Digitel Tech & Innovation
แอนท์อินเตอร์ฯร่วมกลุ่มพันธมิตรเปิดตัว 'สกอร์การ์ด'วัดผลกระทบสำหรับSME
กรุงเทพฯ , ประเทศไทย – 8 พฤศจิกายน 2567 – แอนท์ อินเตอร์เนชันแนล ผู้นำด้านการชำระเงินดิจิทัล และเทคโนโลยีการเงินระดับโลก ร่วมกับพันธมิตรชั้นนำพัฒนา สกอร์การ์ด (Scorecard) เพื่อสนับสนุนในการสร้างความยั่งยืนสำหรับกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดย่อย (SME) ภายใต้ชื่อ MSME Sustainability Impact Scorecard หรือ MSME S-Card ซึ่งเป็นดิจิทัลโซลูชั่นสำหรับ SME ในการติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมซึ่งสามารถตรวจสอบได้เพื่อให้กลุ่มธุรกิจเหล่านี้สามารถเดินหน้าสู่เป้าหมายในการสร้างความยั่งยืนตามมาตรฐานและข้อกำหนดได้อย่างชัดเจน
MSME S- Card นำประโยชน์จากความเชียวชาญและเครือข่ายพันธมิตรของ แอนท์ อินเตอร์เนชันแนล ในด้านนวัตกรรมดิจิทัลและแพลตฟอร์ม เข้ามาใช้เพื่อสะสมข้อมูลสำคัญทั้งในแง่ของขั้นตอนการปฎิบัติงาน และดิจิทัล วอลเล็ท เพื่อสร้างและรับรองผลงานด้าน ESG ให้แก่ธุรกิจ SME ซึ่งการผสานการวัดผลในด้าน ESG แบบดิจิทัล ธุรกิจ SME จะสามารถใช้ สกอร์การ์ด เป็นข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดำเนินการทางธุรกิจให้เข้าสู่มาตรฐานความยั่งยืน สร้างความน่าเชื่อถือด้าน ESG ให้แก่ธุรกิจของตนเอง เพื่อดึงดูดนักลงทุน และสานต่อเป้าหมายธุรกิจระยะยาวในการสร้างความยั่งยืนให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจในระดับสากล
Leiming Chen, Chief Sustainability Officer, Ant International กล่าวว่า หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักที่เราได้เปิดตัวโปรแกรม Sirius เมื่อต้นปีคือเพื่อช่วยแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมในแง่ของโอกาสในการมีส่วนร่วมสร้างความยั่งยืนที่ธุรกิจ SME กำลังเผชิญซึ่งทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจเนื่องจากทั่วโลกได้มีการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนแล้ว เราหวังว่า MSME S-Card ซึ่งเป็นโครงการแรกที่เกิดขึ้นภายใต้โปรเจ็ค Sirius จะช่วยสร้างข้อกำหนดใหม่ ๆ ในการทำงานร่วมกันระหว่าง SME และ สถาบันทางการเงินเพื่อสนับสนุนการสร้างความยั่งยืนให้แก่กลุ่ม SME เหล่านี้จะได้มีโอกาสในการสานต่อวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความยั่งยืนแห่ง อนาคต พร้อมได้ประโยชน์ทั้งจากการใช้ช่องทางการชำระเงินที่ให้ความสำคัญต่อความยั่งยืน, รายงาน ESG และการเงินสีเขียว”
เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แอนท์ อินเตอร์เนชันแนล ได้เปิดตัวโปรแกรม Sirius (Sustainability Innovation for Regenerative & Inclusive Purpose) โดยมีพันธมิตร อาทิ บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC) ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มธนาคารโลก, Gprnt อีกกลุ่มบริษั ทฟินเทคชั้นนำอีก 13 รายทั่วเอเชีย แปซิฟิก เข้าร่วมสนับสนุนเพื่อเสริมศักยภาพของ SME ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Goals)
เพื่อสนับสนุน SME ให้เริ่มต้นการเดินทางสู่ความยั่งยืน Gprnt ในฐานะพาร์ทเนอร์ด้านเทคโนโลยี จะร่วมมือกับ แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในการใช้แพลตฟอร์มที่เป็นดิจิทัลโซลูชั่นจัดทำรายงานสำหรับ SME เพื่อให้ SME สามารถเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนที่เป็นระบบตามเกณฑ์สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล พื้นฐาน ที่มีความโปร่งใส เพื่อสนับสนุนเป้าหมายในการมีส่วนร่วมสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของธุรกิจเหล่านี้
Lionel Wong, Executive Director, Gprnt กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะเดินหน้าสานต่อโปรเจ็ค Sirius ร่วมกับ แอนท์ อินเตอร์เนชันแนล เนื่องจากโปรเจ็คดังกล่าวมีความสำคัญต่อธุรกิจ SME อย่างยิ่งในการเริ่มต้นความมุ่งมั่นการสร้างความยั่งยืน ซึ่งโซลูชั่น MSME S-Card เปิดตัวในช่วงเวลาที่เหมาะเจาะกับเครื่องมือของเราที่เรียกว่า Disclosure and Marketplace tools ซึ่งออกแบบมาเพื่อเป็นตัวช่วยในการรายงานด้านความยั่งยืนสำหรับธุรกิจทุกขนาดให้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังสามารถเชื่อมธุรกิจเหล่านี้ให้เข้ากับระบบนิเวศของโซลูชัน เพื่อรองรับความต้องการด้านการเงิน และการลดคาร์บอนของธุรกิจ”
