In Global
บทวิเคราะห์ เหตุใดงานCIIE จึงได้ชื่อว่า เป็น'ประตูทอง'
“เปิดประตูต้อนรับแขกจากทั่วทุกมุมโลก” งานแสดงสินค้านำเข้านานาชาติแห่งประเทศจีนครั้งที่ 7 (China International Import Expo 2024 - CIIE 2024) กำลังจะจัดขึ้นตามกำหนดที่นครเซี่ยงไฮ้ ระหว่างวันที่ 5-10 พฤศจิกายนนี้ กลายเป็นไฮไลท์ที่ทุกสาขาอาชีพทั่วโลกจับจ้องอีกครั้งเช่นเดียวกับที่จัดมาแล้ว 6 ครั้ง
เนื่องจากได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการค้าโลกและความร่วมมือที่เปิดกว้าง งานแสดงสินค้านำเข้านานาชาติแห่งประเทศจีน จึงได้ชื่อว่าเป็น “ประตูทอง”
นับตั้งแต่จัดขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ. 2018 งานนี้ได้กลายเป็นความคิดริเริ่มที่สำคัญในประวัติศาสตร์การพัฒนาการค้าโลก ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นมาตรการสำคัญของจีนในการส่งเสริมโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจและสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีเท่านั้น แต่ยังได้เชื่อมโยงการพัฒนาของจีนกับผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างใกล้ชิดผ่านสี่แพลตฟอร์มหลัก ได้แก่ การจัดซื้อระหว่างประเทศ การส่งเสริมการลงทุน การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และความร่วมมือที่เปิดกว้าง
งาน CIIE ครั้งที่ 6 เมื่อปีที่แล้วมียอดขาย 78,410 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สร้างสถิติใหม่หลายประการ โดยมีบริษัทจากทั่วโลกกว่า 3,400 บริษัทเข้าร่วมงานแสดงสินค้า ซึ่งรวมถึงบริษัทชั้นนำในสาขาอุตสาหกรรมต่างๆ และบริษัทที่มีความเข้มแข็ง 500 อันดับแรกรวม 289 บริษัท ผ่านแพลตฟอร์ม CIIE ผลิตภัณฑ์ที่จัดแสดงกลายเป็นสินค้า ผู้ร่วมแสดงสินค้ากลายเป็นนักลงทุน และตลาดส่งออกก็ขยายไปสู่แหล่งการผลิตสินค้าและนวัตกรรม ซึ่งสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับนานาประเทศอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน งาน CIIE มิได้เป็นเพียงนิทรรศการสินค้านำเข้าอีกต่อไป แต่ยังเป็นเวทีใหญ่ระหว่างประเทศที่ส่งเสริมการพบกันระหว่างจีนกับตลาดโลก การบูรณาการอุตสาหกรรม การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ซึ่งกันและกัน ตลอดจนการเรียนรู้กฎเกณฑ์ซึ่งกันและกัน
เท่าที่ทราบมีกว่า 70 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศยืนยันเข้าร่วม “นิทรรศการในนามของประเทศ” ในงาน CIIE ครั้งที่ 7 ในจำนวนนี้ นอร์เวย์ สโลวาเกีย เบนิน บุรุนดี มาดากัสการ์ เป็นต้น รวมถึงกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติเข้าร่วม “นิทรรศการในนามประเทศ” เป็นครั้งแรก
ในฐานะส่วนประกอบสำคัญของงาน CIIE การประชุมฟอรั่มเศรษฐกิจหงเฉียวนานาชาติ ครั้งที่ 7 จะจัดฟอรั่มหลักและ 19 ฟอรั่มย่อยภายใต้หัวข้อ “ยืนหยัดการเปิดกว้างระดับสูง ร่วมกันส่งเสริมโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจที่เปิดกว้างและเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย”
ด้วยพื้นที่พิเศษใหม่ เวทีการแข่งขันใหม่ ผู้ร่วมจัดแสดงใหม่ และสินค้าจัดแสดงใหม่ งาน CIIE ปีนี้ยังคงมีความ “สดใหม่” โดยโซนนิทรรศการอุปกรณ์เทคโนโลยีจะจัดให้มีพื้นที่จัดแสดงวัสดุใหม่โดยเฉพาะเป็นครั้งแรก โซนนิทรรศการยานยนต์มุ่งเน้นไปที่ “อุตสาหกรรมแห่งอนาคต” เช่น การขับขี่แบบไร้มนุษย์ “เศรษฐกิจการบินระดับต่ำ” การจัดเก็บพลังงานใหม่ (รถยนต์) ฯลฯ โซนนิทรรศการบ่มเพาะการสร้างนวัตกรรมจะจัดแสดงโครงการสร้างธุรกิจของมหาวิทยาลัยต่างประเทศ
ในงาน CIIE ครั้งที่ 7 กลุ่มมิชลินจะเปิดตัว “ยางรถสำรวจดวงจันทร์ที่ไม่ใช้ลม” ซึ่งสามารถทนได้กับสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายที่สุดบนดวงจันทร์ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเอเชีย กลุ่มจีอี เอ็นเนอร์ยี่ (GE Energy) จะเปิดตัวเทคโนโลยีดักจับอากาศโดยตรงที่สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเอเชียเช่นกัน--“เทคโนโลยีแบล็คบ็อกซ์ (Blackbox Technology) แต่ละชิ้นและการจัดแสดงสินค้าใหม่ๆ เป็นสักขีพยานที่สะท้อนถึงความกระตือรือร้นอันเต็มเปี่ยมของบริษัทต่างประเทศที่มีต่องาน CIIE
เพื่อสนับสนุนประเทศด้อยพัฒนาที่สุด ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา งาน CIIE ได้อำนวยความสะดวกให้กับประเทศด้อยพัฒนาที่สุดในการเข้าร่วมงานผ่านการให้สิทธิพิเศษด้านต่างๆ เช่น การสร้างบูธ การขนส่งสินค้าที่นำมาจัดนิทรรศการ และการรับรองบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในปีนี้ โซนนิทรรศการอาหารและผลิตผลทางการเกษตรจะยังคงขยายและยกระดับพื้นที่จัดแสดงของทวีปแอฟริกาต่อไป เพื่อช่วยขยายการเปิดกว้างฝ่ายเดียวให้กับประเทศด้อยพัฒนาที่สุด
จากประเทศพัฒนาไปจนถึงประเทศกำลังพัฒนา จากบริษัทที่มีความเข้มแข็ง 500 อันดับแรกของโลกไปจนถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่ว่าประเทศใหญ่หรือประเทศเล็ก บริษัทใหญ่หรือบริษัทเล็ก ต่างก็สามารถโดยสาร “ขบวนรถด่วนแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจจีน” ผ่านงาน CIIE ได้ ซึ่งถือเป็นการสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจีนยึดมั่นพหุภาคีและส่งเสริมการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ
งาน CIIE แสดงให้เห็นถึงการเปิดกว้างและความจริงใจของจีนในความร่วมมือ ผ่านงาน CIIE ซึ่งถือเป็น “ประตูทอง” สำหรับทุกฝ่ายในการก้าวไปสู่ความร่วมมือและชัยชนะร่วมกัน เห็นได้ชัดว่าจีนหวังด้วยความจริงใจที่จะทำงานร่วมกับประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสริมโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจให้พัฒนาไปตามทิศทางที่เปิดกว้าง ครอบคลุม เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย สมดุล และได้ชัยชนะร่วมกัน และสร้างคุณูปการมากยิ่งขึ้นต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของโลก
เขียนโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)