Think In Truth
มหากาพย์...'กัญชา'มหาภัยหรือยาวิเศษ ชาวโลก(ตอนจบ) โดย : ฅนข่าว 2499
ตำรับยาที่ 12ยาอไภยสาลี
ที่มาของตำรับยา : เวชศึกษา แพทย์ศาสตร์สังเขป เล่ม 1, 2, 3 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. 127
“ยาอไภยสาลี เอาลูกจัน 1 สลึง ดอกจัน 2 สลึง ลูกกระวาน 3 สลึง กานพลู 1 บาท ลูกพิลังกาสา 1 บาท 2 สลึง ว่านน้ำ 1 บาท 3 สลึง โกฐสอ 2 บาท โกฐเขมา 2 บาท 1 สลึง เทียนเข้าเปลือก 2 บาท 2 สลึง เทียนแดง 2 บาท 3 สลึง เทียนขาว 2 บาท เทียนตาตั๊กแตน 2 บาท 1 สลึง เจตมูลเพลิง 3 บาท สมอไทย 3 บาท 1 สลึง สมอเทศ 3 บาท 1 สลึง หัวบุกรอ 3 บาท 3 สลึง สหัศคุณเทศ 1 ตำลึง 2 บาท จันทน์เทศ1 ตำลึง กัญชา 3 บาท 3 สลึง พริกล่อน 1 ตำลึง กินเช้าเย็นทุกวัน แก้สารพัดลม 80 จำพวก แก้โลหิต 20 จำพวก แก้ริดสีดวง 20 จำพวก ยานี้กินได้ 3 เดือน หายโรคาพยาธิมิได้มีเลย อายุวัฒนะทั้งเกิดปัญญารู้หลักนักปราชญ์มากกว่าคนทั้งปวง ถ้าผู้ใดพบให้ทำกินวิเศษนัก ใครกินยานี้ดุจยาทิพย์นั้นแลฯ”
สูตรตำรับยาประกอบด้วย ตัวยา 20 ชนิด รวมน้ำหนัก 757.50 กรัม ดังนี้
ลำดับ |
ตัวยา |
น้ำหนักยา |
1 |
ลูกจันทน์ |
3.75 กรัม |
2 |
ดอกจันทน์ |
7.50 กรัม |
3 |
กระวาน |
11.25 กรัม |
4 |
กานพลู |
15 กรัม |
5 |
ลูกพิลังกาสา |
22.50 กรัม |
6 |
ว่านน้ำ |
26.25 กรัม |
7 |
โกฐสอ |
30 กรัม |
8 |
โกฐเขมา |
33.75 กรัม |
9 |
เทียนข้าวเปลือก |
37.50 กรัม |
10 |
เทียนแดง |
41.25 กรัม |
11 |
เทียนขาว |
30 กรัม |
12 |
เทียนตาตั๊กแตน |
33.75 กรัม |
13 |
เจตมูลเพลิง |
45 กรัม |
14 |
สมอไทย |
48.75 กรัม |
15 |
สมอเทศ |
48.75 กรัม |
16 |
หัวบุกรอ |
56.25 กรัม |
17 |
หัสคุณเทศ |
90 กรัม |
18 |
จันทน์เทศ |
60 กรัม |
19 |
กัญชา |
56.25 กรัม |
20 |
พริกไทยล่อน |
60 กรัม |
ข้อบ่งใช้ - แก้อาการจุกเสียดแน่น
รูปแบบยา - ยาผง ยาแคปซูล
ขนาดและวิธีใช้ - รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร
ข้อห้ามใช้ - ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
ข้อควรระวัง
- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยเป็นส่วนประกอบ
ข้อมูลเพิ่มเติม : ยาอไภยสาลีเป็นสูตรตำรับเดียวกันกับยาอภัยสาลี ในบัญชียาหลักแห่งชาติปี 2561 เพียงแต่ในบัญชียาหลักแห่งชาติไม่ได้ใส่กัญชาในสูตรตำรับ เนื่องจากเสนอตำรับยาก่อนที่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ประกาศใช้
เอกสารอ้างอิง : พิศณุประสาทเวช, พระยา. เวชศึกษา แพทย์ศาสตร์สังเขป เล่ม 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย สพานยศเส; ร.ศ. 127 หน้า 72.
