Digitel Tech & AI
'ฟิลิปส์'จัดแข่งนักรังสีฯรอบชิงชนะเลิศ PhilipsAmbition Cup 2024

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – เมื่อเร็วๆ นี้ ฟิลิปส์ ประเทศไทย ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพระดับโลกได้จัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ“Philips Ambition Cup 2024” ณ โรงแรมอีสติน พญาไท กรุงเทพฯ
โดย Philips Ambition Cup 2024 เป็นการประกวดผลงานเทคนิคการใช้เครื่อง MRI (Magnetic Resonance Imaging)ของนักรังสีเทคนิคจากทั่วประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและใช้เครื่องมือทางการแพทย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสามารถให้บุคลากรทางการแพทย์นำไปต่อยอดและพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยผู้ชนะคว้าเงินรางวัลสูงสุด 30,000 บาท
นายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า “Philips Ambition Cup เป็นการจัดการแข่งขันที่ริเริ่มตั้งแต่ปี 2022โดยรอยัล ฟิลิปส์ โดยมีการจัดการแข่งขันในหลายประเทศ อาทิ ประเทศเนเธอร์แลนด์, อินเดีย, ญี่ปุ่น และประเทศไทย สำหรับการแข่งขัน Philips Ambition Cup 2024 ในประเทศไทยได้จัดเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน เราได้เปิดโอกาสให้นักรังสีเทคนิคทั่วประเทศเข้าร่วมส่งผลงานตั้งแต่เดือนกันยายน 2024 ที่ผ่านมาและได้คัดเลือกผู้ผ่านเข้ารอบ5 ทีมสุดท้ายมาชิงชนะเลิศกันในวันนี้ โดยเราได้รับเกียรติจากรังสีแพทย์นักรังสีเทคนิคและคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากโรงเรียนแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินเราเล็งเห็นว่าการแข่งขัน Philips Ambition Cup จะเปิดโอกาสให้นักรังสีเทคนิคทั่วประเทศได้แสดงศักยภาพการทำงานและใช้เครื่อง MRI อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งยังสามารถนำผลงานหรือเทคนิคของแต่ละโรงพยาบาลมาร่วมแชร์ข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่โรงพยาบาลอื่นๆ ได้นำไปปรับปรุงและต่อยอดการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากเครื่อง MRI เป็นเครื่องตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยาที่สามารถตรวจได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ โรคทางระบบประสาทและสมอง โรคตับและอวัยวะภายในช่องท้อง หรือโรคเกี่ยวกับกระดูก และมีประโยชน์ในการเป็นเครื่องมือที่ช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น”
สำหรับการแข่งขันPhilips Ambition Cup 2024 ในประเทศไทย มีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด 5 ผลงาน ได้แก่
- The effect of 4D-PCA compared with CE-MRAon patients with congenital heart diseaseโดยนายจิณณวัตรรัตนังและนายปธานินจินดารุ่งเรืองกุลนักรังสีการแพทย์ศูนย์โรคหัวใจภาคเหนือคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- Enhancing clarity: Optimizing inversion time selection for grey-blood LGE cardiac imagingโดยนางสาววัชรี ประเสริฐกุลชัย นักรังสีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
- Image quality assessment of compressed sense accelerated MRI of the brain
โดยนางสาวจันทราพร นกจันทร์ และ นางสาวภิรมณ คงเจริญ นักรังสีทางการแพทย์ ศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า โรงพยาบาลรามาธิบดี - Changed workflow to improve image quality of technique CE MRA & MRV
โดยนางสาวธนัชชา สกุลศักดิ์ นักรังสีเทคนิค โรงพยาบาลกรุงเทพ - Tip and Trick: Use MRI only for brachytherapy with a carbon fiber couch
โดยนายชลคินทร์ ครรชิตชลกุล และ นางสาวชณิดา สถิตวัฒนวิโรจน์ นักรังสีเทคนิคและนักฟิสิกส์ สาขารังสีรังษา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุเทน ยะราช อาจารย์ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวแทนคณะกรรมการตัดสินของ‘Philips Ambition Cup 2024’กล่าวว่า “ผู้เข้าแข่งขันทุกทีมมีความสามารถโดดเด่นและนำเสนอเทคนิคการใช้เครื่อง MRI ที่แตกต่างกัน โดยเกณฑ์การตัดสินพิจารณาจาก 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1)เนื้อหาการวิจัยและเทคนิคการประยุกต์ใช้เครื่อง MRI ซึ่งมีสัดส่วนคะแนนสูงสุด, (2)รูปแบบการนำเสนอ (3)ความคิดสร้างสรรค์ และ (4)ความเป็นไปได้ในการนำไปต่อยอดใช้จริงโดยทีมที่ชนะเลิศในปีนี้ถือเป็นทีมของน้องใหม่ที่มีความโดดเด่นด้วยการนำเสนอสถิติที่ครบถ้วนและจำนวนเคสที่ร่วมวิจัยที่มากพอ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของเทคนิคที่นำเสนอ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับศูนย์MRI อื่นๆ เพื่อดูแลผู้ป่วยได้จริงในอนาคต ผมมองว่าโครงการ‘Philips Ambition Cup’เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการรังสีวิทยาไทย เพราะมีการรับฟังความคิดเห็นจากนักรังสีเทคนิคที่ใช้งานจริง เพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง และพัฒนาเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ตอบโจทย์การทำงานได้มากขึ้น”
