Health & Beauty

รายงานสุขภาวะที่ดีระดับโลกครั้งที่4ปี67  lululemonความกดดันให้มีสุขภาวะที่ดี



กรุงเทพฯ-24 กันยายน, lululemon (NASDAQ: LULU) เปิดเผยรายงานสุขภาวะที่ดีระดับโลก ครั้งที่ 4 ประจำปี 2567 ซึ่งเผยให้เห็นถึงวงจรอันไม่สร้างสรรค์ที่ดำเนินไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อเราพยายามแสวงหาสุขภาวะที่ดีอย่างไม่ลดละ จะส่งผลให้เรามีสุขภาวะที่แย่ลง แม้ว่าการให้ความสำคัญต่อสุขภาวะที่ดีจะแข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม ด้วยผู้คนถึง 90% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกหันมาใส่ใจการมีสุขภาวะที่ดีกันมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่สภาวะกดดันที่ทำให้ผู้คนต้องรักษาระดับการมีสุขภาวะที่ดีก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน จากผลสำรวจ เกือบ 2 ใน 3 จากผู้ตอบแบบสอบถามกำลังดิ้นรนกับการมีสุขภาวะที่ดีตามความต้องการของสังคมที่เพิ่มมากขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามเกินครึ่งเผยว่าพวกเขากำลังประสบกับสภาวะหมดไฟในการมีสุขภาวะที่ดี

ข้อมูลดังกล่าวระบุว่าการเคลื่อนไหวร่วมกับผู้อื่นเพียงเล็กน้อยจะช่วยให้ผู้คนรู้สึกถึงความสัมพันธ์ที่มีกับคอมมูนิตี้ของตนเองมากขึ้น รู้สึกมีจุดมุ่งหมายในชีวิต และช่วยพัฒนาสุขภาวะที่ดีโดยรวม lululemon จึงเปิดตัวแคมเปญ ‘Together we grow’ เพื่อสนับสนุนวันสุขภาพจิตโลก หรือ World Mental Health Day ผ่านการนำเสนอเรื่องราวจากแอมบาสเดอร์ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คน การทำกิจกรรมร่วมกัน และ กิจกรรมในคอมมูนิตี้ “1 million minutes of movement” หรือการเคลื่อนไหวให้ครบ 1 ล้านนาที เมื่อบรรลุเป้าหมายแล้ว lululemon จะปลดล็อกกิจกรรมเคลื่อนไหวมูลค่า 1 ล้านนาที เพื่อมอบให้คอมมูนิตี้ท้องถิ่นต่อไป แคมเปญ ‘Together we grow’ ได้แอมบาสเดอร์อย่าง พัคซอจุน (Park Seo Joon) นักแสดงชื่อดังจากเกาหลีใต้ อโมติ (Amotti) ผู้ชนะจากรายการร้อยแกร่งแข่งอึด (Physical: 100) ซีซั่น 2 - Underground และ ลีอาห์ ซิมมอนส์ (Leah Simmons) ผู้ก่อตั้งสถาบัน KAAIAA เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ชายและกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กำลังตกอยู่ในสภาวะหมดไฟในการมีสุขภาวะที่ดี

"เรามีความยินดีที่จะเผยแพร่ข้อมูลเชิงลึกใหม่เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสุขภาวะที่ดีทั่วโลก" แคลวิน แมคโดนัลด์ ซีอีโอของ lululemon กล่าว "ด้วยข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ เราหวังว่าเราจะช่วยกระตุ้นบทสนทนาและสนับสนุนให้ผู้คนได้ไตร่ตรองวิธีการมีสุขภาวะที่ดีในแบบของตนเอง ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวร่วมกับผู้อื่นและความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้สามารถส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความรู้สึกของบุคคล และเรามีความมุ่งมั่นที่จะนำพาผู้คนและคอมมูนิตี้ทั่วโลกมารวมตัวกันตลอดทั้งปีเพื่อทำสิ่งนี้"

แม้จะมีการให้ความสำคัญกับสุขภาวะที่ดีอย่างต่อเนื่อง แต่คะแนนดัชนีชี้วัดสุขภาวะที่ดี หรือ Wellbeing Index Scores ซึ่งวัดจากมิติทางกายภาพ จิตใจ และสังคม ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาคตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการปรับปรุงการมีสุขภาวะที่ดี ข้อมูลดังกล่าวเน้นย้ำถึงจุดกดดันหลักที่เป็นสาเหตุให้วงจรนี้ดำเนินไปอย่างไม่จบสิ้น ได้แก่

