In Thailand

ทส.จันทบุรีถกเครือข่ายอาสาสมัครทสม. เร่งแก้ปัญหาปลาหมอคางดำระบาด




จันทบุรี-วันที่ 15 มกราคม 2568เวลา 9.30 น.  ณ.  สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดจันทบุรี  อำเภอเมืองจันทบุรี   จังหวัดจันทบุรี นางสายธมน  สัตยธรรม  ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อมสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดจันทบุรี(ทส.จันทบุรี)เป็นประธานในที่ประชุม กรรมการเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน(ทสม.) จังหวัดจันทบุรี  โดยมีนายอำนาจ  ชูสนุก    ประธานคณะกรรมการเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน(ทสม.) จังหวัดจันทบุรี  และคณะกรรมการเครือข่ายพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน(ทสม.) จังหวัดจันทบุรี  เข้าร่วมประชุม ตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาเครือข่าย( ทสม. ) เชิงพื้นที่จังหวัดจันทบุรี  แผนปฏิบัติงานเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน(ทสม.) จังหวัดจันทบุรี  ประจำปีงบประมาณ 2568 การรายงานเข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมและวัน ทสม. ชาติประจำปี 2568  การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายในการเข้าถึงแหล่งทุนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพพูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม  เรื่องพิจารณาการจัดกิจกรรมงานบุญประเพณีปรงคืนถิ่นประจำปี 2568

นางสาวอินทิรา  มานะกุล  รองประธานกรรมการเครือข่าย และเลขานุการ  ทสม.จันทบุรี  ได้นำเรียนที่ประชุม อนุรักษ์  ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมของชาวจันท์  เพิ่มพูนเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  เครือข่าย  ทสม.จันทบุรี  มีบทบาทและเป็นกลไกเชิงพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมด้านอนุรักษ์  ด้านการแปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่น  อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน  มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นที่เป็นผู้ประสานความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชนในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดังนั้นการเข้ามามีบทบาทและทำหน้าที่การเฝ้าระวังและฟื้นฟูทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับภาครัฐและภาคประชาชนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง  การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพพูมิอากาศไทยธรรมชาติรวมถึงประเด็นวิกฤติ  นั่นสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นในพื้นที่ทำให้กระแสการตื่นตัวในการปกป้องอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังนั้นการสร้างความร่วมมือในการทำงานกับหน่วยงานทุกระดับจะเป็นการยกระดับขีดความสามารถของเครือข่าย ทสม.  

ทั้งนี้ปัจจุบันการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับรากฐานแก่ชุมชนภายใต้หลักการสำคัญของโมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ จึงเป็นกลไกแนวทางหนึ่งในการสร้างเสริมชุมชนให้รู้จักอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลย์และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจชุมชนของพื้นที่เรียนรู้เช่นกันการท่องเที่ยวชุมชนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนต่างๆสถานการณ์ทรัพยากรต่างชาติและสิ่งแวดล้อมนอกจากความเสื่อมโทรมและความเสียหายจากการพัฒนาโดยน้ำมือมนุษย์แล้วปัจจุบันยังได้รับผลกระทบจากภัยทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและมีความถี่มากขึ้น

โดยเฉพาะอย่างปัญหาเรื่องปลาหมอคางดำระบาด เกิดการระบาดภายในหลายจังหวัดที่ติดชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็น ปัญหา ที่ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลา ปูต่างๆต้องรับผลกระทบ เพราะว่าการระบาดของปลาหมอคางดำนั้น  เป็นมหันตภัยร้ายแห่งลุ่มน้ำ กินทุกอย่างที่เป็นสัตว์อ่อน จะทำลายระบบนิเวศชายฝัง สัตว์เลี้ยง เศรษฐกิจอาทิเช่นกุ้ง  เลี้ยง ปลาปู ตามบ่อ   ลูก ปลาหมอคางดำ  จะเล็ดรอดในการที่เราดูดน้ำเข้าไปในบ่อที่เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจที่กล่าวไว้ข้างต้น    จะเข้าไปกินลูกกุ้ง ปลา ปู  จนหมดทำให้ เกษตรกรเกิด ภาวะการขาดทุนทำให้การเลี้ยงกุ้ง ปลา ปูนั้นมีปัญหาทำให้เกิดการหนี้สิน ทำให้เกิดมีผลกระทบเป็นมุมกว้างหลายจังหวัดในเขตตามแนวชายฝั่งของแต่ละจังหวัดที่มีอยู่            

ทั้งนี้รวมทั้งจังหวัดจันทบุรี   ที่มีหลายอำเภอติดกับชายทะเลและยังระบาดอยู่เช่นอำเภอนายายอาม   อำเภอท่าใหม่   และช่วงนี้ปัญหาปลาหมอคางดำนั้น ยังระบาดและอาจจะระบาดมากกว่าเดิมถ้า  ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยัง ไม่รีบป้องกันและแก้ไข อาจจะระบาด เข้ามาในพื้นที่น้ำจืด   ทั้งนี้ปลาหมอคางดำสามารถปรับตัวและ อาศัยอยู่ใน น้ำจืดได้อย่างสบายและสามารถออกลูกออกหลานได้เป็นจำนวนมากและก็จะทำลายสัตว์น้ำที่เป็นสัตว์น้ำจืด ประจำถิ่น อีกด้วย   ในเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งและการกัดเซาะของตลิ่งแม่น้ำต่างๆซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างต่อเนื่องถือเป็นความเสี่ยงที่คุกคามวิถีชีวิต ชุมชนในหลายพื้นที่เนื่องจากประชาชนและชุมชนยังขาดการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพผู้มีอากาศในระดับชุมชน  ดังนั้นการเสริมสร้างชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพพูมิอากาศจังหวัดจันทบุรีจึงเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในการลดความเสี่ยงของชุมชน ตนเองต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพ                       

วัตถุประสงค์ในการประชุมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เครือข่าย ทสม. มีทักษะความรู้ความสามารถในการเป็นกลไกสำคัญระดับพื้นที่ในการขับเคลื่อนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพพูมิอากาศและการปรับตัวต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  การส่งเสริมและการยกย่องเชิดชูเกียรติฯแก่  ทสม. และเครือข่าย ทสม. ในแต่ละระดับเป็นขวัญกำลังใจในรูปแบบหนึ่งของคนทำงานที่มีความเสียสละและเพื่อยกย่องในฐานะเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคมรวมถึงความภาคภูมิใจในคุณค่าของการเป็นจิตอาสาด้วย

กิตติพงศ์  คงคาลัย  ผู้สื่อข่าวจ.จันทบุรี / รายงาน