EDU Research & ESG
ผอ.สพฐ.สงขลาเขต2เปิดเชิงปฏิบัติการ ช่วยเหลือและส่งต่อเด็กกลุ่มเสี่ยง
สงขลา-ที่ โรงแรมเซาท์เทอร์น แอร์พอร์ต อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลานางกอบขวัญ แดงบำรุง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 2 เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนากระบวนการค้นหา ช่วยเหลือ และส่งต่อเด็กกลุ่มเสี่ยงหรือเด็กออกกลางคันโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายคณะวิทยากร นายกสมาคมอาสาสร้างสุข ผู้บริหารและบุคลากรสถานศึกษาทุกคน
โดยกระหนักถึงเด็กและเยาวชนเป็นอนาคตของชาติ การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ เท่าเทียม และทั่วถึง เป็นการลงทุนที่สำคัญมากที่สร้างหลักประกันที่มั่นคงแก่ลูกหลานของชาติซึ่งกระทรวงศึกษาธิการภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อนโยบายด้านความเสมอภาคทางการศึกษา ได้ทำงานร่วมกับหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. จนนำมาสู่การลงนามความร่วมมือภายใต้โครงการ Thailand Zero Dropout ที่มุ่งมั่นให้เด็กทุกคนไม่หลุดจากระบบการศึกษา และล่าสุด ภายใต้การบริหารของรัฐบาลปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ยังได้ตั้ง ‘คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ ระดับชาติ’ อีกด้วย
ซึ่งมีเด็กและเยาวชนไม่อยู่ในระบบฐานข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการ กว่า 1 ล้านคนทั่วประเทศ เฉพาะจังหวัดสงขลามีจำนวน 23,681 คน ซึ่งมีทั้งเด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคัน
ลำพังสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับได้ทำงานกันเต็มสุดความสามารถตามระเบียบปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้แล้ว แต่ด้วยสถานการณ์และบริบทของปัญหาที่เปลี่ยนไปทำให้มาตรการค้นหา เฝ้าระวัง และช่วยเหลือเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษาไม่สามารถทำได้โดยราบรื่นนัก
อย่างไรก็ตาม จากนโยบายระดับประเทศที่เห็นความสำคัญต่ออนาคตของชาติ และเอื้อต่อการช่วยเหลือนักเรียน อีกทั้ง ต้นทุนของจังหวัดสงขลาที่มีกลไกและหน่วยงานที่พร้อมรับเข้าโอบอุ้มรับช่วงให้ความช่วยเหลือเด็กให้เข้าถึงหรือคงอยู่ในระบบการศึกษา
จึงเป็นโอกาสดีที่พวกเราจะได้มาร่วมกันทบทวนขั้นตอนปฏิบัติหรือแนวทางในการค้นหา เฝ้าระวัง และช่วยเหลือเด็กที่มีความเสี่ยงออกกลางคัน หรือไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้ ให้ได้รับการศึกษาที่เหมาะสม
ภายหลังจากที่เราได้ทบทวนและออกแบบแนวทางการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันเด็กหลุดจากระบบการศึกษาร่วมกันในวันนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 โดยความร่วมมือจากทุกโรงเรียนนำร่องนี้ จะได้ทำงานกับสมาคมอาสาสร้างสุข กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และทุกกลไกในพื้นที่เพื่อสร้างระบบใหม่ในการช่วยเหลือเด็กนักเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงต่อไป
ต้องขอขอบคุณโครงการ Songkhla Zero Dropout โดยสมาคมอาสาสร้างสุข ที่เข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือออกแบบแนวทางด้วยกระบวนการ ลงพื้นที่ออกกวาดเด็กและเยาวชนให้เข้าสู่ระบบการศึกษาภาคบังคับขั้นพื้นฐานเพื่อคนสงขลาต้องได้เรียนทุกคนอย่างเสมอภาคมีความสุข สนองนโยบายรัฐ พัฒนาการศึกษาเด็กสงขลาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพัฒนาชาติ