Think In Truth
อิทธิฤทธิ์บารมีการเทศน์เพื่อละทิ้งอัตตา เพื่อการพ้นทุกข์ โดย: ฟอนต์ สีดำ
พระคาถาชัยมงคลคาถา บทที่เจ็ดมีว่า “นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง, ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท, ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ ” เป็นเรื่องยุทธวิธีในการเอาชนะมารในการยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ให้สละความหลงผิดและมองเห็นทุกข์ที่เกิดจากการยึดมั่นถือมั่นเพื่อการพ้นทุกข์ ของพญานาคผู้มีฤทธิ์มาก ที่ได้ต่อสู้ทางปัญญาในการของพระปุตเตนะเถระ หรือพระมหาโมคคัลลานะสาวกของพระองค์ ได้ต่อสู้กับพญานาคตนนั้น พระมหาโมคคัลลานะได้ต่อสู้กับพญานาคในการชี้ให้เห็นถึงการยึดมั่นถือมั่นในตัวตนนำไปสู่ความทุกข์ จนสามารถทำให้พญานาคตนนั้นละทิ้งความสำคัญผิดในตัวตนหันกลับมาน้อมรับพระธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เรื่องราวของการโต้วาทีระหว่างพระโมกคลานะ สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอยู่ว่า พญานันโทปนันทะเป็นพญานาคที่มีฤทธิ์มาก อาศัยอยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ด้วยความที่ตนมีฤทธิ์มาก พญานันโทปนันทะจึงเกิดความถือตัวและหลงใหลในอำนาจของตนเอง เมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกเสด็จผ่านไป พญานันโทปนันทะเกิดความไม่พอใจ จึงได้แสดงฤทธิ์ขัดขวาง แต่ด้วยพระปฏิภาณและพระอานุภาพของพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงมอบหมายให้พระมหาโมคคัลลานะไปปราบพญานาคตนนี้
หลังจากการต่อสู้ที่ดุเดือด พญานันโทปนันทะก็ยอมแพ้และเข้าใจในความผิดพลาดของตนเอง จึงได้ละทิ้งความถือตัวและความเชื่อที่ผิดพลาดหันมานับถือพระพุทธเจ้า
สาเหตุแห่งความพ่ายแพ้ของพญานันโทปนันทะ
- การละทิ้งอัตตา: พญานันโทปนันทะเป็นตัวอย่างของคนที่ยึดติดกับอัตตาของตนเองจนนำไปสู่ความทุกข์ เมื่อละทิ้งอัตตาได้แล้ว จึงพบความสุขและความสงบ หรือกรณีตัวอย่างของ อ.เบียร์ คนตื่นธรรม ที่เคยยึดมั่นถือมั่นตนในความเชื่อของพระเจ้า จนเป็นผู้รับใช้พระเจ้าเป็นผู้นำฝูงแกะ เมื่อวันหนึ่งได้ฟังธรรมของสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเข้าใจในการยึดมั่นถือมั่นในตัวตนที่นำไปสู่ความทุกข์ของเขาในวันนั้น เขาจึงหันกลับมาปฏิบัติและศึกษาเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา จนพบหนทางแห่งการพ้นทุกข์ และได้ถือปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้
- ความเชื่อที่ผิดพลาดนำไปสู่ความทุกข์: ความเชื่อที่ผิดพลาดของพญานันโทปนันทะ ทำให้เกิดความทุกข์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น การมีสติและปัญญาจะช่วยให้เราสามารถแยกแยะความเชื่อที่ถูกและผิดได้ กรณีในปัจจุบันเกี่ยวกับการดีเบสระหว่าง อ.เบียร์ คนตื่นธรรม อ.แชมป์ ผู้เผยแผ่ศาสนาคริสต์ เป็นสิ่งที่ได้ถูกอธิบายอย่างชัดเจนว่า การเห็นผิดนำไปส่ความทุกข์ โดย อ.เบียร์ คนตื่นธรม มองถึงการสอนธรรมเป็นเพียงการชี้ทางพ้นทุกให้กับคนทั่วไป ในขณะที่ อ.แชมป์ มองว่าการนำคนไปให้เข้าถึงพระเจ้า พระเจ้าจะทรงเมตตาบันดานให้คนนั้นมีความสุข ด้วยความรักที่พระเจ้ามีให้กับทุกคน อ.เบียร์ คนตื่นธรรม ชี้ให้เห็นถึงตนเองเป็นที่พึ่งแห่งตน ในขณะที่ อ.แชมป์ชี้ให้เห็นว่าชีวิตทุกชีวิตต้องพึ่งพรจากพระเจ้า ความขัดแย้งระหว่างความจริงกับความเพ้อฝัน จึงเป็นปัจจัยแห่งการตัดสินใจของผู้ฟังว่า อ.เบียร์มีความสมเหตุสมผลมากกว่า ซึ่งสามารถประเทียบได้ดั่งพระโมกคลานะ ต่อสู้กับ พญานันโทปนันทะ นั่นเอง
- พระพุทธศาสนาสอนให้เราละทิ้งความทุกข์: พระพุทธศาสนาสอนให้เราละทิ้งความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ตัณหา และอวิชชา เรื่องราวของพญานันโทปนันทะเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงหลักธรรมนี้ได้เป็นอย่างดี
เรื่องราวของพญานันโทปนันทะเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจและให้ข้อคิดแก่เราเป็นอย่างมาก การนำหลักธรรมจากเรื่องราวนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จะช่วยให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขและสงบ การฝึกตนหรือพัฒนาคนในสังคม ให้เริ่มต้นจากการนำเข้าสู่การศึกษาถึงกระบวนการทางปัญญา ตามหลักธรรมในพระพุทศาสนา คือ ไตรสิกขา ที่ประกอบด้วย ศีล , สมาธิ , ปัญญา คือให้ศึกษาตามเงื่อนไขในการการศึกษาแต่ละเรื่องคือ ศีล นำสิ่งที่ถูกวางเงื่อนไขในการศึกษา หรือ ศีล มาปฏิบัติและเรียนรู้อย่างตั้งใจ มุ่งมั่น หรือที่เรียกว่าสมาธิ ในกระบวนการของสมาธิให้ใช้กระบวนการคิดอย่างมีอริยะ หรืออริยะสัจ ที่ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคมีองค์แปด การปฏิบัติในมรรคมีองค์แปด ต้องถือปฏิบัติอย่างมีโยนิโสมนสิการ ที่อยู่ภายใต้วัฏสงสารของปฏิจสมุปบาท การพัฒนากระบวนการทางปัญญาให้มีอิทธิฤทธิ์เหนือมารทั้งปวง จำเป็นต้องฝึกตามกระบวนการที่เอ่ยถึง