Think In Truth

'สยาม' คือ...อารยธรรมแก่นแท้แห่งความ ศิวิไลซ์  โดย: ฟอนต์ สีดำ



อารยธรรมสยามมีเอกลักษณ์โดดเด่นที่แตกต่างจากอารยธรรมอื่นๆ ทั่วโลก ด้วยรากฐานที่ลึกซึ้งในพุทธศาสนา ผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของชนชาติไทย ทำให้เกิดเป็นอารยธรรมที่มีความละเอียดอ่อน มีความสมดุลระหว่างวัตถุและจิตใจ และมุ่งเน้นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ในขณะที่อารยธรรมตะวันตกมักเน้นความก้าวหน้าทางวัตถุและเทคโนโลยี อารยธรรมสยามกลับให้ความสำคัญกับการพัฒนาจิตใจควบคู่ไปกับการพัฒนาทางวัตถุ

อารยธรรมสยามมีรากฐานอยู่บนหลักธรรมทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง ซึ่งสอนให้คนเราดำเนินชีวิตอย่างพอดี ไม่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง แนวคิดนี้ส่งผลให้สังคมไทยมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างราบรื่น ในขณะเดียวกันกับอรยธรรมของโลกที่อวดตนเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่มของประเทศผู้ล่าอาณานิคม ที่มักจะมีวัฒนธรรมของการบริโภคนิยม และสุขนิยม ที่มองผู้อื่นด้อยกว่า ที่ตนจะสามารถเรียกร้องเอากับอีกฝ่ายได้โดยง่าย เพราะตนเป็นผู้ชนะในการใช้กำลังในการปกครอง วัฒนธรรมแห่งความเอื้อเฟื้อ เกื้อกูล จึงปลูกฝังในสังคมอื่นมีน้อยกว่าอริยธรรมสยาม

อริยธรรมโลกที่วิวัฒนการจากสังคมแห่งการเอาตัวรอดจากการกดขี่ของกลุ่มชนชั้นนำ ที่สร้างระบบทาสเพื่อการจัดการแรงงานในการสร้างอำนาจในการต่อรองกับกลุ่มอื่น และการผลิตเพื่อการเสพสุขของชนชั้นนำ จะเป็นสังคมแห่งการเอาตัวรอดและการสั่งสมความมั่งคั่ง โดยไม่สนใจในเรื่องของความเกื้อกูล ความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ หรือแม้แต่ความเกรงใจ การบริหารจัดการของกลุ่มอริยธรรมที่ยกตนเป็นอริยธรรมชั้นสูง โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะอยู่บนพื้นฐานแห่งการต่อรอง การแลกเปลี่ยน  หรือเกิดผลประโยชน์ทางวัตถุหรือการกระทำร่วม ซึ่งแตกต่างจากอริยธรรมสยาม ที่มีความเมตตา ความกรุณา ความมุทิตา และความอุเบกขา เพิ่มเข้ามา ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมแห่งความเอื้อเฟื้อ เกื้อกูลเพิ่มขึ้นในอริยธรรมสยาม

พฤติกรรมที่สร้างความประทับใจครั้งแรกพบ คือ การยิ้ม ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นมิตร ความปลอดภัย ความอบอุ่น และความรัก ที่อริยธรรมสยามได้บ่มเพาะคนในสังคมอริยธรรมสยามได้แสดงออก ซึ่งต่างจากอริยธรรมโลกทั่วไป ที่มีท่าทีระแวง ไม่ไว้ใจ ตั้งรับเพื่อการโต้ตอบในการเอาตัวรอด จนกว่าจะมั่นใจ จึงจะแสดงท่าทีแห่งความเป็นมิตร จนความสัมพันธ์เป้นปกติ ไว้ใจ ในขณะที่สังคมอริยธรรมสยามจะสร้างบรรยากาศของความเอื้อเฟื้อ เกื้อกูล แต่สังคมอริยธรรมโลกทั่วไปจะมองถึงการแลกเปลี่ยน ความสมดุลของการมีผลประโยชน์ร่วม หรือมองถึงผลประโยชน์ที่ตนจะได้รับโดยที่อีกฝ่ายไม่รู้สึกเสียผลประโยชน์