  • ผู้ตอบแบบสอบถาม 62% เปิดเผยว่าพวกเขาต้องเผชิญกับความคาดหวังจากสังคมที่คาดหวังให้พวกเขาต้องมีสุขภาวะที่ดีอยู่เสมอ
  • ผู้ตอบแบบสอบถาม 54% ระบุว่ามีข้อมูลที่ขัดแย้งกันมากมายเกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงสุขภาวะที่ดี
  • 90% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่กำลังเผชิญกับสภาวะหมดไฟในการมีสุขภาวะที่ดี ระบุว่าความรู้สึกโดดเดี่ยวเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อยู่ในสภาวะดังกล่าว

คนกลุ่มไหนที่รู้สึกหมดไฟมากที่สุด

ในขณะที่ผู้คนทั่วโลกกำลังดิ้นรนภายใต้แรงกดดันที่จะต้องมีสุขภาวะที่ดี แต่บางประเทศและกลุ่มคนบางกลุ่มในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังประสบกับสภาวะหมดไฟในการมีสุขภาวะที่ดีมากที่สุด

  • ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์) อยู่ใน "กลุ่มสภาวะหมดไฟในการมีสุขภาวะที่ดี" สูงสุด โดยมีระดับสภาวะหมดไฟในการมีสุขภาวะที่ดีที่สูงที่สุดในภูมิภาค
  • ผู้ชายรู้สึกถึงผลกระทบจากสภาวะหมดไฟในการมีสุขภาวะที่ดีมากกว่าผู้หญิง โดยผู้ชายในภูมิภาคนี้ถึง 43% ระบุว่ารู้สึกเหงามากขึ้น (เมื่อเทียบกับ 38% ของผู้หญิง)
  • กลุ่มคนรุ่นใหม่รับรู้ถึงแรงกดดันมากกว่ากลุ่มคนรุ่นเก่า โดย 76% ของ Gen Z  และ 70% ของมิลเลนเนียล  เปิดเผยว่ารู้สึกกดดันที่ต้องมีสุขภาวะที่ดี (เมื่อเทียบกับ 58% ของ Gen X  และ 45% ของเบบี้บูมเมอร์ )

ผู้คนรับมือกับความท้าทายด้านสุขภาวะที่ดีอย่างไร

แม้ว่าข้อมูลจะเน้นย้ำถึงแรงกดดันด้านสุขภาวะที่ดี แต่การมีส่วนร่วมกับคอมมูนิตี้และการเคลื่อนไหวสามารถช่วยทำลายวงจรดังกล่าวและช่วยพัฒนาสุขภาวะที่ดีได้ การเคลื่อนไหวร่วมกับผู้อื่นเพียงเล็กน้อยจะช่วยให้ผู้คนรู้สึกเชื่อมโยงกับคอมมูนิตี้ของตนเองมากขึ้น มีจุดมุ่งหมายในชีวิต และมีสุขภาวะที่ดีในภาพรวมเพิ่มขึ้นถึง 16%

ผลการศึกษานี้เน้นย้ำถึงวิธีต่าง ๆ ที่ผู้คนใช้เพื่อลดแรงกดดันในการมีสุขภาวะที่ดีและช่วยให้พวกเขาหลุดพ้นจากวงจรอันอึดอัดคับข้องและไม่มีที่สิ้นสุดนี้ได้

  • ผู้ชายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใช้การเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนสุขภาวะที่ดีทางจิตใจและเชื่อมโยงกับคอมมูนิตี้ของตน
    • 82% ของผู้ชาย  ตระหนักถึงความสำคัญของการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อสุขภาวะที่ดีทางจิตใจ
    • 57% ของผู้ชาย ใช้ประโยชน์จากการออกกำลังกายในการเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่นและสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง
  • ในขณะเดียวกัน 70% ของ Gen Z  เข้าใจถึงความสำคัญของการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยจะเคลื่อนไหวร่างกายเล็ก ๆ น้อย ๆ ตลอดทั้งวัน