อุปสรรคของ SME ในการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความยั่งยืน
ธุรกิจ SME มีสัดส่วนเป็น 90% ของธุรกิจทั้งหมดในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ตามด้วยขนาดที่เล็ก ธุรกิจเหล่านี้จึงขาดความสามารถ และกลไกการรวบรวมข้อมูลสำหรับการรายงานที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน รวมถึง
- ขาดความรู้ : ธุรกิจ SME แตกต่างจากธุรกิจขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการรายงาน ESG, ทำให้ SME ขาดความรู้ความเข้าใจในถึงแนวปฏิบัติด้าน ESG โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรยังคงมีข้อจำกัด
- ทรัพยากรมีจำกัด: ธุรกิจ SME ต้องเผชิญกับอุปสรรคทั้งด้านทรัพยากร และการเงินที่มีจำกัด ส่งผลให้การนำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และการเลือกใช้ โซลูชั่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่นการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือการใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานนั้นใช้การลงทุนที่สูง นอกจากนี้ เนื่องจาก SME คือหนึ่งในห่วงโซ่ทางธุรกิจสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ ส่งผลให้ SME ต้องปฎิบัติตามความต้องการที่ซับซ้อน และข้อกำหนดด้านความยั่งยืนที่เข้มงวดของธุรกิจในการทำรายงาน
- ตัวเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมในแง่ของการเงินมีจำกัด: โซลูชั่นการเงินสีเขียวที่มีอยู่ในท้องตลาดปัจจุบันของธนาคารและสถาบันการเงิน มักออกแบบมาเพื่อบริษัทขนาดใหญ่ ทำให้ SME ไม่ได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอ เนื่องจาก SME ต้องการแหล่งเงินทุนที่สอดคล้องกับระยะเวลาการลงทุนที่สั้นกว่า ใช้เงินทุนที่น้อยกว่า และมีความท้าทายเฉพาะตัว หากไม่มีการสนับสนุนทางการเงินที่เหมาะสมเช่นนี้ SME จะประสบปัญหาในการหาทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน
การใช้ประโยชน์จาก ดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจ SME เพื่อทำรายงานและการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน
พันธมิตรของ แอนท์ อินเตอร์เนชันแนล ทั้งหมดในอีโคซิสเต็มส์ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุน SME ให้สามารถเข้าถึงข้อมูล และได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญ MSME S-Card จะช่วยเติมเต็มช่องว่างระหว่างสถาบันการเงิน และธุรกิจขนาดเล็ก พร้อมเปิดโอกาสให้สามารถสร้างรายงานความยั่งยืนได้อย่างโปร่งใส เช่นเดียวกับ GCash จากฟิลิปปินส์ ซึ่งจะเป็นผู้นำร่องโครงการดังกล่าวเพื่อสร้างมาตรฐานของการประเมินผลตามความต้องการเฉพาะของธุรกิจ SME ในแต่ละประเทศ
Winsley Bangit, VP for New Businesses, GCash กล่าวว่า “กลุ่มธุรกิจ SME ในฟิลิปปินส์คิดเป็นสัดส่วนถึง 99.5% ของธุรกิจโดยรวม อีกทั้งยังมีธุรกิจ SME อีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการ และยังขาดการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการสนับสนุนเพื่อโอกาสในการเติบโตอันเป็นการจำกัดศักยภาพในของธุรกิจทั้งในแง่ของความยืดหยุ่นและการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้เอง การร่วมมือกันกับ GCash และ แอนท์ อินเตอร์เนชันแนล จะช่วยให้ SME สามารถเข้าถึงทั้งเงินทุน และการสนับสนุนที่เป็นประโยชน์ ส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ GCash ที่ต้องการยกระดับชีวิตประจำวันของคนฟิลิปปินส์ เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มส์ที่ครบครันทั้งเงินทุน เทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญในแง่ของการสร้างความยั่งยืน”
GCash ในฐานะสมาชิกของโครงการ Sirius คือผู้นำที่ส่งเสริมการเข้าถึงทางการเงินอย่างเท่าเทียมสำหรับธุรกิจในฟิลิปปินส์ผ่านการนำเสนอบริการธุรกรรมทางการเงินบนมือถือ นอกจากนี้ GCash ยังมุ่งมั่นในการสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งส่งผลให้ GCash เป็นผู้นำฟินเทคที่ยั่งยืนระดับโลก ผ่านโครงการ GForest, GCash ที่รวบรวมและสนับสนุนให้ผู้ใช้กว่า 17 ล้านคน ปลูกต้นไม้มากกว่า 2.8 ล้านต้น ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนถึง 138,000 เมตริกตัน และยังช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรกว่า 8,600 คน
โครงการเริ่มต้นกับ GCash คาดว่าจะเริ่มดำเนินการภายในปีหน้า