สำหรับผู้ชนะในปีนี้เป็นของทีมศูนย์โรคหัวใจภาคเหนือ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เจ้าของผลงาน “The effect of 4D-PCA compared with CE-MRAon patients with congenital heart disease”ที่นำเสนอผลงานเกี่ยวกับการตรวจหัวใจด้วยเครื่อง MRI โดยไม่ต้องสารเพิ่มความเปรียบต่างในเนื้อเยื่อ (Contrast Media)
นายปธานิน จินดารุ่งเรืองกุล(ซ้าย) และนายจิณณวัตร รัตนัง (ขวา)นักรังสีการแพทย์ศูนย์โรคหัวใจภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าวว่า “ที่เราเลือกหัวข้อวิจัยนี้ในการส่งเข้าประกวด เป็นเพราะว่าเราพบความท้าทายในการตรวจหัวใจด้วยเครื่อง MRI ในเด็ก ผู้ป่วยโรคไต และผู้ป่วยที่มีความอ่อนไหวต่อสารเพิ่มความเปรียบต่างในเนื้อเยื่อจำนวนมาก การตรวจด้วยเครื่อง MRI จำเป็นต้องฉีดสารนี้เพื่อให้มองเห็นลักษณะทางกายวิภาคของหัวใจ แต่หากเราใช้เทคนิค 4D-PCA เราก็ไม่จำเป็นต้องฉีดสารดังกล่าว แต่ยังคงมองเห็นลักษณะของหัวใจได้อย่างถูกต้องแม่นยำและสามารถวิเคราะห์รอยโรคได้ อีกทั้งยังลดเวลาในสแกนลงได้ถึง 30% โดยเคสที่นำมาเก็บข้อมูลงานชิ้นนี้คือผู้ป่วยเด็กซึ่งให้ความร่วมมือในการตรวจได้เป็นอย่างดี และสามารถฝึกกลั้นหายใจได้ก่อนเข้ารับการตรวจ ทั้งนี้ผู้ป่วยเด็กเป็นวัยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพ้สารดังกล่าว และหากต้องตรวจติดตามอาการเป็นประจำ อาจเกิดการสะสมในร่างกายซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพได้ในอนาคตโดยปกติแล้วการทำงานกับผู้ป่วยเด็กจะมีความท้าทายมากกว่าผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่อยู่แล้วด้วยปัจจัยของวัยการควบคุมสมาธิและภาวะอารมณ์ที่น้อยกว่าผู้ใหญ่ ทำให้ทั้งทีมนักรังสีเทคนิคและผู้ปกครองเองต้องมีวิธีการดึงดูดความสนใจของผู้ป่วยเด็กเพื่อให้ร่วมมือในระหว่างการตรวจจนสิ้นสุดกระบวนการ”
“สำหรับการเข้าร่วมแข่งขัน Philips Ambition Cup ของเราได้เข้าร่วมส่งผลงานปีนี้เป็นปีแรก ซึ่งเราสองคนรู้สึกดีใจมากที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในปีนี้ ยอมรับว่ารู้สึกกดดันมากในช่วงแรกแต่เพราะต้องการมาหาประสบการณ์และอยากนำข้อมูลดีๆ ที่เราคิดว่าเป็นประโยชน์ในวงการมาแชร์ ประกอบกับเราได้อาจารย์แพทย์ที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำทำให้มีความมั่นใจมากขึ้น เรารู้สึกว่าโครงการฯนี้ เป็นโครงการที่ดีต่อวงการรังสีเทคนิคอย่างแท้จริง เพราะเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และปัญหาที่พบในการทำงานจริง รวมถึงการหาแนวทางแก้ไข ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโดยตรงเราก็หวังว่าผลงานวิจัยของเราจะเป็นประโยชน์ต่อนักรังสีท่านอื่นๆ ในการนำเครื่อง MRI ไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด”นายจิณณวัตร รัตนัง และนายปธานิน จินดารุ่งเรืองกุลกล่าวสรุป
สำหรับเทรนด์ด้านรังสีวิทยาและการใช้เครื่อง MRI ในอนาคตผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุเทน ยะราชอาจารย์ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการกล่าวถึงว่า“จากการเก็บข้อมูลล่าสุดพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีเครื่อง MRI ประมาณ 200 กว่าเครื่อง โดยเทรนด์ในปัจจุบันมองว่านวัตกรรม MRI High Field เป็นเทรนด์ที่น่าจับตามอง ด้วยคุณสมบัติที่สามารถใช้งานตรวจอวัยวะได้หลากหลาย ให้ภาพที่มีรายละเอียดและความคมชัดสูง ใช้เวลาการตรวจที่สั้นลงจึงส่งผลดีทั้งต่อผู้ป่วยเองและบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงAI และBig Data ก็เข้ามาช่วยยกระดับมาตรฐานข้อมูลการประยุกต์ใช้เครื่อง MRI ให้เป็นฐานข้อมูลเดียวกันได้มากขึ้นจึงเกิดประโยชน์ที่ช่วยต่อยอดความรู้ทางการแพทย์ให้กับนักรังสีเทคนิคได้ในอนาคต”