Think In Truth

มหากาพย์'กัญชา'มหาภัยหรือยาวิเศษ ชาวโลก(ตอนที่6)โดย : ฅนข่าว2499



ตำรับยาที่ 7ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง(อยู่ระหว่างการผลิต)

ที่มาของตำรับยา : ตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

“๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวด้วยตำรายาคือวิเศษสรรพคุณสำเร็จ อันอาจารย์เจ้าในก่อนประมวลไว้ ให้แก้สรรพโรคทั้งปวงต่างๆ สืบกันมาฯ

ในที่นี้จะว่าแต่สรรพคุณวิเศษ คือคณะสรรพยาที่จะแก้ซึ่งโรคสรรพลมทั้งปวงอันกำเริบพัดขึ้นเบื้องบนนั้นโดยนัยดังนี้ฯ

ยาแก้ลมขึ้นสูง เอายาดำ, กัญชา, อุตพิด, ดองดึง สิ่งละ 4 ส่วน กระเทียม 6 ส่วน, ว่านน้ำ, ชะเอมเทศ, โกฐน้ำเต้า, โกฐพุงปลา, มหาหิงคุ์ สิ่งละ 8 ส่วน ว่านเปราะ, ผลผักชี สิ่งละ 12 ส่วน ขิงแห้ง, แก่นแสมทะเล, รากส้มกุ้ง, สะค้าน สิ่งละ 16 ส่วน พริกไทย, เปลือกกันเกรา สิ่งละ 24 ส่วน ทำเป็นจุณบดละลายน้ำผึ้งรวง ให้กินหนัก 1 สลึง แก้ลมขึ้นสูงหายดีนักฯ”

สูตรตำรับยาประกอบด้วย ตัวยา 18 ชนิด รวมน้ำหนัก 198 ส่วน ดังนี้

ลำดับ

ตัวยา

น้ำหนักยา

1

ยาดำ

4 ส่วน

2

กัญชา

4 ส่วน

3

อุตพิด

4 ส่วน

4

ดองดึง

4 ส่วน

5

กระเทียม

6 ส่วน

6

ว่านน้ำ

8 ส่วน

7

ชะเอมเทศ

8 ส่วน

8

โกฐน้ำเต้า

8 ส่วน

9

โกฐพุงปลา

8 ส่วน

10

มหาหิงคุ์

8 ส่วน

11

ว่านเปราะ

12 ส่วน

12

ผลผักชี

12 ส่วน

13

ขิงแห้ง

16 ส่วน

14

แก่นแสมทะเล

16 ส่วน

15

รากส้มกุ้ง

16 ส่วน

16

สะค้าน

16 ส่วน

17

พริกไทย

24 ส่วน

18

เปลือกกันเกรา

24 ส่วน

ข้อบ่งใช้ : แก้ลมขึ้นเบื้องสูง ที่ทำให้มีอาการปวดศีรษะ หน้ามืด มึนงง หูอื้อ ใจสั่น อ่อนเพลีย สวิงสวาย

รูปแบบยา : ยาผง ยาแคปซูล

ขนาดและวิธีใช้ : รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร

น้ำกระสายยาที่ใช้ :  / น้ำผึ้งรวง /ถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน

ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

ข้อควรระวัง

- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)

- ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยเป็นส่วนประกอบ

- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน

ข้อมูลเพิ่มเติม : ลมขึ้นเบื้องสูง เป็นโรคลมที่ทำให้มีอาการปวดศีรษะ ตาแดง หูตาฝ้าฟาง หูอื้อ อ่อนเพลีย สวิงสวาย เป็นต้น / ดองดึงจะต้องฆ่าฤทธิ์ตามกรรมวิธีก่อนนำไปปรุงยา

เอกสารอ้างอิง

- โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ. ตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร, พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. 2375 ฉบับสมบูรณ์, 2505. หน้า 429.

- กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข. พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2559. พิมพ์ครั้งที่ 4. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ. 2559. หน้า 466.

ตำรับยาที่ 8ยาไฟอาวุธ

ที่มาของตำรับยา : แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. 128

“...อันว่าลมที่กลิ้งขึ้นกลิ้งลงแลลั่นอยู่ในท้องที่เปนป้างคลื่นดุจดังลูกฟูกนั้นก็หาย ถ้าไม่หายท่านให้แต่งยาอันชื่อว่าอินทจักร์นั้นให้กินต่อไป ถ้ามิฟังยาอันใดแล้ว ท่านให้แต่งยาอันชื่อว่าไฟอาวุธนั้นให้กินต่อไป

ยาชื่อไฟอาวุธขนานนี้ เอาผลจันทน์ 1 ดอกจันทน์ 1 กระวาน 1 กานพลู 1 โกฐทั้ง 5 เทียนทั้ง 5 ชะเอมเทศ 1 กันชา 1 แก่นแสมทะเล 1 เอาสิ่งละ 1 ส่วน อุตพิด 1 เปลือกสมุลแว้ง 1 ดีปลี 1 ใบพิมเสน 1 เอาสิ่งละ 2 ส่วน รากจิงจ้อ 1 รากส้มกุ้ง 1 รากเปล้าน้อย 1 รากเปล้าใหญ่ 1 รากสะค้าน 1 รากพาชไหน 1 เอาสิ่งละ 3 ส่วน สหัศคุณเทศ 4 ส่วน บุกรอ 9 ส่วน พริกไทย 1 ขิงแห้ง 1 รากเจตมูล 1 เอาสิ่งละ 16 ส่วน รวมยา 32 สิ่งนี้ทำเปนจุณ เอาน้ำมะนาวเปนกระสายบดทำแท่งไว้ กินแก้ทราง 7 จำพวก แก้ตานโจรทั้ง 12 จำพวก แก้หืดน้ำนมทั้ง 7 จำพวก แก้ไอผอมเหลือง แลแก้ไส้พองท้องใหญ่ แก้พุงโรแลลมจุกเสียด แลแก้ป้างแก้ม้ามแก้ดานเสมหะให้ปวดมวนเสียดแทง แก้อุจจาระเปนเสมหะโลหิตระคนกันมักให้ถอยกำลัง มักให้เปนไข้ไม่รู้สึกตัวให้ลงเปนโลหิต แก้ไข้เพื่อเสมหะเพื่อลม”

สูตรตำรับยาประกอบด้วย ตัวยา 32 ชนิด รวมน้ำหนัก 104 ส่วน ดังนี้

ลำดับ

ตัวยา

น้ำหนักยา

1

ผลจันทน์

1 ส่วน

2

ดอกจันทน์

1 ส่วน

3

กระวาน

1 ส่วน

4

กานพลู

1 ส่วน

5

โกฐสอ

1 ส่วน

6

โกฐเขมา

1 ส่วน

7

โกฐหัวบัว

1 ส่วน

8

โกฐจุฬาลัมพา

1 ส่วน

9

โกฐเชียง

1 ส่วน

10

เทียนดำ

1 ส่วน

11

เทียนแดง

1 ส่วน

12

เทียนขาว

1 ส่วน

13

เทียนข้าวเปลือก

1 ส่วน

14

เทียนตาตั๊กแตน

1 ส่วน

15

ชะเอมเทศ

1 ส่วน

16

กัญชา

1 ส่วน

17

แก่นแสมทะเล

1 ส่วน

18

อุตพิด

2 ส่วน

19

เปลือกสมุลแว้ง

2 ส่วน

20

ดีปลี

2 ส่วน

21

ใบพิมเสน

2 ส่วน

22

รากจิงจ้อ

3 ส่วน

23

รากส้มกุ้ง

3 ส่วน

24

รากเปล้าน้อย

3 ส่วน

25

รากเปล้าใหญ่

3 ส่วน

26

รากสะค้าน

3 ส่วน

27

รากพาชไหน

3 ส่วน

28

หัสคุณเทศ

4 ส่วน

29

บุกรอ

9 ส่วน

30

พริกไทย

16 ส่วน

31

ขิงแห้ง

16 ส่วน

32

เจตมูลเพลิงแดง

16 ส่วน

ข้อบ่งใช้: ลมจุกเสียด ปวดมวนท้อง

รูปแบบยา: ยาผง แคปซูล

ขนาดและวิธีใช้: รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร

น้ำกระสายยาที่ใช้ : น้ำมะนาวถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน

ข้อห้ามใช้: ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

ข้อควรระวัง

- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)

- ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยเป็นส่วนประกอบ

- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน

ข้อมูลเพิ่มเติม : ดานเสมหะ หมายถึง เสมหะที่คั่งค้างในลำไส้ทำให้ท้องแข็งปวดมวน

เอกสารอ้างอิง : พิศณุประสาทเวช, พระยา. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย สพานยศเส; ร.ศ. 128. หน้า 354.

ตำรับยาที่ 9ยาแก้นอนไม่หลับ / ยาแก้ไข้ผอมเหลือง(อยู่ระหว่างการผลิต)

ที่มาของตำรับยา :  แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. 128

“กัญชา แก้ไข้ผอมเหลืองหากำลังมิได้ ให้ตัวสั่นเสียงสั่นเปนด้วยวาโยธาตุกำเริบ แก้นอนมิหลับ เอาตรีกะฏุก 1 จันทน์ทั้ง 2 ใบสะเดา 2 ใบคนทีเขมา 1 พริกล่อนเสมอภาค ใบกันชาเท่ายาทั้งหลายทำผง เอาน้ำมะพร้าว น้ำผึ้ง น้ำส้มซ่า น้ำตาลทราย กระทือสด น้ำเบ็ญจทับทิมต้มละลายยากินหายแล”

สูตรตำรับยาประกอบด้วย ตัวยา 8 ชนิด รวมน้ำหนัก 16 ส่วน ดังนี้

ลำดับ

ตัวยา

น้ำหนักยา

1

ขิงแห้ง

1 ส่วน

2

พริกไทยล่อน

2 ส่วน

3

ดีปลี

1 ส่วน

4

จันทน์แดง

1 ส่วน

5

จันทน์ขาว

1 ส่วน

6

ใบสะเดา

1 ส่วน

7

ใบคนทีเขมา

1 ส่วน

8

ใบกัญชา

8 ส่วน

ข้อบ่งใช้ : แก้นอนไม่หลับ แก้ไข้ผอมเหลือง ที่มีอาการตัวสั่น เสียงสั่น อ่อนเพลีย ไม่มีกำลัง

รูปแบบยา: ยาผง แคปซูล

ขนาดและวิธีใช้: รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร

น้ำกระสายยาที่ใช้: น้ำมะพร้าว น้ำผึ้งรวง น้ำส้มซ่า น้ำตาลทราย กระทือสด น้ำเบญจทับทิมต้มถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน

ข้อห้ามใช้

  • ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

- ห้ามใช้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยานอนหลับ และยาต้านการชัก รวมทั้งแอลกอฮอล์ หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่

ข้อควรระวัง

- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)

- ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยเป็นส่วนประกอบ

- ยานี้อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล

ข้อมูลเพิ่มเติม

- ไข้ผอมเหลือง เกิดจากธาตุลมกำเริบส่งผลให้นอนไม่ค่อยหลับ เบื่ออาหาร เมื่อเป็นเรื้อรัง ร่างกายผ่ายผอม ซีด เหลือง อ่อนเพลีย และไม่มีกำลัง ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคริดสีดวง

- ริดสีดวง เป็นโรคกลุ่มหนึ่ง เกิดได้กับอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ตา จมูก ลำไส้ ทวารหนัก ตำราการแพทย์แผนไทยว่า มี 18 ชนิด แต่ละชนิดมีอาการและชื่อเรียกแตกต่างกันไป บางชนิดอาจมีติ่งหรือก้อนเนื้อเกิดขึ้นที่อวัยวะนั้น เช่น ริดสีดวงตา ริดสีดวงทวารหนัก

เอกสารอ้างอิง : พิศณุประสาทเวช, พระยา. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย สพานยศเส; ร.ศ. 128. หน้า 476.