ตำรับยาที่ 13ยาแก้โรคจิต(อยู่ระหว่างการผลิต)
ที่มาของตำรับยา : อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2
“1483. ยาแก้โรคจิต ขนานที่ 1 เอาเปลือกกุ่มน้ำ 2 บาท เปลือกมะรุม 6 บาท แห้วหมู เปล้าน้อย เปล้าใหญ่ รางแดง จันทน์เทศ เปลือกมะตูม ก้านกัญชา บอระเพ็ด เปลือกโมกมัน หญ้าชันกาด สนเทศ สิ่งละ 1 บาท ระย่อมเท่ายาทั้งหลาย รวมตำผงละลายน้ำร้อนแทรกพิมเสน กินครั้งแรกหนัก 2 ไพ ถ้านอนไม่หลับให้ทวียาขึ้นไปถึง 1 สลึง”
สูตรตำรับยาประกอบด้วย ตัวยา 14 ชนิด รวมน้ำหนัก 570 กรัม ดังนี้
ลำดับ |
ตัวยา |
น้ำหนักยา |
1 |
เปลือกกุ่มน้ำ |
30 กรัม |
2 |
เปลือกมะรุม |
90 กรัม |
3 |
แห้วหมู |
15 กรัม |
4 |
เปล้าน้อย |
15 กรัม |
5 |
เปล้าใหญ่ |
15 กรัม |
6 |
รางแดง |
15 กรัม |
7 |
จันทน์เทศ |
15 กรัม |
8 |
เปลือกมะตูม |
15 กรัม |
9 |
ก้านกัญชา |
15 กรัม |
10 |
บอระเพ็ด |
15 กรัม |
11 |
เปลือกโมกมัน |
15 กรัม |
12 |
หญ้าชันกาด |
15 กรัม |
13 |
สนเทศ |
15 กรัม |
14 |
ระย่อม |
285 กรัม |
ข้อบ่งใช้ - แก้โรคลมที่ทำให้กังวล เครียด นอนไม่หลับ
รูปแบบยา - ยาผง ยาแคปซูล
ขนาดและวิธีใช้
- รับประทานครั้งแรก ครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร
- ถ้านอนไม่หลับ รับประทานครั้งละ 1 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร
น้ำกระสายยาที่ใช้ : น้ำร้อนแทรกพิมเสนถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน
ข้อห้ามใช้
- ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
- ห้ามใช้ในผู้ที่ใช้ยาลดความดันโลหิต
ข้อควรระวัง : ควรระวังการใช้ยาตำรับที่มีระย่อมเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากสารสำคัญซึ่งมีฤทธิ์ในการลดความดัน คือ สาร reserpine และอัลคาลอยด์อื่นๆ หากได้รับในขนาดที่สูงเกินไป มีผลกดการทำงานของประสาท ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ปากแห้ง คัดจมูก ท้องร่วง มึนงง หน้ามืด ใจสั่น ซึม มือแขนสั่น
ข้อมูลเพิ่มเติม
ยาแก้โรคจิตตำรับนี้ เป็นตำรับยาตามหนังสืออายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม ๒ ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงโรคจิตในความหมายของการแพทย์แผนปัจจุบัน (โรคทางจิตเวชและไบโพล่า)
ระย่อมจะต้องฆ่าฤทธิ์ตามกรรมวิธีก่อนนำไปปรุงยา
เอกสารอ้างอิง : นิทเทส (ถมรัตน์) พุ่มชูศรี. อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พร้อมจักรการพิมพ์; 2516. หน้า 158.
