In Bangkok
คันนายาวเตรียมปั้นสวน15นาทีพื้นที่ว่าง ข้างเขตฯคุมเข้มแผงค้าซอยเสรีไทย61
กรุงเทพฯ-คันนายาวเตรียมปั้นสวน 15 นาทีพื้นที่ว่างข้างเขตฯ คุมเข้มแผงค้าซอยเสรีไทย 61 ชมคัดแยกขยะแฟชั่นไอส์แลนด์ สุ่มวัดค่าฝุ่น PM2.5 ไซต์งาน Fashion Parking Building C
(21 ต.ค.67) เวลา 13.00 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตคันนายาว ประกอบด้วย
พัฒนาสวน 15 นาที บริเวณพื้นที่ว่างด้านข้างสำนักงานเขตคันนายาว ซึ่งเขตฯ ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ ออกแบบสวน จัดทำทางเดิน ตั้งวางม้านั่ง ปลูกไม้พุ่มไม้ประดับ ในโอกาสนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารเขตฯ ได้ร่วมกันปลูกต้นชะแมบทอง เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างกำแพงกรองฝุ่น เพิ่มความร่มรื่นและสวยงามให้กับสวนดังกล่าว ปัจจุบันเขตฯ มีสวน 15 นาที (สวนเดิม) จำนวน 5 แห่ง ได้แก่
1.สวนคันนายาวรมณีย์ ถนนสวนสยาม ตั้งอยู่ริมคลองลำรางบ้านเกาะ กึ่งกลางระหว่างหมู่บ้านเลิศอุบล และหมู่บ้านฐานทอง พื้นที่ 4 ไร่ 24 ตารางวา 2.สวนหย่อมริมคลองหลอแหล ซอยเสรีไทย 83 ตั้งอยู่ริมคลองหลอแหล ระหว่างซอยเสรีไทย 83 และนิคมอุตสาหกรรมบางชัน พื้นที่ 6 ไร่ 35.75 ตารางวา 3.สวนน้ำคันนายาวภิรมย์ ซอยเสรีไทย 38 ตั้งอยู่ริมบึงลำบึงกุ่ม ตรงข้ามหมู่บ้านนวธานี พื้นที่ 5 ไร่ 3 งาน 94.75 ตารางวา 4.สวนน้ำคันนายาวภิรมย์ ซอยเสรีไทย 50 ตั้งอยู่ริมบึงลำบึงกุ่มโซนฝั่งทิศเหนือ ข้างชุมชนหมู่ 3 ร่วมใจพัฒนา พื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน 19.50 ตารางวา 5.สวนน้ำคันนายาวภิรมย์ ซอยเสรีไทย 52 ตั้งอยู่ริมบึงลำบึงกุ่มโซนฝั่งทิศเหนือ พื้นที่ 3 ไร่ 4 ตารางวา สวน 15 นาที (สวนใหม่) จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ 1.สวนสุขใจ ซอยเสรีไทย 73 ตั้งอยู่ริมคลองลำนุ่น ข้างแฟลตสน.บางชัน พื้นที่ 3 ไร่ 3 งาน 56.97 ตารางวา 2.สวนน้ำคันนายาวภิรมย์ ซอยเสรีไทย 38 แยก 14 พื้นที่ 1 ไร่ 1 งาน 88.25 ตารางวา 3.สวนน้ำคันนายาวภิรมย์ ซอยเสรีไทย 38/1 สวนป่าโซน 1 จากสะพานเขียวข้ามบึงลำบึงกุ่ม พื้นที่ 1 ไร่ 3 งาน 2.50 ตารางวา
4.สวนน้ำคันนายาวภิรมย์ ซอยเสรีไทย 38 สวนป่าโซน 2 ใต้ทางด่วนยกระดับบางนา-บางปะอิน จากทางด่วนฝั่งทิศตะวันตก ถึงทางด่วนฝั่งทิศตะวันออก พื้นที่ 1 ไร่ 42.50 ตารางวา 5.สวนน้ำคันนายาวภิรมย์ ซอยเสรีไทย 38 สวนป่าโซน 3 ใต้ทางด่วนยกระดับบางนา-บางปะอิน จากทางด่วนฝั่งทิศตะวันตก ถึงทางด่วนฝั่งทิศตะวันออก พื้นที่ 1 ไร่ 1 งาน 66.25 ตารางวา 6.สวน 15 นาที ด้านข้างสำนักงานเขตคันนายาว พื้นที่ 1 งาน 3.99 ตารางวา อยู่ระหว่างปรับปรุงพื้นที่ 7.สวน 15 นาที ชุมชนเปรมฤทัย รามอินทรา กม.9 พื้นที่ 2 งาน 17.2 ตารางวา อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่ 8.สวนน้ำคันนายาวภิรมย์ ใต้ทางด่วนยกระดับบางนา-บางปะอิน จากทางด่วนฝั่งตะวันออก ถึงคลองครุหลังหมู่บ้านเรือนทองนิเวศน์ พื้นที่ 2 ไร่ 31.5 ตารางวา อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่
9.สวนน้ำคันนายาวภิรมย์ ใต้ทางด่วนยกระดับบางนา-บางปะอิน จากทางด่วนฝั่งตะวันออก ถึงคลองครุหลังชุมชนสุเหร่าแดง พื้นที่ 2 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่ ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ พิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้พื้นที่เพื่อจัดทำสวน 15 นาที โดยออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายในสวนให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและประชาชนที่เข้ามาใช้บริการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมาเขตฯ ได้จัดทำสวน 15 นาที ครบทั้ง 10 แห่ง ตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จากการสำรวจพบว่าเขตฯ ยังมีพื้นที่ว่างโดยเฉพาะบริเวณใต้ทางด่วนยกระดับบางนา-บางปะอิน สามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์ จึงมีแนวคิดในการจัดทำสวน 15 นาทีเพิ่มเติม
ตรวจการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณซอยเสรีไทย 61 ถนนเสรีไทย ปัจจุบันเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 3 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 41 ราย ดังนี้ 1.หน้าสวนคันนายาวรมณีย์ ตั้งแต่หน้าร้าน 7-11 (แยกสวนสยาม 1) ถึงคลองลำราง (คลองลำเกร็ด) ผู้ค้า 21 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 05.00-07.00 น. 2.ถนนเสรีไทย ตั้งแต่ปากซอยเสรีไทย 61 จุดสิ้นสุดจากปากซอยเข้ามา 40 เมตร ผู้ค้า 11 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-15.00 น. 3.ถนนสวนสยาม ตั้งแต่หน้าสรรพากรพื้นที่ 19 ถึงตลาดสวนสยาม ผู้ค้า 9 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 09.00-15.00 น. ซึ่งในปี 2567 เขตฯ ได้ยกเลิกจุดทำการค้า จำนวน 2 จุด ได้แก่ 1.ถนนคู้บอน ผู้ค้า 11 ราย 2.บริเวณแยกอมรพันธ์-ซอยสวนสยาม ผู้ค้า 8 ราย ยกเลิกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 นอกจากนี้เขตฯ ได้จัดทำ Hawker Center บริเวณหน้าศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ สามารถรองรับผู้ค้าได้ 15 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 16.00-21.00 น. โดยใช้พื้นที่บางส่วนบริเวณด้านข้างแลมป์กลับรถ จัดทำเป็น Hawker Center ซึ่งศูนย์การค้าฯ ไม่คิดค่าเช่าพื้นที่ ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ ดูแลความเป็นระเบียบพื้นที่ทำการค้าอย่างต่อเนื่อง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทำการค้าปี 67 กวดขันผู้ค้าไม่ให้ตั้งวางแผงค้ารุกล้ำเข้ามาในผิวจราจร ขอความร่วมมือให้จัดเก็บอุปกรณ์ทำการค้าและทำความสะอาดพื้นที่หลังเลิกทำการค้าในแต่ละวัน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่
เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ บริษัท สยามรีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จํากัด ผู้พัฒนาศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ มีพนักงาน 200 คน วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะรีไซเคิล ตั้งวางถังขยะแยกประเภท กำหนดจุดแยกขวดน้ำ จัดพื้นที่รับซื้อขยะรีไซเคิล 2.ขยะอินทรีย์ ตั้งวางถังแยกข้าวหมู บริเวณ Food Island ชั้น 3 และบริเวณ Food Market ชั้น B 3.ขยะอันตราย ร้านค้าจัดเก็บและนำไปทิ้ง 4.ขยะทั่วไป ประชาสัมพันธ์ให้พนักงานนำขยะมาทิ้งตามจุดที่กำหนด มีจุดรับทิ้งขยะ 2 จุด คือบริเวณชั้นโหลดดิ้ง และโรงพักขยะ สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ 5 ตัน/วัน วันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ 7 ตัน/วัน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 19 ตัน/เดือน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 100 กิโลกรัม/วัน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้คำแนะนำแก่ทางศูนย์การค้าฯ ในการคัดแยกขยะรีไซเคิลที่มีเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การจัดเก็บไปอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งปริมาณขยะที่คัดแยกจะมีผลต่ออัตราจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
ตรวจมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โครงการ Fashion Parking Building C บริษัท สยามรีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จํากัด ซึ่งเป็นการก่อสร้างอาคารความสูง 3 ชั้น และชั้นใต้ดิน 1 ชั้น จำนวน 1 อาคาร ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามวิธีและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตในการก่อสร้างตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2526) และแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (พ.ศ.2563) และมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กำชับผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันฝุ่น PM2.5 อย่างเคร่งครัด ฉีดล้างทำความสะอาดล้อรถบรรทุกก่อนออกจากโครงการ ตรวจวัดค่าควันดำรถบรรทุกตามรอบที่กำหนด นอกจากนี้เขตฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ตามมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศและมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ประเภทสถานประกอบการ/โรงงาน 3 แห่ง ประเภทแพลนท์ปูน 2 แห่ง ประเภทสถานที่ก่อสร้าง 3 แห่ง ประเภทตรวจวัดควันดำสถานที่ต้นทาง 2 แห่ง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 ควบคุมสถานประกอบการไม่ให้ปล่อยมลพิษในอากาศเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน
ในการนี้มี นางสาวกัลยา บุญแดง ผู้อำนวยการเขตคันนายาว พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตคันนายาว สำนักเทศกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล