Think In Truth

สันติบารมีที่ตั้งมั่นในสมาธิที่ไม่เอนเอียง ตามกิเลส  โดย: ฟอนต์ สีดำ



พระคาถาชัยมงคลคาถา บทที่ห้ามีว่า “กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ ” เป็นเรื่องยุทธวิธีในการเอาชนะการกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา ผู้ทำอาการประดุจว่ามีครรภ์ เพราะทำไม้สัณฐานกลม (ผูกติดไว้) ให้เป็นประดุจมีท้อง ด้วยวิธีสมาธิอันงาม

เรื่องราวของนางจิญจมาณวิกา หรือโดยย่อว่า จิญจา เป็นสตรีที่เชื่อว่ามีชีวิตอยู่ในพุทธกาล โดยในพระไตรปิฎกกล่าวว่านางได้ให้ร้ายพระพุทธโคดม ต่อหน้าคนจำนวนมากว่า ทำให้นางตั้งครรภ์ ด้วยความที่นางมีความฉลาดในมารยาของหญิง นับถือศรัทธาลัทธิเดียรถีย์ มีเจตนาเพื่อทำลายพระพุทธเจ้าจึงเดินเข้าออกวัดเชตวันอยู่เสมอ ทำทีเหมือนอยู่ในพระเชตวัน แต่แท้จริงแล้วนางอยู่ในวัดเดียรถีย์ใกล้เคียง โดยกาลล่วงไป 8–9 เดือน ผูกไม้กลมไว้ที่ท้องห่มผ้าทับข้างบน ให้ทุบหลังมือและเท้าด้วยไม้คางโค แสดงอาการบวมขึ้น มีอินทรีย์บอบช้ายอมตนกล่าวตู่พระพุทธเจ้าในท่ามกลางหมู่ชน ภายหลังนางจึงถูกแผ่นดินสูบ

แรงจูงใจ: นางจิญจมาณวิกาไม่ได้กระทำการกล่าวหาด้วยเจตนาส่วนตัว แต่เป็นเพราะได้รับการว่าจ้างจากกลุ่มปริพพาชก หรือผู้ติดตามลัทธินอกศาสนา ที่อิจฉาความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา พวกเขาต้องการทำลายพระพุทธเจ้าและศาสนาให้เสื่อมเสีย

แผนการ: นางจิญจมาณวิกาจึงได้วางแผนโดยการแกล้งตั้งครรภ์ โดยใช้ไม้กลมมาผูกที่ท้อง แล้วไปกล่าวหาพระพุทธเจ้าต่อหน้าสาธารณชน

ผลลัพธ์: แม้ว่านางจะพยายามสร้างเรื่องเท็จ แต่ด้วยพุทธานุภาพและสติปัญญาของพระพุทธเจ้า ทำให้นางถูกเปิดโปงความเท็จ และในที่สุดนางก็ได้รับผลกรรมตามที่กระทำ

บทเรียน: เรื่องราวของนางจิญจมาณวิกาสอนให้เราเห็นถึงความสำคัญของการไม่หลงเชื่อคำพูดที่ไม่มีหลักฐาน และการกระทำที่เกิดจากความอิจฉาและความริษยา ย่อมนำมาซึ่งผลเสียต่อตนเองในที่สุด

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้วิธีการตามบทสวดที่ว่า “กายะมัชเฌ สันเตนะ” คือมีสมาธิมั่นคงอยู่ท่ามกลางกิเลส ไม่ว่าโมหะจริตที่ถูกกล่าวหา และกามราคะที่ถูกยั่วยวนกิเลสจากอิสตรีผู้เลอโฉม พร้อมทั้งไม่ขัดแย้งต่อการกล่าวหาของนาง ปฏิบัติตนท่านกลางคนหมู่มากให้ยังคงศรัทธาของมหาชน และใช้หลักแห่งสันติเพื่อการแก้ปัญหาในการเอาชนะมารวิกา อย่างนางกิญจายะ ที่ถูกว่าจ้างจากลัทธิเดียรถีย์