ตำรับยาที่ 10ยาแก้สัณฑฆาต กล่อนแห้ง(อยู่ระหว่างการผลิต)

ที่มาของตำรับยา: แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. 126

“จะว่าด้วยโรคสำหรับบุรุษหรือสัตรีก็เหมือนกัน แต่จะว่าด้วยบุรุษนั้นก่อน ถ้าผู้ใดเปนโทษสัณฑฆาฏแลกล่อนแห้ง มักให้ผูกพรรดึกแลลมเสียดแทง ให้เปนลูกเปนก้อนเปนดานในท้องให้เมื่อยขบทั่วสารพางค์ มักให้เจ็บบั้นเอว ให้มือเท้าตายเปนเหน็บชา มักขัดหัวเหน่าน่าตะโพก ตึงสองราวข้างไปจนตลอดทวารหนัก ปัสสาวะเปนโลหิตให้ปวดสีสะวิงเวียนหน้าตา ปากเบี้ยวตาแหกเสียงแห้งเจราไม่ไคร่ได้ยิน จักษุมืดหูหนัก แลจุกเสียดท้องขึ้นแน่นน่าอก เสพย์อาหารไม่มีรศ โรคทั้งนี้เปนเพื่อวาตะ, เสมหะ, โลหิต, กำเริบ เมื่อจะเปนนั้นให้เหม็นเนื้อตัวแลอาหารถอย บางทีให้จับสบัดร้อนสท้านหนาว มักอยากของเปรี้ยวหวานแลเย็น เปนทั้งนี้เพราะโลหิตแห้งติดกระดูกสันหลัง บุรุษแลสัตรีเปนเหมือนกันจะแก้ท่านให้แต่งยานี้

ยาแก้โรคสำหรับบุรุษขนานนี้ เอาเถาสะค้าน 1 ผักแพวแดง 1 หัวดองดึง 1 ว่านน้ำ 1 มหาหิงคุ์ 1 เนื้อในฝักราชพฤษ 1 โกฐสอ 1 โกฐพุงปลา 1 โกฐจุลาลำภา 1 กันชา 1 หัวอุตพิด 1 ชะเอมเทศ 1 ดีปลี 1 แก่นแสมทะเล 1 ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค พริกไทยกึ่งยา แต่ว่าผ่อนตามกำลัง ทำผงแล้วเอาน้ำใบกะเม็ง 1 น้ำผลประคำดีควาย 1 เอาเท่ากันเคล้ายาให้ได้ 7 ครั้ง ผึ่งให้แห้งแล้วบดกับน้ำผึ้งรับประทาน หนัก 1 สลึง แก้โรคดังกล่าวมาแล้วแต่หลัง”

สูตรตำรับยาประกอบด้วย ตัวยา 15 ชนิด รวมน้ำหนัก 21 ส่วน ดังนี้

ลำดับ

ตัวยา

น้ำหนักยา

1

สะค้าน

1 ส่วน

2

ผักแพวแดง

1 ส่วน

3

ดองดึง

1 ส่วน

4

ว่านน้ำ

1 ส่วน

5

มหาหิงคุ์

1 ส่วน

6

เนื้อในฝักราชพฤกษ์

1 ส่วน

7

โกฐสอ

1 ส่วน

8

โกฐพุงปลา

1 ส่วน

9

โกฐจุฬาลัมพา

1 ส่วน

10

กัญชา

1 ส่วน

11

อุตพิด

1 ส่วน

12

ชะเอมเทศ

1 ส่วน

13

ดีปลี

1 ส่วน

14

แก่นแสมทะเล

1 ส่วน

15

พริกไทย

7 ส่วน

 

ส่วนประกอบอื่นในตำรับ

 

 

ใบกะเม็ง

 

 

ผลประคำดีควาย

 

ข้อบ่งใช้: แก้อาการท้องผูก อุจจาระเป็นก้อนแข็งที่ทำให้ปวดเมื่อยทั่วร่างกาย มือชาเท้าชา ปวดศีรษะ หน้ามืดวิงเวียน จุกเสียดท้อง แน่นหน้าอก

รูปแบบยา : ยาผง ยาแคปซูล

ขนาดและวิธีใช้: รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร

น้ำกระสายยาที่ใช้  : น้ำผึ้งรวงถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน

ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

ข้อควรระวัง

- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)

- ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง

- ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ

ข้อมูลเพิ่มเติม  : ต้องฆ่าฤทธิ์ดองดึงก่อนนำไปปรุงยา

เอกสารอ้างอิง  : พิศณุประสาทเวช, พระยา. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศุภการจำรูญ ถนนอัษฏางค์; ร.ศ. 126. หน้า 163.

