Digitel Tech & Innovation

สกสว.สอวช.ร่วมธนาคารโลกเสริมแกร่ง ระบบววน.ไทยเติบโตปัง!ชี้แนวโน้มปี68 



กรุงเทพฯ-4 ธันวาคม 2567 ที่โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และธนาคารโลก ร่วมจัดงาน “ทิศทางวิจัย X นวัตกรรม 2568” และการแถลงแนวโน้มโลกและทิศทางการวิจัยและนวัตกรรมไทย 2568 และผลดัชนีระบบ ววน. Thailand SRI Index ดัชนีซึ่งแสดงถึงสถานะหรือสุขภาพของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทยในด้านการสร้างความรู้ การใช้ประโยชน์ และความเชื่อมโยงระหว่างการวิจัย การพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจากอย่างสูงจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย

Mr. Xavier Cirera, Senior Economist จาก ธนาคารโลก กล่าวว่า จากรายงานความเคลื่อนไหวแนวโน้มสถานการณ์โลกและนโยบายที่สำคัญตอนหนึ่งว่า ประชากรกว่า 6 พันล้านคนในปัจจุบันกำลังเผชิญกับ 3 ความท้าทายหลักได้แก่ 1. การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าลง 2. การลงทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพ และ 3. การแข่งขันที่สูงขึ้นมากในระดับสากลโลก การหลุดพ้นจาก "กับดักรายได้ปานกลาง" อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ต้องมีกระบวนการทางความคิดในรูปแบบใหม่ที่ต้องไม่มองการพัฒนาเชิงด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว สำหรับประเทศไทยนั้นในการประเมินประสิทธิภาพนโยบายด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) โฟกัสไปที่ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. การเพิ่มอิมแพ็คของนโยบายด้านนวัตกรรมในไทยเพื่อเป็นตัวเร่งให้ไทยก้าวเข้าสู่กลุ่มประเทศมีรายได้สูง 2. การใช้นโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด และ 3. การพัฒนานโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เพื่อจัดการกับปัญหาช่องว่างทางนวัตกรรมในไทย  

ในช่วงไฮไลต์ของการจัดงาน ได้มีการแถลงถึง "แนวโน้มโลกและทิศทางการวิจัยและนวัตกรรมไทย 2568" โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) กล่าวว่า ในปี 2567 นี้ เป็นปีที่ระบบ ววน. ของไทยมีความท้าทายอย่างมากในหลากหลายมิติ อย่างไรก็ตามมีนักวิจัยและนักวิชาการของประเทศไทยสามารถสร้างผลงาน มีงานตีพิมพ์ในนิตยสารสูงขึ้นกว่าปี 2566 และมีแนวโน้มที่ดีมากขึ้น แม้มองถึงการเทียบกับสัดส่วนในต่างประเทศก็นับว่าอยู่ในระดับที่ดี โดยเป็นเชิงปริมาณ 27,108 ชิ้นงาน ผลงานวิจัยเชิงคุณภาพ 6,660 เรื่อง และอยู่ใน Top 10 Journal ของโลกอีก 542 เรื่อง การที่ติด 1 ใน 10 Journal นี้ สามารถบอกได้ว่าเราเป็นจุดแข็ง เรามีเรื่องที่สามารถทำให้เกิดความมุ่งเน้นหลายวงการวิจัยไทย โดยเรื่องหลักคือ สุขภาพการแพทย์ เกษตร และอื่น ๆ นอกจากนี้ เรามีการวิจัยเรื่อง AI ที่ดี ถ้าดูต่อไปเราจะเห็นตัวอย่างความสำเร็จขององค์การวิจัยไทยที่ได้พัฒนาวิธีการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ AI ไปประกอบอัลตร้าซาวด์ สามารถสนับสนุนช่วยเหลือแพทย์ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้ เช่น การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงผลงานได้เป็นอย่างดี และยังมีตัวอย่างของงานวิจัยที่เกิดขึ้นอีกหลากหลาย รวมถึงเรื่องที่จะดูแลปัญหาของโลกร้อน

ศ.นพ.สิริฤกษ์ กล่าวเสริมว่า นักประดิษฐ์ไทยจากทุกสถาบันได้แสดงผลงานซึ่งนำไปประกวดในเวทีนานาชาติในปีที่ผ่านมา คว้ารางวัลได้มากถึง 385 รางวัล มีทั้งรางวัลในระดับหนึ่งรางวัลเหรียญทองและรางวัลต่าง ๆ ส่วนความร่วมมือและความขับเคลื่อนสำรวจดวงจันทร์ไทยจีน เราเชื่อว่าเราจะมีผลงานจากประเทศไทยจากการไปสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ ในระดับนานาชาติก็มีคริสตัลร่วมกับนาซ่า เป็นต้น

 

นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่ผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจ มีการลงทุนเพิ่มเติมในเทคโนโลยีระยะแรก 11,500 ล้านบาท ตั้งโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ อีกทั้งยังมีความร่วมมือระหว่างไทย-จีน และการสำรวจพื้นผิวโลกด้วยดาวเทียม THEOS ที่ขึ้นแล้ว ซึ่งปีนี้ได้เริ่มส่งภาพที่เป็นประโยชน์ในกิจการต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการภัยพิบัติน้ำท่วม โดย Gistda ทำให้สามารถคาดการณ์สถานการณ์ เตรียมการป้องกันของภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้และภาคเหนือของประเทศ การบรรเทาสาธารณภัย อาหารสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติ เรื่องเหล่านี้เป็นผลงานทางด้าน ววน. ของประเทศ ที่เราต้องภูมิใจขอชื่นชมและขอบคุณนักวิจัยและนวัตกรรมไทยนักวิทยาศาสตร์ไทยภาควิทย์เอกชนและวิชาการที่ร่วมกันขับเคลื่อน วนน. ของประเทศ ตลอดปี 2567

ด้านความร่วมมือระหว่างธนาคารโลกจะนำไปสู่การตรวจสุขภาพโดยละเอียดของ ววน. ของประเทศ ติดตามให้เห็นสถานะที่แท้จริงว่ามีประเด็นใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา เราจะได้รู้ว่าตอนนี้เราอยู่ที่ไหน จุดที่ว่านี้มีจุดแข็งอย่างไร มีจุดอ่อนอย่างไร มีประเด็นที่จะเกิดการพัฒนาอย่างไรเป็นการนำเอาข้อมูลที่มีอยู่ มาวัดผลข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ได้ และติดตามข้อมูลที่มีความแม่นยำ ทันการณ์ ได้มีโอกาสหารือกับธนาคารโลกว่า เราจะร่วมมือกันอย่างไร กับทั้งนักวิชาการและระดับผู้บริหารของธนาคารโลก ประเทศไทยสามารถสร้างมูลค่าจาก ววน.ได้สูง มีการใช้งานเพิ่มขึ้นในภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง

สำหรับคะแนนจากผลการสแกนรอบแรก SRI Index 2024 ของประเทศไทย คือ อยู่ที่ 7.81 จาก 10 โดยมีการลงทุนด้าน ววน. อยู่ที่ 8.47 ผลผลิตทางด้านปัญญาอยู่ที่ 8.55 ส่วนการใช้งานด้านผลงานอยู่ที่ 8.14 ความร่วมมือและความเชื่อมโยงอยู่ที่ 6.68 ซึ่งต้องมีการปรับปรุงว่าทำอย่างไรที่ทำให้การเชื่อมระหว่างความต้องการและความใช้ประโยชน์นำมาใช้ด้วยกัน และผลกระทบจากนวัตกรรม 7.25 อย่างใดก็ตามมีความตั้งใจว่าจะมอนิเตอร์ทุกๆ เดือน และมีการแถลงแบบนี้ ต่อไปในทุก ๆ ปี

สำหรับภาพในอนาคตนั้น ในปี 2568 ยังเห็นถึง 10 เทคโนโลยีที่จะต้องจับตามอง คือ


AI - Artificial Intelligence
CE - Clean & Renewable Energy
D4 - Digitalization 4.0
RB - Industrial & Service Robotics
OT - Quantum Computing
CC - Climate Change & Extreme Weather Technology
HT - Advanced Health Technology
SE - Space Economy
EV - Electrified Transportation
NT-  Neuro-Technology
ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ กล่าวทิ้งท้าย

ด้าน ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า  สกสว. มุ่งเน้นการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักธุรกิจ ภาครัฐ ภาคประชาสังคม หรือประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์ SRI for ALL ด้วยการสานพลังอย่างไร้รอยต่อกลยุทธ์ “SILK” Sคือ SYNERGY & BOUNDARYLESS สานพลังเครือข่ายและพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ I คือ INTELLIGENT SRI SYSTEM ยกระดับ ววน. ให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส L คือ LEAPTECHNOLOGY INVESTMENT มุ่งเน้นการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายประเทศ และ K คือ KNOWLEDGEGOVERNANCE - SRI FOR ALL สร้างระบบ/แพลตฟอร์ม เพื่อนำความรู้ของระบบ ววน. ไปใช้ประโยชน์กับทุก ๆ คนอย่างทั่วถึง

ในตอนท้ายสำหรับการเสวนาในหัวข้อ "สานพลังตอบโจทย์การกำหนดทิศทางและเป้าหมายการลงทุนด้าน ววน." ได้รับเกียรติจาก ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการ สอวช. ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการสกสว. Ms. Melinda Good, Country Director จากธนาคารโลก ดร.วิบูลย์ รักสาสน์เจริญผล รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และนายศุภชัย สัจไพบูลย์กิจ กรรมการเลขานุการ คณะกรรมการส่งเสริมนวัตกรรมและวิจัยหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เข้าร่วมพูดคุยเสวนาบนเวทีในครั้งนี้