ตำรับยาที่ 14ยาไพสาลี(อยู่ระหว่างการผลิต)
ที่มาของตำรับยา : อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2
“ ยา ไพสาลี ว่า พระพุทธเจ้า ทรงให้พระอานนท์ทำแจกเป็นทาน เอาลูกจันทน์ ดอกจันทน์ สิ่งละ 1 สลึง กระวาน 1 สลึง 1 เฟื้อง กานพลู 2 สลึง ดีปลี 2 สลึง 1 เฟื้อง ลูกพิลังกาสา 3 สลึง ว่านน้ำ 3 สลึง 1 เฟื้อง เกลือสินเธาว์ 1 บาท เทียนดำ 1 เฟื้อง เทียนเยาพาณี 6 สลึง 1 เฟื้อง การบูร 7 สลึง สมอเทศ 7 สลึง 1 เฟื้อง เทียนข้าวเปลือก 6 สลึง สมอไทย 2 บาท สมอพิเภก 2 บาท 1 เฟื้อง โกฐสอ 9 สลึง โกฐเขมา 9 สลึง 1 เฟื้อง บุกรอ 7 สลึง ขิงแห้ง 10 สลึง 1 เฟื้อง เจตมูลเพลิง 7 สลึง หัสคุณเทศ 5 บาท กัญชา 30 บาท พริกไทยร่อน 60 บาท ยาทั้งนี้ทำเป็นผงละลายน้ำผึ้งน้ำอ้อยแดง น้ำนมโคก็ได้ กิน หนัก 1 สลึง กิน 3 เวลา แก้สารพัดโรค ไส้เลื่อนกล่อน หืดไอ กุษฐัง เสมหะ ตามืด ตาฟาง หูหนวก หูตึง ลมสติมักหลงลืม เจ็บตะโพก จุกเสียด ลมสลักอก ขี้เรื้อน คุดทะราด เป็นฝีในเพดานและลำคอ ลมมักให้หาวเรอ ให้รากสะอึก ลมสะแกเวียน นอนไม่หลับ ให้ง่วงเหงาหาวนอน ลมปวดมวนในท้อง เป็นป้างเป็นจุกผามม้ามย้อย หงอย เพ้อ พูดมิชัด ”
สูตรตำรับยาประกอบด้วย ตัวยา 23 ชนิด รวมน้ำหนัก 1,820.63 กรัม ดังนี้
ลำดับ |
ตัวยา |
น้ำหนักยา |
|
|
1 |
ลูกจันทน์ |
3.75 กรัม |
|
|
2 |
ดอกจันทน์ |
3.75 กรัม |
|
|
3 |
กระวาน |
5.625 กรัม |
|
|
4 |
กานพลู |
7.5 กรัม |
|
|
5 |
ดีปลี |
9.375 กรัม |
|
|
6 |
พิลังกาสา |
11.25 กรัม |
|
|
7 |
ว่านน้ำ |
13.125 กรัม |
||
8 |
เกลือสินเธาว์ |
15 กรัม |
||
9 |
เทียนดำ |
1.875 กรัม |
||
10 |
เทียนเยาวพาณี |
24.375 กรัม |
||
11 |
การบูร |
26.25 กรัม |
||
12 |
สมอเทศ |
28.125 กรัม |
||
13 |
เทียนข้าวเปลือก |
22.5 กรัม |
||
14 |
สมอไทย |
30 กรัม |
||
15 |
สมอพิเภก |
31.875 กรัม |
||
16 |
โกฐสอ |
33.75 กรัม |
||
17 |
โกฐเขมา |
35.625 กรัม |
||
18 |
บุกรอ |
26.25 กรัม |
||
19 |
ขิงแห้ง |
39.375 กรัม |
||
20 |
เจตมูลเพลิง |
26.25 กรัม |
||
21 |
หัสคุณเทศ |
75 กรัม |
||
22 |
กัญชา |
450 กรัม |
||
23 |
พริกไทยล่อน |
900 กรัม |
||
ข้อบ่งใช้ - แก้โรคลม แก้หืดไอ มีเสมหะ
รูปแบบยา - ยาผง ยาแคปซูล
ขนาดและวิธีใช้ : รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
น้ำกระสายยาที่ใช้ : น้ำผึ้งรวง น้ำอ้อยแดง น้ำนมโคถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน
ข้อห้ามใช้ - ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
ข้อควรระวัง
- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง
- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน
- ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ
- ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูรและเกิดพิษได้
เอกสารอ้างอิง -นิทเทส (ถมรัตน์) พุ่มชูศรี. อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พร้อมจักรการพิมพ์; 2516. หน้า 223.
ตำรับยาที่ 15ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนัง
ที่มาของตำรับยา : อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2
“เอาขมิ้นชัน ใบกัญชา สิ่งละ 15 กรัม น้ำมันเม็ดฝ้าย พอเปียก ใส่แก้ริดสีดวงทวารหนัก ใส่แก้โรคผิวหนังต่างๆ”
สูตรตำรับยาประกอบด้วย ตัวยา 3 ชนิด รวมน้ำหนัก 60 กรัม ดังนี้
ลำดับ |
ตัวยา |
น้ำหนักยา |
1 |
ขมิ้นชัน |
15 กรัม |
2 |
ใบกัญชา |
15 กรัม |
3 |
น้ำมันเมล็ดฝ้าย |
30 กรัม |
ข้อบ่งใช้ - ทาแก้ริดสีดวงทวารหนัก ทาแก้โรคผิวหนัง (เช่น เรื้อนกวาง เรื้อนมูลนก)
รูปแบบยา - ยาน้ำมัน
ขนาดและวิธีใช้- ทาวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น หลังอาบน้ำ
ข้อห้ามใช้ -
ข้อควรระวัง -ควรระวังการใช้กับผู้ที่แพ้ส่วนประกอบของตำรับ
ข้อมูลเพิ่มเติม-
เอกสารอ้างอิง - นิทเทส (ถมรัตน์) พุ่มชูศรี. อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พร้อมจักรการพิมพ์; 2516. หน้า 276.