ศิลปะและวัฒนธรรมของสยามสะท้อนให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนและความประณีต ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมวัดวาอาราม จิตรกรรมฝาผนัง หรือนาฏศิลป์ไทย ล้วนแล้วแต่แฝงไปด้วยหลักธรรมและคติสอนใจ ทำให้ศิลปะไม่เพียงแต่สวยงาม แต่ยังมีคุณค่าทางจิตใจอีกด้วย นอกจากศิลปะวัฒนธรรมที่สะท้อนถึงแนวคิดเชิงปรัชญาที่เป็นหลักธรรมและคติสอนใจแล้ว ยังสะท้อนถึงการเล่าเรื่องอดีตในเชิงประวัติศาสตร์ เพื่อบันทึกเรื่องราวในอดีตได้สืบทอด โดยไม่โยงถึงตัวบุคค แต่จะประพันธ์เป็นเรื่องราว นิทาน เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ถึงปัจจุที่เป็นอยู่นั้น มาจากอดีตที่เป็นเรื่องราวแบบนั้น  ซึ่งอนาคตจะเป็นอย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของคนรุ่นนั้นๆ ได้เรียนรู้และวางแผนสร้างอนาคตร่วมกันด้วยการปกครองที่อยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นสถาบันที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในสยาม

ในขณะที่อริยธรรมอื่นทั่วโลก กลับสร้างศิลปะ วัฒนธรรมที่แสดงออกถึงความยิ่งใหญ่ของตนเอง ความภาคภูมิใจที่ตนเองได้นำผู้คนไปสู้รบ ไปแย่งชิงดินแดนและนำทรัพยากรมาสร้างความมั่งให้กับประเทศชาติของตน หรือไม่ก็เป็นแนวคิดเชิงการครอบงำทางความเชื่อ ที่สะท้อนถึงความยิ่งใหญ่ของตนเองที่เป็นผู้สร้างอริยธรรมแห่งการล่า การสู้รบ

ระบบการปกครองของสยามมีพื้นฐานมาจากหลักทศพิธราชธรรม ซึ่งเป็นหลักธรรมสำหรับผู้ปกครอง ทำให้การปกครองของสยามมีความเมตตาและยุติธรรม นอกจากนี้ โครงสร้างทางสังคมยังเน้นความเคารพและกตัญญู ซึ่งช่วยสร้างความสงบสุขในสังคม ในขณะที่การปกครองในอริยธรรมโลกนั้นเป็นการปกครองด้วยอำนาจทางกองกำลังที่มีความสามารถในการรบ การเอาชนะด้วยกำลัง

แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่พัฒนาขึ้นในสยาม เป็นตัวอย่างที่ดีของการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ โดยเน้นความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักมัชฌิมาปฏิปทา กำลังทรัพย์ในการพัฒนาของอริยธรรมสยามนั้นเกิดจากทาน เป็นสำคัญ การให้ทานเกิดจากความรู้ ความเข้าใจในความสำคัญในการพัฒนาในสิ่งหนึ่ง สิ่งใดร่วมกัน เช่น การร่วมบริจาคในการร่วมสร้างพระอุโบสถ หรืออื่นๆ ที่สังคมสยามได้เล็งเห้นความสำคัญ ก็จะเกิดการร่วมบริจาคในการพัฒนา ซึ่งในขณะเดียวกัน อริยธรรมทั่วไปของโลกมักใช้การจัดเก็บค่าธรรมเนียม ภาษี หรือค่าอื่นได แล้วจึงนำมาจัดสรรคเพื่อการพัฒนา ถึงแม้นประเทศไทยจะมีระบบในการจัดเก็บภาษี แต่ก็ไม่ทำให้การบริจาคเพื่อการพัฒนาจะหาย การเกิดกองผ้าป่าสามัคคี การเกิดกองกฐินสามัคคี ยังคงบ่มเพาะอริยธรรมสยาม ให้เกิดการปลูกฝังในจิตใต้สำนึกของคนไทย ที่มีอริยธรรมสยาม ในการพัฒนาด้วยความร่วมมือของคนในสังคม

