Think In Truth

กับดักหนี้สินที่สูบเลือดเนื้อลูกหนี้ดั่งทาส  โดย: ฟอนต์ สีดำ



เมื่อเช้านี้ได้รับฟังเรื่องระบายความทุกข์จากประชาชนผู้ต้องผ่อนบ้านคนหนึ่ง เขาได้ระบายถึงความรู้สึกที่ถูกเอาเปรียบของธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้ เก็บค่าไม่ตรงเวลาในการชำระเงินผ่อนบ้าน ซึ่งเขาเองได้ปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วรอบหนึ่ง จากการชำระเดือนละ 8,000 กว่าบาท มาเป็น 2,700 กว่าบาท เมื่อเดือนก่อนเขาหาเงินไม่พอในการชำระค่าผ่อนบ้าน เขาจึงติดค้างชำระไว้ กะว่าจะหาเงินมาชำระในเดือนนี้ควบสองเดือน ปรากฏว่าทางธนาคารเรียกเก็บค่าผ่อนชำระเขาไป 8,000 กว่าบาท ซึ่งทำให้เขาต้องใช้เงินที่ต้องไปผ่อนชำระค่างวดรถจ่ายเพิ่ม และอาจจะทำให้เขาไม่สามารถหาเงินมากพอที่จะผ่อนชำระงวดรถในเดือนนี้ได้ มันทำให้เขารู้สึกกังวล และรู้สึกถูกเอาเปรียบจากระบบของเจ้าหนี้ ที่เอาเปรียบ และจะทำให้เขาต้องก้าวเดินสู่ภาวะของการเป็นหนี้มากขึ้น จนไม่สามารถชำระได้ และทรัพย์สินที่เขาอุตส่าห์หาเงินชำระค่าผ่อนส่งมาตลอดก็จะถูกยึดเป็นของเจ้าหนี้ และจะไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของทรัพย์สินเหล่านั้นอีกต่อไป ชีวิตที่เหลือ คือการเป็นผู้เช่าต่อไปจนตลอดชีวิต

เมื่อฟังเรื่องราวของคนที่มาเล่าให้ฟังก็นึกถึงคนในสังคมประเทศอังกฤษ ที่ยกฐานะของตนเองเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะคนในสังคมของประเทศอังกฤษ เป็นผู้ที่มีรายได้สูง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่คนอังกฤษไม่มีโอกาสที่จะเป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของที่ดิน ในประเทศอังกฤษเลย เพราะถูกระบบกับดักหนี้สินได้ยึดทรัพย์เหล่านั้น เป็นของกลุ่มทุนไปเสียหมด ผู้คนในอังกฤษส่วนใหญ่ได้เพียงเช่าเพื่ออยู่อาศัยเท่านั้น วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนอังกฤษ คือการทำงานที่หนัก เพื่อให้ได้เงินมากพอสำหรับค่าเช่าที่อยู่อาศัย มีรถ มีค่าใช้จ่ายประจำวัน และสะสมเงินจำนวนหนึ่งเพื่อการท่องเที่ยว วิถีชีวิตของคนอังกฤษก็ดูเหมือนกับคนมีรายได้สูง ใช้เงินเพื่อความเป็นอยู่ เพื่อให้ได้กิน เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ ซึ่งดูเหมือนจะอยู่ในสภาวะที่ดี แต่เขาเหล่านั้นกลับไม่มีอะไรเลย ไม่มีทรัพย์สินไดที่จะตกทอดเป็นมรดกให้กับลูกๆ เลย

พอย้อนกลับมาพิจารณาเรื่องที่ฟังจากเพื่อนบ้านเมื่อเช้านี้ ก็ให้รู้สึกว่า ประเทศไทยกำลังจะก้าวไปสู้ภาวะเดียวกับคนอังกฤษที่กำลังเผชิญอยู่เวลานี้ แต่ที่เลวร้ายกว่าคนอังกฤษ คือ คนไทยมีค่าแรงที่ต่ำกว่าคนอังกฤษมาก รายได้คนไทยหากต้องอยู่ในสภาวะเดียวกันกับคนอังกฤษ ก็ไม่สามารถที่จะตอบได้ว่า คนไทยจะอยู่ได้ไหม??.. ภาวะประชาชนคนไทยที่ตกอยู่ในสาพของลูกหนี้ มันค่อยๆ เพิ่มขึ้น ตามสภาพทางเศรษฐกิจ ที่มีระบบการเงินแบบ SWIFT ที่ใช้เงินเฟียตเป็นเครื่องมือ ซึ่งผู้ที่มีความรู้เรื่องระบบการเงินก็จะได้เปรียบสังคม และจะสร้างระบบเอาเปรียบด้วยกิเลสของตน ด้วยระบบกับดักหนี้สินสาระพัด ไม่ว่า ระบบเงินกู้ ระบบเงินผ่าน ระบบประกันชีวิต ระบบประกันภัย ระบบภาษีที่ซับซ้อน ระบบการซื้อบริการสาธารณูปโภคในราคาสูง และระบบอื่นๆ ที่คนในสังคมไม่สามารถปฏิเสธได้ รวมทั้งระบบการพนันที่กระตุ้นกิเลสของคนในสังคมด้วยการสร้างความหวังลมๆ แล้งๆ

ระบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการแสวงหาผลกำไร ซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ในขณะเดียวกันก็สร้าง กับดักหนี้สิน ให้กับสังคมได้หลายทาง เช่น

  • การตลาดเชิงรุก: บริษัทต่างๆ ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่เน้นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคอยากได้สินค้าหรือบริการใหม่ๆ อยู่เสมอ ผ่านการโฆษณาที่เน้นความหรูหรา สถานะทางสังคม หรือความสะดวกสบาย ทำให้ผู้คนรู้สึกว่าต้องมีสินค้าเหล่านั้นเพื่อให้ชีวิตสมบูรณ์ ซึ่งอาจนำไปสู่การก่อหนี้เพื่อซื้อสินค้าเหล่านั้น
  • สินเชื่อง่าย: ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ เสนอสินเชื่อให้กับผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้ง่ายขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้ผู้คนก่อหนี้เกินตัวได้หากไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด
  • วัฒนธรรมการบริโภค: สังคมปัจจุบันส่งเสริมให้ผู้คนให้ความสำคัญกับการบริโภคสินค้าและบริการมากขึ้น การเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นผ่านโซเชียลมีเดีย ทำให้เกิดความต้องการที่จะมีชีวิตแบบเดียวกับคนอื่น ซึ่งอาจนำไปสู่การก่อหนี้เพื่อซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย
  • รายได้ไม่แน่นอน: ในระบบทุนนิยม รายได้ของคนเราอาจไม่แน่นอน อาจมีการว่างงาน หรือรายได้ลดลง ทำให้ผู้คนต้องพึ่งพาหนี้เพื่อดำรงชีวิตในยามที่เกิดปัญหาทางการเงิน

ความเหมือนระหว่างภาวะเป็นหนี้สินกับความเป็นทาส อาจดูเหมือนเป็นการเปรียบเทียบที่เกินจริง แต่เมื่อพิจารณาในเชิงลึก จะพบว่ามีหลายแง่มุมที่เชื่อมโยงกัน ดังนี้:

  • การสูญเสียอิสระ:
    • ทาส: ถูกผูกมัดด้วยพันธะกรรม ไม่สามารถตัดสินใจเรื่องชีวิตตัวเองได้
    • คนเป็นหนี้: ถูกผูกมัดด้วยหนี้สิน ต้องทำงานหนักเพื่อชำระหนี้ ทำให้ไม่มีเวลาหรือทรัพยากรพอที่จะใช้ชีวิตอย่างอิสระ
  • การถูกควบคุม:
    • ทาส: เจ้าของทาสมีอำนาจควบคุมชีวิตทาสทุกอย่าง
    • คนเป็นหนี้: เจ้าหนี้มีอำนาจในการเรียกเก็บหนี้ และอาจใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อบังคับให้ชำระหนี้ ทำให้คนเป็นหนี้รู้สึกถูกควบคุมและไร้อำนาจ
  • การขาดโอกาส:
    • ทาส: ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา หรือมีอาชีพที่ดี
    • คนเป็นหนี้: ต้องใช้เวลาและพลังงานไปกับการทำงานเพื่อชำระหนี้ ทำให้ไม่มีโอกาสพัฒนาตนเอง หรือสร้างอนาคตที่ดีกว่า
  • ความเครียดและความทุกข์:
    • ทาส: ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานทางกายและจิตใจ
    • คนเป็นหนี้: ความกังวลเรื่องหนี้สิน ทำให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า และส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งกายและใจ

อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบนี้ไม่ได้หมายความว่า คนเป็นหนี้ทุกคนจะอยู่ในสภาพเดียวกับทาส แต่เป็นการเน้นย้ำถึงผลกระทบที่รุนแรงของหนี้สินต่อชีวิตของผู้คน และสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคมที่ระบบทุนนิยมสร้างขึ้น

ระบบทุนนิยมใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างและรักษาโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการเติบโตทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การใช้กฎหมายนี้ก็อาจนำไปสู่การสร้าง กับดักหนี้สิน ให้กับสังคมได้หลายวิธี ดังนี้
1. กฎหมายคุ้มครองเจ้าหนี้:

  • การบังคับคดี: กฎหมายอนุญาตให้เจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ได้ ทำให้ลูกหนี้สูญเสียทรัพย์สินและต้องเริ่มต้นชีวิตใหม่
  • อายุความของหนี้: แม้ว่าลูกหนี้จะไม่มีเงินชำระหนี้ แต่หนี้ก็ยังคงอยู่และสามารถถูกฟ้องร้องได้ตลอดเวลา ทำให้ลูกหนี้รู้สึกกดดันและไม่สามารถวางแผนชีวิตได้อย่างมั่นคง