ตำรับยาที่ 11ยาอัมฤตย์โอสถ

ที่มาของตำรับยา : แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. 126

“ขนานหนึ่งชื่ออัมฤตย์โอสถ แก้ลมไกษยทั้งปวงเอา สหัสคุณ 1 แก่นแสมทเล 1 รากส้มกุ้ง 1 ลูกมะตูม 1 ลูกมะแหน 1 ลูกพิลังกาสา 1 สมอเทศ 1 สมอไทย 1 โกฏเขมา 1 เทียนดำ 1 เทียนขาว 1 ลูกจันทน์ 1 ดอกจันทน์ 1 กระวาน 1 กานพลู 1 ดีปลี 1 ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค เอาเปลือกหอยโข่ง 1 เปลือกหอยขม 1 เปลือกหอยแครง 1 เบี้ยผู้เผา 1 เอาสิ่งละ 3 ส่วน เอากันชา 10 ส่วน เอาพริกไทย 2 เท่ายาทั้งหลาย ตำผงกระสายยักย้ายใช้ให้ชอบโรคทั้งหลายเถิด”

สูตรตำรับยาประกอบด้วย ตัวยา 22 ชนิด รวมน้ำหนัก 76 ส่วน ดังนี้

ลำดับ

ตัวยา

น้ำหนักยา

1

สหัสคุณ

1 ส่วน

2

แก่นแสมทะเล

1 ส่วน

3

รากส้มกุ้ง

1 ส่วน

4

ลูกมะตูม

1 ส่วน

5

ลูกมะแหน (สมอพิเภก)

1 ส่วน

6

ลูกพิลังกาสา

1 ส่วน

7

สมอเทศ

1 ส่วน

8

สมอไทย

1 ส่วน

9

โกฐเขมา

1 ส่วน

10

เทียนดำ

1 ส่วน

11

เทียนขาว

1 ส่วน

12

ลูกจันทน์

1 ส่วน

13

ดอกจันทน์

1 ส่วน

14

กระวาน

1 ส่วน

15

กานพลู

1 ส่วน

16

ดีปลี

1 ส่วน

17

เปลือกหอยโข่ง

3 ส่วน

18

เปลือกหอยขม

3 ส่วน

19

เปลือกหอยแครง

3 ส่วน

20

เบี้ยผู้เผา

3 ส่วน

21

กัญชา

10 ส่วน

22

พริกไทย

38 ส่วน

ข้อบ่งใช้ : แก้ผอมแห้งแรงน้อย มึนตึง มือเท้าอ่อนแรง

รูปแบบยา : ยาผง ยาแคปซูล

ขนาดและวิธีใช้ : รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร

น้ำกระสายยาที่ใช้ : น้ำสุก

ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

ข้อควรระวัง

- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)

- ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง

- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน

- ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ

ข้อมูลเพิ่มเติม : ลมกษัย เป็นลมที่ทำให้ผอมแห้งแรงน้อย ทำให้มึนตึง มือเท้าอ่อนแรง เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

- พิศณุประสาทเวช, พระยา. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศุภการจำรูญ ถนนอัษฏางค์; ร.ศ. 126. หน้า 372.

- กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข. พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2559. พิมพ์ครั้งที่ 4. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ. 2559. หน้า 464.

- นิทเทส (ถมรัตน์) พุ่มชูศรี. อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พร้อมจักรการพิมพ์; 2516. หน้า 201.

หมายเหตุ: ตอนต่อไปเป็นตอนสุดท้าย (ตอนที่ 12-16)