In Thailand
ชัยภูมิจัดงาน'MODEL SMS 20R'ขยาย พันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสำปะหลัง
ชัยภูมิ-วันนี้บริษัท สยาม ควอลิตี้ สตาร์ช จำกัด ได้จัดงาน “MODEL SMS 20R” ขึ้นที่ศาลาเกษตรสัมพันธ์ บริษัท สยาม ควอลิตี้ สตาร์ช จำกัด ได้เชิญนายอนันต์ นาคนิยม ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิมาเป็นประธาน ในปี 2566 มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยผู้พัฒนาพันธุ์มัน สำปะหลังต้านทานโรคใบด่าง 3 สายพันธุ์ได้แก่ อิทธิ1 อิทธิ2 และ อิทธิ3 ได้สนับสนุนต้น กล้าพันธุ์ต้านทานทั้ง 3 สายพันธุ์ในรูปแบบ X20 ให้แก่หน่วยงานต่างๆ ซึ่ง SMS group บริษัท สยาม ควอลิตี้ สตาร์ช จำกัด เป็นที่แรกของจังหวัดชัยภูมิ ที่ได้รับการสนับสนุน ต้นกล้าพันธุ์ต้านทานจากมูลนิธิฯ จำนวน 133,000 ต้นกล้า และบริษัท ได้นำกล้าพันธุ์ ดังกล่าวส่งเสริมให้แก่เกษตรกรสมาชิกของบริษัทได้ปลูก โดยมีเป้าหมายที่จะขยายพันธุ์ ต้านทานโรคใบด่างมันสำปะหลังครอบคลุม 100 % ของพื้นที่ปลูกมันฯของจังหวัดชัยภูมิ ภายใน 5 ปีโดยวิธีการขยายนั้นเป็นไปตามรูปแบบของ Model SMS 20R คือ จากต้น พันธุ์ที่เกษตรกรปลูกได้จำนวน 2 ลำต่อต้น นำมาปลูกต่อโดยการตัดท่อนสั้นประมาณ 15 เซนติเมตร จะได้จำนวนท่อนในการปลูกขยายต่อกว่า 20 ท่อน และเกษตรกรปลูก ดูแลโดยใช้ระบบน้ำหยด ร่วมกับการบริหารจัดการแปลงที่ดี ก็จะช่วยให้มีอัตราการรอด สูง มีผลผลิตที่ดี และมีการวางแผนการใช้ต้นพันธุ์ เพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูกเป็นเครือข่าย ให้ได้จำนวนมากในฤดูการปลูกในรุ่นต่อๆไปอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ยังมี การสนับสนุนงบประมาณในการดูแลแปลงในชุดแรกที่ปลูกขยายด้วยต้นกล้า X20 5,000 บาท/ไร่ เพื่อช่วยในส่วนของการจัดการระบบน้ำหยด และค่าการจัดการดูแล แปลง และยังมีการรับซื้อต้นจากเกษตรกรในราคาต้นละ 2 บาท ส่วนเกษตรกรที่ปลูกใน รุ่นที่รับต้นจากเกษตรกรชุดแรกบริษัทได้สนับสนุนค่าการจัดการแปลงที่ปลูกด้วยระบบ น้ำหยดให้อีกไร่ละ 1,000 บาท เพื่อเป็นการรองรายได้ของเกษตรกรที่ร่วมโครงการ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พันธุ์ต้านทานใบด่างมันสำปะหลังที่ส่งเสริมให้ เกษตรกรปลูกในชุดแรกที่ปลูกโดยใช้ต้นกล้า X20 ให้ระบบน้ำหยด ให้ผลผลิตเฉลี่ย ค่อนข้างสูง และไม่พบการติดโรคใบด่างมันสำปะหลัง จึงเป็นแนวโน้มที่ดีที่จะสามารถ ขยายพื้นที่ได้โดยง่าย
ด้านนางสาวกังสดาล ชาตกุล เกษตรจังหวัดจังหวัดชัยภูมิ กล่าวว่า ในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ พื้นที่การปลูกมันสำปะหลังประมาณ 830,000 กว่าไร่ พบโรคใบด่างประมาณ 30,000 กว่าไร่ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ประมาณ 3.6 % โดยทางสำนักงานเกษตรจังหวัดสามารถป้องกันได้และมีหลายแนวทางในการป้องกันหลายรูปแบบด้วยกัน ฉะนั้นแล้วพี่น้องเกษตรกรไม่ต้องวิตกกังวลในเรื่องโรคใยด่างอีกต่อไป