2. กฎหมายเกี่ยวกับดอกเบี้ย:

  • อัตราดอกเบี้ยสูง: กฎหมายอนุญาตให้สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ทำให้ยอดหนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และลูกหนี้ต้องใช้เวลานานในการชำระหนี้
  • ดอกเบี้ยทบต้น: ดอกเบี้ยที่คิดจากทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ทำให้ยอดหนี้เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ

3. กฎหมายเกี่ยวกับการล้มละลาย:

  • ขั้นตอนที่ซับซ้อน: กระบวนการล้มละลายมีความซับซ้อนและใช้เวลานาน ทำให้ลูกหนี้หลายคนเลือกที่จะไม่ยื่นขอความช่วยเหลือ
  • เงื่อนไขที่เข้มงวด: มีเงื่อนไขหลายอย่างที่ลูกหนี้ต้องปฏิบัติตามหลังจากการล้มละลาย ทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้อย่างง่ายดาย

4. ช่องว่างทางกฎหมาย:

  • สัญญาที่ไม่เป็นธรรม: สัญญาเงินกู้บางประเภทอาจมีเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกหนี้ เช่น ค่าธรรมเนียมที่สูง หรือการปรับดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินไป
  • การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เท่าเทียม: การบังคับใช้กฎหมายกับลูกหนี้รายย่อยและรายใหญ่ไม่เท่าเทียมกัน

5. การส่งเสริมวัฒนธรรมการบริโภค:

  • การโฆษณา: กฎหมายอนุญาตให้มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่างอิสระ ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อและตัดสินใจกู้เงินโดยไม่พิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้
  • บัตรเครดิต: การใช้บัตรเครดิตทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าและบริการได้ง่ายขึ้น แต่ก็อาจนำไปสู่การใช้จ่ายเกินตัวและการเป็นหนี้ได้

ภาวะที่กล่าวมาในเบื้องต้น เป็นปัญหาสำคัญของคนในประเทศไทย หากปล่อยให้ระบบการเงิน ระบบเศรษฐกิจ เป็นกับดักหนี้สินของคนในประเทศ ก็จะไม่ต่างอะไรกับคนเป็นหนี้ กลายเป็นทาสของนายทุนในระบบทุนนิยม หากทุนสามารถใช้หนี้สินเป็นเครื่องมือในการกำกับลูกหนี้ได้ นายทุนในระบบทุนนิยมก็จะสามารถกำกับระบบการปกครอง โดยใช้ระบบหนี้สินในการควบคุมกองทัพ เพื่อการวางระบบการปกครองใหม่ ที่คนเป็นหนี้ ไม่มีโอกาสในการลุกขึ้นมาปกป้องแผ่นดิน และอำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้

การแก้ปัญหาไม่ให้คนไทยต้องตกไปเป็นทาสด้วยความเป็นหนี้ คือการทำให้คนไทยนั้นหลุดพ้นจากกับดักหนี้สินของระบอบทนนิยม ที่วางรากฐานทางเศรษฐกิจควบคุมประเทศไทยมานาน ด้วยพลังของคนไทย ด้วยความร่วมมือของไทย ด้วยการทำความเข้าใจกับระบอบทุนนิยม และกับดักหนี้สิน ที่คนไทยตกกลายเป็นเหยื่อให้เข้าสู่วงจรแห่งหนี้สิน ด้วยการศึกษา และการสร้างสำนึกของความร่วมมือในการประพฤติปฏิบัติไม่ให้ตกอยู่ในกับดักแห่งหนี้สิน

เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เห็นช่องทางในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับประเทศเกิดขึ้น นั่นคือการปรับโครงสร้างหนี้สินในประเทศ ด้วยการนำเสนอวิสัยทัศน์ของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ได้พูดถึงการปรับโครงสร้างหนี้สินในประเทศ อีกทั้งยังมีแนวคิดเกี่ยวกับ Negative Income Tax และยังมีการนำเสนอแนวคิดการสร้างระบบรัฐสวัสดิการขึ้นมาอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าการพัฒนาระบบประกันสุขภาพทั่วหน้า ปรับค่าโดยสารสาธารณะเพื่อสนองการแก้ปัญหารถติด การปรับระบบการเงิน การจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม และศูนย์ช่วยเหลือทางการเงิน และอื่นๆ อีกหลายแนวคิด ที่เป็นสัญญาณบอกว่า ประเทศไทยต้องได้รับการแก้ไขละป้องกันไม่ให้คนไทยตกอยู่ในกับดักหนี้สิน และสร้างสังคมใหม่ที่มีความศิวิไลซ์มากขึ้น แต่นั่นคือ ทุกอย่างต้องได้รับความร่วมมือในการดำเนินการและผลักดัน จากคนไทยทั้งประเทศ เพื่อช่วยให้ประเทศไทยนั้นก้าวสู่ยุคศิวิไลซ์ก่อนประเทศไดๆ ในโลกนี้