Authority & Harm
ศูนย์สันติประชุมสภาสันติสุขตำบลบาเจาะ กรณีเหตุคนร้ายลอบยิงเจ้าหน้าที่ทหาร
ยะลา-ศูนย์สันติ ประชุมสภาสันติสุขตำบลบาเจาะ กรณีเหตุคนร้ายไม่ทราบจำนวน ใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิด และขนาดลอบยิงเจ้าหน้าที่ทหาร ในพื้นที่ จ.ยะลา
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 เวลา 14.00 น. พลตรี เฉลิมชัย สุทธินวล ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธี มอบหมายให้ พันเอก ปฐพี พุทธผล ผู้อำนวยการกองสันติวิธี ศูนย์สันติวิธี เข้าร่วมประชุมสภาสันติสุขตำบลบาเจาะ (วาระพิเศษ) ร่วมกับ กำนัน ,นายกอบต. บาเจาะ ,ผู้ใหญ่บ้าน ,ฉก.ทพ.33 ,ชสจ.ฉก.ยะลา ,ผบ.ร้อย.ทพ.4108 และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จากกรณีเหตุคนร้ายไม่ทราบจำนวน ใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิด และขนาดลอบยิง เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการจรยุทธ์ ขณะปฏิบัติภารกิจในการ ลาดตระเวน จรยุทธ์/ พิสูจน์ทราบ ตามแผนปฏิบัติการเชิงรุกของหน่วย ในพื้นที่ บ.อูแบ ม.1 ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ส่งผลให้มีกำลังพลได้รับบาดเจ็บ จำนวน 1 นาย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 ( ที่ผ่านมา ) เวลาประมาณ15.00 น. บริเวณ สวนยางพารา ด้านหลังโรงเรียนบ้านบาเจาะ ม.1 บ.อูแบ ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ผลจาก
การประชุมสรุปได้ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับบาดเจ็บ ขณะนี้อาการดีขึ้นปัจจุบันอยู่ระหว่างพักรักษาและดูแลจากแพทย์ในสถานพยาบาล
- ผลตรวจยืนยันจากปลอกกระสุนซึ่งเก็บได้จากที่เกิดเหตุ จำนวน 15 ปลอก เป็นปืนที่เคยใช้ก่อเหตุในพื้นที่ ส่วนรายละเอียดคดี จนท.ตร.จะนำเรียนเพิ่มเติมต่อไป
- มีการปล่อยข่าวเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงให้มีการหลงเชื่อในพื้นที่ว่า จนท.ยิงกันเอง
จากนั้นที่ประชุมได้มีการให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ อาทิ
- ให้ร้านค้าภายในหมู่บ้าน และบ้านที่อยู่ในพื้นที่จุดเสี่ยง ล่อแหลม ติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มเติม เพื่อช่วยในการสอดส่องดูแล และติดตามเส้นทางที่ ผู้ก่อเหตุรุนแรง ใช้ในการเคลื่อนย้ายทั้งก่อน และหลังก่อเหตุ
- เพิ่มแสงสว่าง ในพื้นที่สุ่มเสี่ยง ล่อแหลม เพื่อลดช่องทางการนำอาวุธเข้ามาก่อเหตุในพื้นที่
- เพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่และชาวบ้าน เพื่อแจ้งเตือนข่าวสาร และความผิดปกติในพื้นที่
- เจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง ร่วมกันตั้งจุดตรวจจุดสกัดในพื้นที่รับผิดชอบ และ ผรส.กับ ชรบ.ช่วยกันหมุนเวียนดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ เพื่อจำกัดเสรีของผู้ก่อเหตุรุนแรง
ในโอกาสนี้ ผอ.กสธ.ศสว. ได้นำการขับเคลื่อนธรรมนูญหมู่บ้าน 9 ดี (ฮุกุมปากัต) เข้าไปเสริมสร้างความเข้าใจ และนำไปประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติงานจริง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในชุมชน ตามบริบทและปัญหาที่พบในพื้นที่ โดยใช้หลักศาสนาที่ถูกต้อง และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการดำเนินการ แก้ไขปัญหาของพื้นที่ต่อไป
สิทธิเณศ เห้งทับ รายงาน