In Bangkok

กทม.ส่งเสริมนักเรียนในสังกัดให้รู้เท่าทัน มีภูมิคุ้มกันจากบุหรี่ไฟฟ้า-สารเสพติด



กรุงเทพฯ-นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู ้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการแทนผู ้อำนวยการ สำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมกำหนดมาตรการและแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังและ ติดตามดูแลเด็กนักเรียนในโรงเรียนสังกัด กทม. ตามร่างกฎกระทรวงกำหนดการประพฤติของนักเรียนและ นักศึกษา (ฉบับที่..) พ.ศ.... ว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กนักเรียนเข้าไปข้องเกี่ยวกับบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ไฟฟ้า วัตถุ ออกฤทธิ ์อื ่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ ์ต่อจิตประสาท รวมถึงสิ ่งเสพติดทุกประเภท สนอ. จะได้บรรจุ ประเด็นดังกล่าวเข้าสู ่การประชุมคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบกรุงเทพมหานคร รวมถึงหารือร่วมกับ คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเตรียมการกำหนดแนวทางปฏิบัติในพื้นที่กรุงเทพฯ

ทั้งนี ้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีความห่วงใยเด็กและเยาวชนในเรื ่องบุหรี ่และบุหรี ่ไฟฟ้า อย่างมาก โดย กทม. มีประกาศเรื ่องมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด กัญชา กระท่อม บุหรี่ บุหรี ่ไฟฟ้า เครื ่องดื ่มแอลกอฮอล์ และอบายมุขของโรงเรียนในสังกัด กทม. โดยเน้นให้โรงเรียนเป็นพื ้นที ่ปลอดภัย ปลอดยาเสพติด และอบายมุขอย่างเข้มงวด บูรณาการสอดแทรกความรู ้ในการจัดการเรียนการสอนเกี ่ยวกับโทษ พิษภัยและอันตรายของยาและสารเสพติด ให้นักเรียนมีส่วนร่วมและตระหนักรู้เท่าทันสถานการณ์ปัญหาและ มีภูมิคุ้มกันตนเอง

อีกทั้งประสานศูนย์บริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลในพื้นที่เพื่อช่วยดูแลนักเรียนที่เกี่ยวข้อง กับยาและสารเสพติด สร้างความร่วมมือกับสำนักงานเขตและหน่วยงานในพื ้นที ่ ร่วมกันตรวจตรากำกับดูแล พื ้นที ่โดยรอบสถานศึกษาและบริเวณชุมชนให้มีความปลอดภัยต่อการดำเนินชีวิตของนักเรียน รวมถึงบูรณาการ ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กทม. กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานคณะกรรมการคุ ้มครองผู ้บริโภค และภาคีเครือข่าย เพื ่อดำเนินการควบคุมบุหรี ่ไฟฟ้า กัญชา และ กระท่อมในพื้นที่นำร่อง เช่น เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง

นางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ ผู ้อำนวยการสำนักการศึกษา (สนศ) กทม. กล่าวว่า สนศ. ตระหนักถึง ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียนสังกัด กทม. ทั ้ง 437 แห่ง โดยเฉพาะยาเสพติด ชนิดใหม่ เช่น Happy Water ซึ ่งอาจส่งผลกระทบต่อเยาวชนและประชาชนอย่างรุนแรง จึงได้ดำเนินการอย่าง จริงจังและต่อเนื ่องทั ้งในโรงเรียนและชุมชน โดยมุ ่งเน้นการเสริมสร้างความรู ้ความเข้าใจ และการป้องกันผ่าน การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยกำหนดมาตรการเชิงรุกในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้แก่นักเรียนเกี่ยวกับ โทษและพิษภัยของบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และสารเสพติด ด้วยการบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับยาเสพติดชนิดใหม่ เช่น Happy Water ลงในหลักสูตรสุขศึกษา สังคมศึกษา และกิจกรรมเสริม พร้อมทั ้งสอดแทรกเนื ้อหาเฉพาะเกี่ยวกับกลวิธี การชักจูงของผู ้ค้ายาเสพติด และผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตครอบครัว สนับสนุนการดำเนินการชมรม TO BE NUMBER ONE ในโรงเรียนเพื ่อเสริมสร้างภูมิคุ ้มกันในกลุ ่มเยาวชน จัดกิจกรรมจิตอาสา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ สร้างความรู ้ความเข้าใจแก่ครูและนักเรียนเพื ่อสามารถเป็นผู ้นำและทำหน้าที ่ให้คำแนะนำเกี ่ยวกับการเฝ้าระวัง พฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนในโรงเรียน

ดำเนินกิจกรรมรณรงค์ เช่น การประกวดโปสเตอร์ ละครสั้นเรื่องพิษภัย ยาเสพติด การวาดภาพระบายสี กิจกรรมประกวดแต่งกลอน จัดการบรรยายโดยวิทยากรผู ้เชี่ยวชาญจากตำรวจ ในพื ้นที ่ (ครู D.A.R.E) รวมถึงจัดประชุมผู ้ปกครองเพื ่อให้ข้อมูลเกี ่ยวกับยาเสพติดชนิดใหม่ และแนวทางสังเกต พฤติกรรมบุตรหลานที่อาจเสี่ยงต่อการเกี่ยวข้องกับยาเสพติด