In Thailand
เกษตรศรีสะเกษจัดติวเข้มการลดสารเคมี ของกลุ่มเกษตรกรปลูกพริก
ศรีสะเกษ-เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2568 ที่ศาลาเอนกประสงค์บ้านโดนดู่ ม.4 ต.บึงมะลู อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษจัดโครงการส่งเสริมการจัดการสุขภาพพืชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรและความปลอดภัยของผลผลิต โดยมีเกษตรกรปลูกพริกเข้าร่วมโครงการ 60 ราย ทั่งนี้เพื่อส่งเสริมการปรับพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร กิจกรรมส่งเสริมการอารักขาพืชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผลักดันให้ภาคการเกษตรสามารถสร้างมูลค่าด้วยตัวสินค้าเอง โดยการพัฒนาสินค้าเกษตรให้มีความเป็นอัตลักษณ์ พัฒนาผลผลิตให้มีความปลอดภัยทั้งกระบวนการผลิต และผลผลิต พร้อมทั้งมีการตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในผลผลิตการเกษตรด้วยชุดทดสอบแบบง่าย ซึ่งเป็นการคัดกรองคุณภาพความปลอดภัยของผลผลิต เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค และเป็นการทดสอบกระบวนการผลิต เพื่อสร้างความตระหนักให้กับเกษตรกรในการใช้สารเคมือย่างถูกต้องเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีความปลอดภัยในผลผลิต มีการสุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์สารเคมีตกค้าง ขั้นตอนและเทคนิคในการตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้าง การตรวจวิเคราะห์สารป้องกันกำจัดโรคพืช ให้มีความเข้าใจถึงขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์และเทคนิคต่าง ๆ สามารถตรวจวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคต่อไป
นางสาวอัมภาพันธ์ ประดู่ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฎิบัติงาน สนง.เกษตร จ.ศรีสะเกษ กล่าว่า การจัดโครงการส่งเสริมการจัดการสุขภาพพืชเพื่อประสิทธิภาพสินค้าเดษตรและความปลอดภัยของผลผลิต ซึ่งได้มีการถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกร การแก้ไขปัญหาโรคพืช ซึ่งภาพรวมของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วม โครงการฯ 640 ราย ในพื้นที่ 10 อำเภอ ซึ่งในส่วนของ อ.กันทรลักษ์ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกพริกเป็นหลักหลังเก็บเกี่ยวนาข้าว เพื่อเป็นรายได้เสริม โดยภาพรวมแล้วช่วงนี้พริกอยู่ในราคา 30 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ซึ่งมุ่งเน้นให้เกษตรกรจัดการในเรื่องของดิน เรื่องปุ๊และเรื่องของสารเคมี เพื่อเน้นในเรื่องความปลอดภัยของผลผลิตและสุขภาพของเกษตรกร ในส่วนของเรื่องสารเคมี ทางสำนักงานเกษตรฯจะมีกลุ่มงานของสาขานี้โดยตรงเพื่อที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยชีวพันธุ์ลดการใช้สารเคมี มีการเชิญวิทยากรในเครือข่ายภาคีให้ความรู้ ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตเชื้อไตรโคดาม่าในการกำจัดโรคพืช.
ข่าว/ภาพ บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