสพในระบบคุมประพฤติเข้าสู่กระบวนการบำบัด
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเร่งรัดการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่ได้กำหนดเป้าหมายลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติดให้ได้ภายใน 1 ปี ปฏิบัติการเร่งรัดฯ เป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติให้ส่วนราชการในระดับพื้นที่ เพื่อใช้ในการลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติดระดับจังหวัด โดยมี 8 จุดเน้น การเร่งรัด 9 แนวทางการปฏิบัติ พร้อมเกณฑ์การประเมิน 4 ตัวชี้วัดภาพรวม พื้นที่เป้าหมายซึ่งเป็นไปตาม มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานในการปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและเด็ดขาด ให้มีผลการจับกุมผู้กระทำผิด ความผิดที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ภายใน 90 วัน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งจังหวัดกาญจนบุรี อยู่ใน 25 จังหวัด เป็นพื้นที่เป้าหมายสีแดงที่มีปัญหายาเสพติดรุนแรง