In Thailand
สทนช.ลงพื้นที่สมุทรปราการรับฟังปัญหา หาแนวทางแก้น้ำเค็มลุกคุ้งบางกะเจ้า
สมุทรปราการ-เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่สมุทรปราการ รับฟังปัญหา และหาแนวทางแก้ไขน้ำเค็มลุกพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า
เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 20 พ.ย.67 ที่ห้องประชุม องค์การบริหารส่วนตำบลบางกะเจ้า อำเภอพระปะแดง จังหวัดสมุทรปราการ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยคณะ ลงพื้นที่เพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า และรับฟังปัญหาของประชาชนในเรื่อง น้ำเค็มลุกพื้นที่ทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง และเตรียมหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรคุ้งบางกะเจ้า หรือที่รู้จักกันในนามกระเพาะหมู หรือปอดของชาวกรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วย 6 ตำบล และจะมีปัญหาน้ำเค็มลุกพื้นที่ในช่วงน้ำทะเลหนุน โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ช่วงเดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ทำให้ประชาชนที่อาศรัยอยู่ในพื้นที่ไม่สามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อันเนื่องมาจากน้ำทะเลลุกเข้าพื้นที่ และในปัจจุบัน ประตูน้ำที่ทำหน้าที่ปิดกั้นน้ำทะเลหนุนซึ่งถูกใช้งานมากว่า 30 ปี มีการชำรุดเสียหาย ทำให้การปิดกั้นน้ำทะเลหนุนไม่เป็นไปตามที่ต้องการ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการได้จัดสรรงบประมาณเพื่อซ่อมบำรุแล้วง แต่ยังไม่เพียงพอต่อความเสียหายของประตูน้ำที่มีจำนวนหลายจุ
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า ในการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนสำหรับการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้ง เดือนมีนาคมถึง พฤษภาคม 2568 ที่จะมาถึงในปีหน้านี้จะใช้วิธีการสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีค่าความเค็มต่ำ และสามารถใช้ในงานเพื่อการเกษตรได้ สูบน้ำเข้าพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เกษตรกรทั้งหลายทำการเกษตรได้ และรักษาพื้นที่ตรงจุดนี้ไว้ให้เป็นพื้นที่สีเขียวหรือว่าปอดของกรุงเทพมหานครต่อไป และในส่วนของการซ่อมประตูน้ำก็จะต้องบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ หาวิธีการแก้ไขต่อไป โดยในระยะยาวมองว่าจะต้องมีการตั้งสถานีสูบน้ำเป็นแบบถาวรตามจุดต่าง ๆ ในพื้นที่คุ้มบางกะเจ้า เพื่อให้เพียงพอต่อการสูบน้ำจืดมาไล่น้ำเค้มและให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้
เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวเพิ่มเติมต่ออีกว่า สำหรับในข้อเสนอเรื่องของการสูบน้ำบาดาลน้ำ ในส่วนตัวมองว่า จะส่งผลให้เกิดการทรุดของดิน และทำให้พื้นที่คุ้งบางกะเจ้าต่ำลงอีก จึงไม่ควรทำเพราะจะเป็นการแก้ปัญหาที่ไปสร้างปัญหาอีกเรื่อง จึงมองว่าวิธีการสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า และการปรับปรุง ซ่อมบำรุงประตูน้ำ จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมในเวลานี้
ข่าว-ภาพ กัลยกฤษย์ ธนาวัฒน์ชัยกุล สมุทรปราการ