Health & Beauty

แอสตร้าเซนเนก้ายกระดับการแพทย์ไทย เปิดตัวการพัฒนาความรู้โรคไม่ติดต่อ



กรุงเทพฯ ประเทศไทย, 9 ตุลาคม 2567–บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด จับมือภาคีเครือข่ายสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทยสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทยและบริษัทด็อกควิตี้ (ไทยแลนด์) จำกัดประกาศเปิดตัว “โครงการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” เพื่อยกระดับการบริหารจัดการด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) อีกทั้งมุ่งเน้นที่จะมอบองค์ความรู้ที่ทันสมัยแก่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพทั่วประเทศในด้านของการปฏิบัติจริงในเวชปฏิบัติทางคลินิกและการดูแลรักษาผู้ป่วยในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs Clinic)

โดยโครงการนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีการเซ็นหนังสือแสดงวิสัยทัศน์ร่วมกันเมื่อ 4 ตุลาคมที่ผ่านมานี้ ณ โรงแรมดับเบิ้ลยูกรุงเทพฯ ที่ต่อมามีการจัดเสวนาทางวิชาการเรื่องACT on NCDที่ผนึกกำลังคณาจารย์ผู้มีเกียรติที่มาร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์เพื่อยกระดับการดูแลรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ในประเทศไทย โดยการประชุมครั้งนี้ยังได้ไฮไลท์ถึงทิศทางเชิงกลยุทธ์ของ “ACT on NCD” มุ่งเน้นการสร้างเสริมขีดความสามารถขององค์กรและหน่วยงานด้านการดูแลสุขภาพสู่ความตระหนักรู้ รักษาอย่างไรให้ขับเคลื่อนสู่สังคมสุขภาพดีที่ยั่งยืน

โครงการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือที่ยิ่งใหญ่และแรงกล้าขององค์กรด้านการดูแลสุขภาพชั้นนำที่มุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) พร้อมด้วยพันธมิตร มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนโซลูชันการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)แบบองค์รวม (Holistic care) ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องด้วยสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย

นายโรมันรามอสประธานบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าประเทศไทยและFrontier Markets กล่าวว่า “การเปิดตัว“โครงการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” ถือว่าเป็นก้าวสำคัญในความมุ่งมั่นและพยายามร่วมกันที่จะยกระดับการพัฒนาดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย การที่เราได้ร่วมมือกับพันธมิตรแถวหน้าของภาคการดูแลสุขภาพเรามุ่งหวังที่จะส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนผู้ให้บริการด้านสุขภาพต่าง ๆ สามารถเข้าถึงทรัพยากรและพร้อมที่จะแบ่งปันข้อมูลเพื่อที่จะมอบการดูแลเหนือระดับ วิสัยทัศน์ร่วมของเราและพันธมิตรคือการส่งเสริมการวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆและการจัดการกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างมีประสิทธิผลเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

รศ.นพ. เพชร รอดอารีย์ นายกสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของสมาคมฯ ว่า“เรามุ่งขับเคลื่อนสังคมไปสู่การควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs)ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและมุ่งหมายที่จะสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมที่ลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมปัจจัยคุ้มครองที่จำเป็นต่อการป้องกันโรคผ่านการผลักดันเชิงนโยบายโดยมุ่งหวังให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นด้วยจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยทำงานสะท้อนถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการขยายการบริการสาธารณสุขเพื่อจัดการกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น”

นพ. กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า“โครงการสำคัญที่มีการวางแผนมาร่วมทศวรรษคือ การขับเคลื่อนการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังด้วยความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนโดยมุ่งเน้นในการลดปัจจัยเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงภายใต้แนวนโยบาย “กรมควบคุมโรคห่วงใย อยากเห็นคนไทยมีสุขภาพดี”

โครงการนี้เน้นไปที่การสัมมนาออนไลน์เชิงการศึกษาจำนวนเจ็ดครั้งโดยแต่ละครั้งจะมุ่งเน้นไปที่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้แก่เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, โรคไตเรื้อรัง, โรคหืด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, และการคัดกรองมะเร็งการสัมมนาออนไลน์เหล่านี้จะมอบข้อมูลเชิงลึกที่ทันเหตุการณ์เกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยง, การคัดกรอง, การวินิจฉัย, แนวทางการรักษาและการจัดการภาวะแทรกซ้อนให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพโดยยึดมาตรฐานระดับชาติและนานาชาติ.

โครงการนี้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และเตรียมความพร้อมให้กับผู้ให้บริการด้านสุขภาพด้วยข้อมูลเชิงปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ได้จริงโดยสอดคล้องกับเป้าหมายหลักของกระทรวงสาธารณสุขและเป้าหมายการให้บริการโรคไม่ติดต่อในภูมิภาคโดยมุ่งเน้นทั้งการป้องกันและการรักษาด้วยการจัดหาเครื่องมือสำหรับการตรวจพบในระยะแรกและการดูแลแบบครอบคลุมเพื่อส่งเสริมผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ ในการมอบผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในการจัดการโรคเรื้อรัง