Biz news
มอนเดลีซ(ไทย)คว้ารางวัลAMCHAM Corporate Social Impact Recognition
กรุงเทพฯ – 14 พฤศจิกายน 2567 - บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด โดย พิมพ์ชญา บุณยรัตพันธุ์ หัวหน้าฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์ เนชันแนล (ประเทศไทย) จํากัด เป็นตัวแทนรับรางวัล AMCHAM Corporate Social Impact Recognition ระดับแพลทินัม เป็นปีที่ 10 ติดต่อกัน มอบโดยนายโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย แสดงถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย ผ่านโครงการ ความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ และกลยุทธ์ที่สนับสนุนการปฏิบัติที่ยั่งยืนในทุกขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ
รางวัลระดับแพลทินัม จากหอการค้าอเมริกันแห่งประเทศไทย (AMCHAM) สะท้อนถึงพันธกิจของมอนเดลีซ ประเทศไทย ในการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา โดยหนึ่งในโครงการที่โดดเด่นคือ "โรงเรียนรักษ์โลก แยกขยะลุ้นโชคกับมอนเดลีซ” (Trash Right Program) ภายใต้ความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ที่มุ่งเน้นปลูกฝังจิตสำนึกในการจัดการขยะรีไซเคิลอย่างถูกวิธีแก่เยาวชน ผ่านการอบรมและการจัดกิจกรรม แยกขยะที่นำไปสู่การ รีไซเคิล (Recycle) และอัพไซเคิล (Upcycle) จนได้ผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนโดยตั้งแต่เริ่มโครงการในปี พ.ศ.2565 จนถึงปัจจุบัน มีโรงเรียนเข้าร่วมในโครงการ 14 โรงเรียน ปลูกฝังจิตสำนึกการแยกขยะให้แก่เยาวชนไทยกว่า 13,000 คน และได้รีไซเคิลขยะไปแล้วกว่า 8,253 กิโลกรัม เท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 34 ตัน
รางวัล AMCHAM Corporate Social Impact Recognition เป็นนรางวัลที่มอบให้กับองค์กรที่มีวิสัยทัศน์และการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างน้อย 3 ปีติดต่อกันสำหรับรางวัลระดับซิลเวอร์ 5 ปีติดต่อกันสำหรับรางวัลระดับโกลด์ และรางวัลระดับแพลทินัมสำหรับบริษัทที่ประสบความสำเร็จในโครงการมากกว่า 10 ปีติดต่อกัน รางวัลดังกล่าวจึงเป็นเครื่องยืนยัน ตอกย้ำถึงความเป็นผู้นำด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของมอนเดลีซ ประเทศไทย และความตั้งใจที่จะเป็นพันธมิตรที่ดีต่อการพัฒนาประเทศ ในอนาคต บริษัทมีแผนขยายการดำเนินงานโดยมุ่งเน้นที่นวัตกรรมทางสังคม ความยั่งยืน และการสนับสนุนชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายระดับโลกด้านความยั่งยืนของบริษัทในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ. 2568 รวมถึงเป้าหมาย Net Zero ภายในปี พ.ศ. 2593