การฝึกตนให้เอาชนะมารวิกา พึงมียุทธวิธี

รู้ทันอุบายของมาร: มารมักจะหลอกล่อด้วยอารมณ์ต่างๆ เช่น โลภะ โกรธ หลง เราต้องรู้ทันอุบายเหล่านี้ และฝึกสติให้เกิดขึ้น เพื่อสังเกตเห็นความคิดและอารมณ์ที่เกิดขึ้น
พิจารณาธรรมชาติของสิ่งต่างๆ: เมื่อรู้ทันอุบายของมารแล้ว ก็ให้พิจารณาธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราลดความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ได้
ศึกษาพระธรรมคำสอน: การศึกษาพระธรรมคำสอนอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติของความทุกข์ และวิธีการดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง

การฝึกตนให้อยู่เหนือมารวิกา
1. สมาธิ (สมาธิ):

ฝึกจิตให้สงบ: การฝึกสมาธิจะช่วยให้จิตใจสงบและมีสมาธิจดจ่ออยู่กับปัจจุบันขณะ ทำให้เราสามารถควบคุมความคิดและอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น

พัฒนาสติปัฏฐาน 4: การฝึกสติปัฏฐาน 4 คือ การรู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม จะช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติของตนเองได้อย่างลึกซึ้ง
2. ศีล (ศีล):

รักษาศีล 5: การรักษาศีล 5 คือ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดปด และไม่ดื่มสุราเมรัย จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นอกุศล และส่งผลให้จิตใจบริสุทธิ์
3. เมตตา (เมตตา):

แผ่เมตตาให้แก่ตนเองและผู้อื่น: การแผ่เมตตาจะช่วยให้จิตใจสงบ เย็น และเป็นสุข ทำให้เราสามารถเอาชนะความโกรธและความเกลียดชังได้

ให้อภัย: การให้อภัยแก่ผู้อื่น จะช่วยให้เราปลดปล่อยตัวเองจากความทุกข์ใจที่เกิดจากการโกรธแค้น

มารวิกา ไม่ได้หมายถึงมารที่มาจากผู้หญิงที่มาเย้ายวนให้ลุ่มหลงในกิเลส แต่หมายถึงการสร้างสถานการณ์ต่างๆ ให้ลุ่มหลงในกิเลส ดั่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ .เบียร์ คนตื่นธรรม ที่ถูกสร้างสถานการณ์ให้เกิดความลุ่มหลงในกิเลส ที่ก่ออารมณ์ ความรู้สึก โทสะ โมหะ ถึงแม้นจะไม่มีโลภะ แต่ก็เกิดกิเลสเป็นมารวิกา ที่ทำให้ยังคงเอาชนะมารวิกา นี้ไม่ได้ ดังนั้น .เบียร์ คนตื่นธรรม ต้องมีสมาธิที่ทำให้เกิด “กายะมัชเฌ” ให้ได้ คือ กายะ หมายถึงกาย มัชเฌ หมาถึงอยู่ตรงกลาง หรือตั้งตรง คือจะไม่ปล่อยจิตให้เอนเอียงไปตามกิเลส และแสดงออกต่อสาธารณะชนให้เชื่อในเรื่องของการขจัดกิเลสนั้นอย่างหมดจด และจึงดำเนินการ “สันเตนะ” คือสร้างสันติบนพื้นฐานแห่งพรหมวิหาร เพื่อจัดการกล่าวหาด้วยศรทัธา

อันนินทา กาเล เหมือนเทน้ำ                             ไม่ชอกช้ำ เหมือนเอามีด มากรีดหิน
แต่องค์พระ ปฏิมา ยังราคิน                              คนเดินดิน หรือจะสิ้น คนนินทา

เป็นคำกลอน สอนใจ ให้ครวญคิด                    ระวังจิต ระวังใจ ไม่ถือสา
อย่าโกรธเคือง เรื่องร้าย ใส่อุรา                         ใครจะว่า ช่างใคร ไม่โกรธกัน
เพียงลมปาก อยากว่า อย่าไปคิด                      โกรธเคืองจิต หมองมัว ตัวโศกศัลย์
มองแต่ดี มีแต่ได้ อภัยกัน                                 อย่าไปหวั่น ไหวใจ ให้คนพาล...