ตำรับยาที่ 16ยาทัพยาธิคุณ(อยู่ระหว่างการผลิต)
ที่มาของตำรับยา : คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ เล่ม 2
“ยาชื่อทัพยาธิคุณ เอาสะค้าน ผักแพวแดง ดองดึง หว้านน้ำ ยาดำ มหาหิงคุ์ โกฐสอ โกฐจุลาลำพา โกฐพุงปลา กัญชา หัวอุตพิด เนื้อฝักราชพฤกษ์ ชะเอมเทศ ดีปลี แก่นแสมทะเล เอาสิ่งละ 1 ส่วน พริกไทยล่อนเท่ายาทั้งหลาย ตำเป็นผง เอาน้ำใบกำเม็ง น้ำลูกประคำดีควาย เคล้ายาผงตากแดดให้แห้งสิ่งละ 7 ครั้ง แล้วบดด้วยน้ำผึ้งกินหนัก 1 สลึง แก้กล่อน 5 ประการ ซึ่งให้จุกเสียดแลเป็นพรรดึก แก้ลมเป็นก้อนในอุทร ให้เจ็บทั่วร่างกาย เจ็บสะเอว มือเท้าตายกระด้างแลเมื่อยขบทุกข้อทุกลำ ขัดแข้งขา เจ็บทวารหนัก เบาพิการต่างๆ เจ็บศีรษะเวียนหน้าตา เจ็บไหล่ทั้งสอง ปากเปรี้ยว เสียงแหบแห้ง ขัดสีข้าง ขัดอก ท้องขึ้น กินอาหารไม่มีรส นอนไม่ใคร่หลับ โรคทั้งนี้เป็นเพราะเสมหะแห้ง บุรุษและสตรีเป็นเหมือนกัน”
สูตรตำรับยาประกอบด้วย ตัวยา 16 ชนิด รวมน้ำหนัก 30 ส่วน ดังนี้
ลำดับ |
ตัวยา |
น้ำหนักยา |
1 |
สะค้าน |
1 ส่วน |
2 |
ผักแพวแดง |
1 ส่วน |
3 |
ดองดึง |
1 ส่วน |
4 |
ว่านน้ำ |
1 ส่วน |
5 |
ยาดำ |
1 ส่วน |
6 |
มหาหิงคุ์ |
1 ส่วน |
7 |
โกฐสอ |
1 ส่วน |
8 |
โกฐจุฬาลัมพา |
1 ส่วน |
9 |
โกฐพุงปลา |
1 ส่วน |
10 |
กัญชา |
1 ส่วน |
11 |
อุตพิด |
1 ส่วน |
12 |
เนื้อในฝักราชพฤกษ์ |
1 ส่วน |
13 |
ชะเอมเทศ |
1 ส่วน |
14 |
ดีปลี |
1 ส่วน |
15 |
แก่นแสมทะเล |
7 ส่วน |
16 |
พริกไทยล่อน |
15 ส่วน |
ส่วนประกอบอื่นในตำรับ |
||
ใบกะเม็ง |
||
ลูกประคำดีควาย |
ข้อบ่งใช้ -แก้อาการจุกเสียด ท้องผูกอุจจาระเป็นก้อนแข็งเจ็บ เมื่อยขบตามร่างกาย กินอาหารไม่รู้รส นอนไม่หลับ
รูปแบบยา - ยาผง ยาแคปซูล
ขนาดและวิธีใช้ - รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร
น้ำกระสายยาที่ใช้ –น้ำผึ้งรวงถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน
ข้อห้ามใช้- ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
ข้อควรระวัง
- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง
- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน
- ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ
ข้อมูลเพิ่มเติม -กล่อน 5 ประการ ได้แก่ กล่อนดิน กล่อนน้ำ กล่อนลม และกษัยกล่อน /
ดองดึงจะต้องฆ่าฤทธิ์ตามกรรมวิธีก่อนนำมาปรุงยา
เอกสารอ้างอิง –ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อำพัน กิตติขจร). คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์อุตสาหกรรมการพิมพ์; 2504. หน้า 293.