ในปัจจุบัน อารยธรรมสยามกำลังได้รับความสนใจและชื่นชมจากนานาชาติมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในด้านของ:

1. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ

การท่องเที่ยวถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของคนทั้งโลก และประเทศไทยก็เป้นประเทสหนึ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญของคนทั้งโลกที่จะมาท่องเที่ยว ซึ่งตัวเลขในการท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2566  ที่ผ่ามา ถึงแม้นว่าประเทศไทยยังอยู่ในภาวะของการเฝ้าระวังการระบาดของโควิด-19 อยู่ก็ตาม แต่ก้ไม่ได้ทำให้นักท่องเที่ยว เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยลดลงเลย การท่องเที่ยวไทยถือว่าเป็นที่นิยมในชาวต่างประเทศ เพราะทุกคนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยแล้ว จะได้รับประสบการณ์ในทุกมิติของชีวิตที่ต้องการ ซึ่งการที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกหลังไหลเข้ามาเที่ยวในเมืองไทย เท่ากับเป้นการเข้ามาซึมซับวัฒนธรรมไทย ที่เป็นอริยธรรมสยามไปโดยไม่รู้ตัว นักท่องเที่ยวมากกว่า 95% จะบอกเป็นเสียวเดียวกันว่า รักประเทศไทย และทุกคนปรับตัวเองเข้ากับวัฒนธรรมไทยที่เป็นอริยธรรมสยามได้อย่างไม่รู้สึกเคอะเขิน แต่กลับภูมิใจในการที่ได้ใช้ชีวิตแบบไทยๆ ได้ใช้วัฒนธรรมไทยในการอยู่ร่วมกับสังคมอริยธรรมสยาม และทุกครั้งที่ต้องเดินทางกลับ ทุกคนก็จะแสดงออกถึงความรู้สึกเศร้าใจที่ต้องเดินทางกลับไปประเทศของตนเอง และบางคนเดินทางกลับประเทศของคนเองกลับมีความรู้สึกว่าประเทศของตนเองไม่น่าอยู่ นั่งคือสาเหตุที่คนเหล่านั้นได้เอาวัฒนธรรมไทยไปใช้ในประเทศของตน เพื่อให้รู้สึกเหมือนอยู่ในประเทศไทย

2. แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อมูลยืนยันได้ชัดเจน คือ การที่นายมาร์ติน วีลเลอร์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่มีภรรยาเป็นคนไทย และได้ผันตัวเองจากนักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ มาเป็นเกษตรกร ซึ่งทำให้เขาพบว่า อริยธรรมสยาม เป็นอริยธรรมแห่งความยั่งยืน ที่มีทุกสิ่งทุกอย่างในทำเพื่อความรู้รอด เพื่อความพอเพียง เพื่อความสบาย และเพื่อความสุข ซึ่งในอริยธรรมอื่นทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ ไม่มีอริยธรรมแห่งความยั่งยืนแบบนี้ ซึ่งจะไม่ขอขยายความในที่นี้ เพราะเจ้วตัว นายมาร์ติน วีลเลอร์ ยังใช้ชีวิตในเมืองไทย และจะสามารถให้ข้อมูลและรายละเอียดได้ดีกว่าที่จะนำมาเขียนในที่นี้

3. การแพทย์แผนไทยและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

การแพทย์แผนไทย ถือว่าเป็นการรักษาและดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ในขณะที่การแพทย์แผนปัจจุบัน หรือการแพทย์แผนตะวันตกเป็นการแพทย์ที่รักษาตามอาการ ซึ่งไม่ได้รักษาที่ต้นตอของปัญหาของอาการเจ็บป่วย ดังนั้นการแพทย์แผนไทยจึงมีการนำสมุนไพรมาประกอบเป้นอาหาร ซึ่งทำให้เกิดการบำรุงร่างการ และบำบัดอาการเจ็บป่วยแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง จนมีการพูดติดปากว่า “กินยาเป็นอาหาร” อาหารไทยนอกจากจะเป็นอาหารที่มีรสชาติที่อร่ิยถูกใจกับผู้มาเยือนแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยา ที่เป็นทั้งบำรุงร่างกายและรักษาอาการเจ็บป่วยไปพร้อมๆ กัน กระบวนการรักษาพยายาบาลนอกจากจะใช้การบำนัดด้วยสมุนไพรแล้ว ยังมีกระบวนการนวด การอบสุมนไพร การสูดดม การตอกเส้น การจัดกระดูก การอาบน้ำแร่ การย่างและรมควัน การดัดตน รวมทั้งการบ่ง การขูด เป็นต้น ซึ่งในการรักษาที่กล่าวมาเป็นการรักษาตามอาการที่แก้อาการเฉพาะหน้า ที่ต้องทานยาสมุนไพรและอาหารเพื่อเป็นการรักษาแบบองค์รวมไปพร้อมๆ กันนั่นเอง

4. ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบมวยไทย ที่ผสมผสานหลักธรรมและจิตวิญญาณ

มวยไทยเป็นกีฬาที่ประยุกต์มาจากการต่อสู้ในสงคราม ที่นักรบไทยทุกคนต้องฝึกทักษะในการชกมวย ฟันดาบ กระบี่กระบอง รวมทั้งการใช้ทวนและการขี่ม้า ทักษะของนักรบไทยในการรบ จึงทำให้ไทยมีความสามารถในการป้องกันตัวเอง จนประเทศไทยไม่เคยตกไปเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกเลย เมื่อมวยไทยได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นกีฬา แม่ไม้มวยไทยหลายกระบวนท่าจึงถูกตัดออก เพราะมันเป็นกระบวนท่าที่เป็นแม่ไม้มวยไทยที่เป็นอันตรายต่อคู่ต่อสุ้ถึงชีวิต เช่น ท่าหนุมารถวายแหวน ซึ่งเคยทำร้ายนักชกกัมพูชาถึงเสียชีวิต การใช้หัวโขก การใช้นิ้วมือ และการเตะที่ใช้หัวแม่เท้าเป็นอาวุธ กีฬามวยไมยจึงเป็นทักษะกีฬาที่สามารถนำไปใช้ในการป้องกันตัวได้จริง ในชีวิตจริง ไม่ใช่เป็นกีฬาเพื่อการแสดงเหมือนกับกีฬาประเภทอื่นๆ ดังนั้น มวยไทยจึงกลายเป็นกีฬาที่นิยมในหมู่นักกีฬาต่างชาติ และนักกีฬาต่างชาติเมื่อมาฝึกกีฬามวยไทยก็ได้ซึมซับเอาวัฒนธรรมการต่อสู้แบบลูกชายในสไตล์มวยไทย ซึ่งเป็นแทรกอริยธรรมสยามเข้าไปในวิถีการต่อสู้แบบกีฬามวยไทยไปด้วย จึงทำให้นักกีฬามวยไทยทั่งโลก กลายเป็นผู้มีพฤติกรรมและบุคลิกภาพที่เป็นสุภาพบุรุษ ไม่เอาเปรียบคู่ต่อสู้ที่นอกเหนือกติกา ไม่ซ้ำเมื่อคู่ต่อสู้เพรี่ยงพร้ำ ซึ่งจะทำให้คู่ต่อสู้ได้รับอันตราย นักกีฬามวยไทย ทุกคนที่ฝึกด้วยครูมวยไทย จะเป็นผู้ที่ใช้ศิลปะมวยไทยเป็นกีฬาที่แท้จริง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย

สยามคืออารยธรรมหนึ่งเดียวที่สร้างสันติภาพ เกื้อกูล เอื้อเฟื้อ และสร้างสมดุลของสังคมโลก  อารยธรรมสยามมีคุณูปการอันยิ่งใหญ่ต่อโลก ด้วยหลักการที่มุ่งเน้นความสมดุล ความเมตตา และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ อารยธรรมสยามจึงเป็นแบบอย่างของการสร้างสังคมที่มีความเกื้อกูล เอื้อเฟื้อ และมีสันติภาพ ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้ง ความเหลื่อมล้ำ หรือวิกฤตสิ่งแวดล้อม อารยธรรมสยามอาจเป็นคำตอบสำคัญในการสร้างสมดุลให้กับสัง