In Bangkok

กทม.สั่งเข้มตรวจสอบไซต์งานก่อสร้าง พื้นที่เสี่ยงต้นเหตุฝุ่น PM2.5



กรุงเทพฯ-นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู ้อำนวยการสำนักสิ ่งแวดล้อม (สสล.) กทม. กล่าวถึงการเพิ ่ม ความเข้มงวดมาตรการควบคุมและป้องกันการปล่อย PM2.5 จากไซต์งานก่อสร้างในพื ้นที ่กรุงเทพฯ ว่า กทม. ได้ บูรณาการความร่วมมือหน่วยงานที ่เกี ่ยวข้องเพิ ่มความเข้มงวดมาตรการควบคุมและป้องกันการปล่อยฝุ ่น PM2.5 จากแหล่งกำเนิดหลักในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้แก่ การตรวจวัดควันดำจากยานพาหนะร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจร กรมการขนส่งทางบก กรมควบคุมมลพิษ และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) พบว่า ในปี 2567 ได้ ดำเนินการตรวจสอบทั ้งสิ ้นประมาณ 111,000 คัน เกินเกณฑ์มาตรฐานและออกคำสั่งให้ปรับปรุงแก้ไข 711 คัน

การส่งเสริมการบำรุงรักษารถยนต์ลดการปล่อยมลพิษภายใต้โครงการรถคันนี ้ลดฝุ่น ซึ ่งได้รับความร่วมมือจาก ภาคเอกชนและประชาชนร่วมโครงการตั้งแต่เดือน ต.ค. 67 - ม.ค. 68 จำนวนกว่า 170,000 คัน การควบคุม การปล่อยมลพิษจากสถานประกอบการ/โรงงานอุตสาหกรรม พบว่า ในปี 2567 กทม. ดำเนินการตรวจสอบ กว่า 340 แห่ง โดยตรวจสอบกว่า 3,000 ครั้ง ออกคำสั่งให้ปรับปรุงแก้ไข 25 แห่ง รวมทั้งไซต์งานก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างที ่อยู ่ในความดูแลของ กทม. ได้กำกับดูแลผู ้รับเหมาก่อสร้างในแต่ละ โครงการที ่อยู ่ภายใต้สัญญาให้ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เช่น มีผ้าใบปกคลุมตัวอาคาร มีรั ้วทึบไม่น้อยกว่า 2 เมตร มีการพรมน้ำควบคุมฝุ ่น มีการฉีดล้างทำความสะอาด ตัวรถล้อรถก่อนออกจากโครงการ เป็นต้น

จากสถิติมีโครงการได้รับเห็นชอบแล้ว 761 โครงการ จากโครงการ เข้ารับการพิจารณา 1,058 โครงการ และในปี 2567 กทม. ดำเนินการตรวจสอบสถานที ่ก่อสร้าง 592 แห่ง โดยตรวจสอบกว่า 5,500 ครั้ง ออกคำสั่งให้ปรับปรุงแก้ไขตามมาตรการ EIA จำนวน 34 แห่ง เพื่อป้องกันและ ลดการฟุ้งกระจายของฝุ่น PM2.5 ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ตลอดจนบังคับใช้กฎหมายกับผู้ประกอบการ ที ่ฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือมาตรการดังกล่าวตามอำนาจหน้าที ่ของ กทม. อย่างเคร่งครัด ขณะเดียวกัน กทม. มีมาตรการเชิงรุกจัดเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยง เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันเหตุลักลอบ เผาในที ่โล่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดไฟไหม้ลุกลามในวงกว้างและเป็นต้นเหตุของฝุ ่น PM2.5 จากการเผาไหม้ รวมถึง มาตรการป้องกันเหตุไฟไหม้หญ้าและกองขยะในพื ้นที่รกร้างว่างเปล่าในกรุงเทพฯ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ช่วยลดมลพิษทางอากาศและฝุ่น PM2.5 ส่วนการควบคุมการเผาภาคการเกษตร กทม. ได้ให้บริการยืมรถอัดฟางสำหรับกลุ่มเกษตรกร ทำนาและประสานความร่วมมือสำนักงานเขตที่มีพื้นที่ทำการเกษตรเพิ ่มความเข้มงวดตรวจสอบพื้นที่รณรงค์ เน้นย้ำสร้างความเข้าใจและความร่วมมือของประชาชนงดเผาเศษวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่เพาะปลูก งดการเผา ในที ่โล่ง เพื่อป้องกันปัญหาฝุ ่น PM2.5 อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรณรงค์สร้างความตระหนักรู ้และการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดการทำกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดฝุ่นละอองในอากาศ นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่าวว่า สนย. ได้กำหนดให้ ผู ้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื ่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของผู้อื ่น ในระหว่างการก่อสร้าง เช่น การฉีดพ่นละอองน้ำบนอาคารและบริเวณรอบสถานที ่ก่อสร้างอย่างสม่ำเสมอ เพื ่อลดปัญหาฝุ ่น PM2.5 ในอากาศ ห้ามไม่ให้ดำเนินการใด ๆ ที ่ก่อให้เกิดควันดำ หรือฝุ ่น PM2.5 ในอากาศ จนเกินค่ามาตรฐานตามกฎหมายกำหนด

พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งสำนักงานเขตพื ้นที ่ดำเนินการตรวจสอบและ บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด พร้อมประสานขอความร่วมมือให้เจ้าของโครงการก่อสร้างอาคารสูง อาคาร ขนาดใหญ่พิเศษ และอาคารขนาดใหญ่ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ติดตั้งเครื่องวัดค่าฝุ่น PM 2.5 ภายในโครงการอย่างน้อย 1 จุด เพื่อตรวจวัดว่าปริมาณฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับใด เกินกว่าค่ามาตรฐานกรมควบคุมมลพิษและมาตรฐานองค์การอนามัยโลกหรือไม่ หากพบค่าตรวจวัดเกินจากค่ามาตรฐานกำหนด โครงการฯ จะต้องปรับเปลี ่ยน วิธีการทำงาน ลดงาน หรือกิจกรรมดังกล่าวลง หรือจัดหาวิธีการ มาตรการป้องกันและควบคุมเพิ ่มเติม เพื ่อเพิ ่มประสิทธิภาพการป้องกันและควบคุมมลพิษ รวมทั ้งเคร่งครัดการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม อาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบความเดือดร้อนจากการก่อสร้างอาคาร