In Global

สหรัฐอเมริกาใช้'ภาษีศุลกากรเป็นไม้เด็ด' จะทำลายเศรษฐกิจโลกอย่างร้ายแรง



ตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มความเข้มข้นของนโยบายปกป้องการค้า โดยเพิ่มกำแพงภาษีศุลกากรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อระเบียบเศรษฐกิจโลกและทำลายเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองของเศรษฐกิจโลกอย่างร้ายแรง

ตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาประกาศเก็บภาษีนำเข้าเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมทั้งหมดในอัตรา 25% และเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าบางประเภทจากสหภาพยุโรป แคนาดา และเม็กซิโก นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐอเมริกายังตั้งกำแพงภาษีใหม่ต่อรถยนต์ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์ และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีขั้นสูงอื่นๆ ของจีน พยายามใช้มาตรการภาษีศุลกากรเพื่อยับยั้งการพัฒนาของคู่แข่ง

มาตรการจากลัทธิที่เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของสหรัฐอเมริกมาดังกล่าวไม่เพียงแต่ทำลายระบบการค้าพหุภาคีทั่วโลกและขัดต่อวัตถุประสงค์ขององค์การการค้าโลก (WTO) ในการลดอุปสรรคทางการค้าและแก้ไขข้อพิพาทผ่านการเจรจา และสร้างความท้าทายร้ายแรงต่อความน่าเชื่อถือขององค์การการค้าโลกเท่านั้น หากยังทำให้ความเชื่อมั่นในตลาดลดลง ธุรกิจต่าง ๆ ระมัดระวังการลงทุนมากขึ้น และการเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอีกด้วย ล่าสุด ดัชนีหุ้นสำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และค่าเงินมีความผันผวน ล้วนสะท้อนถึงความกังวลของนักลงทุนทั่วโลกต่อการยกระดับข้อพิพาททางการค้าและภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นางเหมา หนิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนเน้นย้ำเมื่อเร็วๆนี้ว่า กำแพงภาษีและการสร้างอุปสรรคทางการค้าอื่นๆไม่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายใด ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจและการค้าควรได้รับการแก้ไขโดยผ่านการเจรจาและการปรึกษาหารือกัน ไม่ควรปล่อยให้เศรษฐกิจโลกต้องแบกรับผลกระทบ

ในยุคโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด ห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานพึ่งพาอาศัยกัน การเพิ่มภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกานั้นไม่เพียงแต่เพิ่มต้นทุนการผลิตของธุรกิจภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังบังคับให้บริษัทข้ามชาติต้องปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานใหม่ ซึ่งทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการผลิตเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การที่สหรัฐอเมริกาเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตราสูง ทำให้บริษัทในสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น และทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายราคาสินค้าที่แพงขึ้น การกระทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่ล้มเหลวในการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ยังเพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อ และส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปอีกด้วย บทนำของหนังสือพิมพ์อาซาฮิ ชิมบุน (Asahi Shimbun) ของญี่ปุ่น ระบุว่า การก่อสงครามการค้าของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาทำให้วิสาหกิจและผู้บริโภคต้องเผชิญกับความสับสนวุ่นวาย และมีแต่จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวและยุ่งเหยิงมากขึ้นอย่างแน่นอน

อีกด้านหนึ่ง นโยบายภาษีของสหรัฐอเมริกาย่อมจะนำไปสู่การใช้มาตรการตอบโต้จากประเทศอื่นๆ อาจจะทำให้สงครามการค้ารุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น หลังจากสหรัฐอเมริกาเพิ่มภาษีนำเข้าเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมจากสหภาพยุโรป สหภาพยุโรปได้ตอบโต้ทันทีโดยเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐอเมริกา เช่น สินค้าเกษตรและรถจักรยานยนต์ ฝรั่งเศสและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่น ๆ ยังเรียกร้องให้ใช้มาตรการตอบโต้ที่ "แข็งแกร่งที่สุด" เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน สงครามการค้าลักษณะนี้ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศที่เกี่ยวข้อง แต่ยังเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับตลาดโลก ทำให้ความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคธุรกิจลดลง และส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกต้องตกอยู่ในภาวะที่ซบเซา หนังสือพิมพ์ดิอีโคโนมิสต์ (The Economist) ของอังกฤษชี้ว่า นโยบายการค้าที่ไม่แน่นอนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกากำลังบั่นทอนความน่าเชื่อถือของประเทศ และทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนข้ามชาติลดลง

ด้วยเหตุนี้ ผู้สันทัดกรณีจากประเทศต่างๆทั่วโลกต่างเรียกร้องให้นานาประเทศใช้การเจรจาและความร่วมมือในการแก้ไขข้อพิพาททางการค้า แทนที่จะใช้มาตรการลัทธิการกระทำฝ่ายเดียว เพราะประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์หลายครั้งแล้วว่าสงครามภาษีและสงครามการค้ามีแต่จะนำทุกฝ่าย ไปสู่ความพ่ายแพ้ การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ และรักษาระบบการค้าเสรีทั่วโลกเท่านั้น จึงจะสามารถทำให้เศรษฐกิจโลกมีเสถียรภาพและพัฒนาอย่างยั่งยืน

เขียนโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)