ในฐานะแบรนด์ที่เน้นความสำคัญของคอมมูนิตี้และการเคลื่อนไหว lululemon ประกาศความมุ่งมั่นในการบริจาคเงิน 3.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 102 ล้านบาท) ให้แก่ United for Global Mental Health, The Global Coalition for Youth Mental Health, นำโดย UNICEF2 และ UNICEF’s Global Mental Health Fund, และ National Alliance on Mental Illness (NAMI) เพื่อดำเนินงานในการพัฒนาสุขภาพจิตทั่วโลกต่อไป โดยเน้นที่จุดเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวและสุขภาพจิต 

นายแกเร็ธ โป๊ป รองประธานอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ lululemon กล่าวว่า “แม้จะมีแรงกดดันจากสังคม แต่ก็น่ายินดีที่ผู้คนจำนวนมากพยายามพัฒนาสุขภาวะที่ดีของตนเองให้ดีขึ้น” และย้ำว่า “เมื่อกล่าวถึงความสำคัญของการเคลื่อนไหวร่างกายและคอมมูนิตี้ที่ได้รับการเน้นย้ำในรายงานสุขภาวะที่ดีระดับโลกนั้น แคมเปญ ‘Together we grow’ สนับสนุนให้ทุกคนเคลื่อนไหวและเชื่อมโยงกัน lululemon มุ่งมั่นที่จะยกระดับสุขภาวะที่ดีของทุกคน เราทุ่มเทที่จะสร้างโอกาสให้ทุกคนได้มีสุขภาวะที่ดีขึ้นในชีวิตของพวกเขา”

สามารถศึกษารายงานสุขภาวะที่ดีระดับโลกครั้งที่ 4 ประจําปี 2567 ของ lululemon ได้

เพื่อสานต่อความสำเร็จของแคมเปญ ‘Together we grow’ และส่งเสริมวัฒนธรรมด้านสุขภาวะที่ดีในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง lululemon รู้สึกตื่นเต้นที่จะจัดงานพิเศษเพื่อเฉลิมฉลองวันสุขภาพจิตโลกที่ CentralwOrld โซน Atrium ระหว่างวันที่ 26-27 ตุลาคม 2567 ร่วมสัมผัสประสบการณ์ด้วยตนเองผ่านคลาสเพื่อสุขภาวะที่ดีหลากหลายประเภท อาทิ โยคะ ครอสฟิต บอดี้คอมแบต ซุมบ้า โดยคลาสเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและยกระดับสุขภาวะที่ดีในคอมมูนิตี้ประเทศไทย

ค้นพบพลังแห่งการเคลื่อนไหวและการมีสติอยู่กับปัจจุบัน ไปพร้อมกับการเชื่อมต่อกับคอมมูนิตี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรม สามารถติดตามได้ที่ @lululemonsoutheastasia บนช่องทาง Instagram และ Facebook

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแคมเปญ ‘Together we grow’ ของ lululemon และสมัครเข้าร่วม ‘Together we grow’ Challenge โปรดคลิกที่นี่

lululemon เปิดตัวรายงาน Global Wellbeing Report ประจำปีในปี 2564 เพื่อเป็นแนวทางให้กับการดำเนินงานที่ต่อเนื่องของแบรนด์เพื่อสนับสนุนจุดมุ่งหมายของแบรนด์และบรรลุเป้าหมาย Be Welll ตามที่ระบุไว้ใน Impact Agenda การศึกษาใน 15 ตลาดนี้ทำการประเมินสถานการณ์ด้านสุขภาวะที่ดีทั่วโลก และสำรวจปัจจัยขับเคลื่อนและอุปสรรคต่าง ๆ ในการมีสุขภาวะที่ดีทางร่างกาย จิตใจ และสังคม การวิจัยดำเนินการระหว่างวันที่ 22 เมษายน 2567 ถึง 30 พฤษภาคม 2567 และมีผู้ใหญ่ทั่วไป 16,000 คนทั่วโลกเข้าร่วม (1,000 คนจากแต่ละตลาด 15 แห่งต่อไปนี้: สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ไทย ญี่ปุ่น; และ 2,000 คนจากจีนแผ่นดินใหญ่)

ยูนิเซฟไม่ได้รับรองบริษัท แบรนด์ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการใด ๆ