Health & Beauty

ผู้ไร้กล่องเสียงในไทยร่วมรพ.มะเร็งลพบุรี เปิดศูนย์ฝึกผู้ไร้กล่องเสียงส่วนภูมิภาค



ลพบุรี-สมาคมผู้ไร้กล่องเสียงในประเทศไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี เปิดศูนย์ฝึกผู้ไร้กล่องเสียงส่วนภูมิภาค เพื่อช่วยเหลือผู้ไร้กล่องเสียงให้สามารถกลับมาพูดได้อีกครั้ง

เมื่อวันที่ 30 ม.ค.68แพทย์หญิง อรุณี โกวิทพิสิฐสกุล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี พร้อมด้วย นายวันชัย บานแย้ม นายกสมาคมผู้ไร้กล่องเสียงในประเทศไทย พร้อมด้วย ประธานชมรมผู้ไร้กล่องเสียงจากจังหวัดต่างๆ ร่วมกัน ประกอบ พิธีเปิด “ศูนย์ฝึกผู้ไร้กล่องเสียงส่วนภูมิภาค” ณ อาคารผู้ป่วยนอก 6 ชั้น โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี โดยมีเครือข่าย สมาชิกผู้ไร้กล่องเสียงจากทั่วประเทศ กว่า 50 คน เข้าร่วมในพิธี 

สำหรับ การจัดตั้งศูนย์ฝึกผู้ไร้กล่องเสียงส่วนภูมิภาค ณ โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกล่องเสียงแบบออกทั้งหมด ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากการเป็นผู้พิการไม่สามารถสื่อสารด้วยเสียงได้ ส่งผลกระทบถึงการดำเนินชีวิต ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ได้รับการฟื้นฟูสภาพหลังการผ่าตัด เป็นการช่วยเหลือผู้ไร้กล่องเสียงให้สามารถกลับมาพูดได้อีกครั้ง

ซึ่ง “ ศูนย์ฝึกผู้ไร้กล่องเสียงส่วนภูมิภาค” นี้ นอกจากจะมีภารกิจหลัก คือการฝึกผู้ไร้กล่องเสียงให้สามารถพูดได้ด้วยการใช้หลอดอาหาร แก่ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง ที่ตัดกล่องเสียงและไม่่สามารถพูดได้ ให้กลับมาพูดได้อีกครั้งได้แล้ว ยังเป็นศูนย์รวมของเพื่อนช่วยเพื่อน ผู้ไร้กล่องเสียงด้วยกัน เป็นที่รวมของความหวังกำลังใจ เป็นที่ปรึกษาซึ่งกันและกัน ทั้งสมาชิกและครอบครัว ให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นสุข 

สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่เป็นไม่รุนแรงมาก หลังการผ่าตัดจะสามารถพูดได้ แต่กลุ่มที่เป็นมากจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมดเพื่อรักษาชีวิต  หลังการผ่าตัดผู้ป่วยอาจจะไม่สามารถพูดได้ดังเดิม จึงจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการพูด ซึ่งการพูดโดยใช้หลอดอาหารนับว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ต้องฝึก ผู้ป่วยจะต้องเรียนรู้วิธีการฝึกทำให้เกิดเสียงจากหลอดอาหาร “ศูนย์ฝึกผู้ไร้กล่องเสียงส่วนภูมิภาค” จึงถือเป็นส่วนหนึ่ง ในการช่วยเหลือ ให้ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกล่องเสียงออกไปแล้ว เป็นผู้ไร้กล่องเสียง สามารถกลับมาพูดและสื่อสารกับคนในครอบครัว และสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข เหมือนคนทั่วไป

แพทย์หญิง อรุณี โกวิทพิสิฐสกุล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี กล่าวว่าถือเป็นโอกาส อันดีที่โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี ได้ร่วมกับ สมาคมผู้ไร้กล่องเสียงในประเทศไทย ดำเนินการเปิด ศูนย์ฝึกผู้ไร้กล่องเสียงส่วนภูมิภาค ซึ่งจะมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด ได้รับการฝึกในการออกเสียง และสามารถที่จะกลับมาพูดได้อีกครั้ง โดยการใช้หลอดอาหารแทนกล่องเสียง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข สามารถที่จะสื่อสารกับคนในครอบครัว คนในสังคม และสามารถกลับไปทำงานได้ เหมือนคนทั่วไป แพทย์หญิง อรุณี โกวิทพิสิฐสกุล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี ยังกล่าวด้วยว่าสำหรับปัจจัย หรือ สาเหตุ ของมะเร็งกล่องเสียง จนทำให้คนไข้ต้องเข้ารับการผ่าตัดกล่องเสียงออก ส่วนหนึ่งเกิดจากการสูบบุหรี่ หรือการดื่มสุรา จึงอยากจะฝากถึงประชาชน รวมถึงเยาวชน ให้ลด หรือ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ หรือ การดื่มสุรา เพราะถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกล่องเสียง เพื่อที่จะว่า..คนไข้จะได้ไม่ต้องมาผ่าตัดกล่องเสียงออก

ขณะที่นายวันชัย บานแย้ม นายกสมาคมผู้ไร้กล่องเสียงในประเทศไทย.ซึ่งเป็นผู้ไร้กล่องเสียงกล่าวว่า.โครงการดังกล่าว จัดตั้งขึ้นเพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผุ้ไร้กล่องเสียง ที่ถูกผ้าตัดกลองเสียงออก และไม่สามารถที่จะพูดได้โดยธรรมชาติ โดยการให้ความรู้ และวิธีการฝึกพูดด้วยการใช้หลอดอาหาร ให้แก่ผู้ไร้กล่องเสียงทั่วไป ซึ่งโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี ถือเป็นชมรมที่ 33 ของประเทศไทย โดยเป้าหมายจะสร้างครูฝึก ทำหน้าที่เป็นวิทยากรได้ทั่วประเทศ เนื่องจากขณะนี้กำลังขาดแคลนครูฝึก ด้วยศักยภาพของโรงพยาบมะเร็งลพบุรี ที่ผ่านมา สมารถฝึกการพูดให้แก่ผู้ไร้กล่องเสียงได้เป็นอย่างดี จึงได้ เปิดเป็น “ ศูนย์ฝึกผู้ไร้กล่องเสียงส่วนภูมิภาค” เพื่อดูแลผู้ป่วยไร้กล่องเสียงในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้ผู้ไร้กล่องเสียง สามารถเข้าสู่ระบบการฝึกที่ถูกต้องตามหลักวิขาการ

ทั้งนี้ นายกสมาคมผู้ไร้กล่องเสียงในประเทศไทย.....ยังบอกด้วยว่า....สาเหตุหลังของคนที่ ตกเป็นผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง และเป็นผู้ไร้กล่องเสียง ร้อยละ 90 เกิดจากพฤติกรรมการสูบหรี่ ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะตัวนายกสมาคมเอง ซึ่งสูบบุหรี่มาตั้งแต่อายุ 14 ปี พออายุ 38 ปี กล่องเสียงก็ถูกทำราย (พร้อมกับเปิดให้ดูบาดแผลการผ่าตัดให้ดูที่ลำคอ)  รวมถึง การสูบบุหรี่ไฟฟ้าซึ่งมีผลร้ายิ่งกว่าบุหรี่ธรรมดา จึงอยากจะฝากถึงน้อง ๆ เยาวชน คนรุ่นใหม่ที่กำลังสูบบุหรี่ หรือ บุหรี่ไฟฟ้า ควรเลิกได้แล้ว หากไม่อยากเป็นผู้ไร้กล่องเสียง

ทวีศักดิ์/ลพบุรี