In News
ภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคในก.พ.68 จับตาลงทุนเอกชนแผ่ว/ท่องเที่ยวยังปัง!

กรุงเทพฯ-เศรษฐกิจภูมิภาคเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนโดยเฉพาะภาคใต้ อีกทั้งการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นในหลายภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ควรติดตามสถานการณ์การลงทุนภาคเอกชนของภูมิภาคที่ชะลอตัว
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนโดยเฉพาะภาคใต้ อีกทั้งการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นในหลายภูมิภาคอย่างไรก็ตาม ควรติดตามสถานการณ์การลงทุนภาคเอกชนของภูมิภาคที่ชะลอตัว” โดยมีรายละเอียดดังนี้
เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ และการท่องเที่ยวที่ขยายตัว อีกทั้งความเชื่อภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 15.7 6.4 และ 20.3 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -11.9 ต่อปี อีกทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 55.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 57.0 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -19.3 และ -12.1 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 442.5 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานห้องเย็นและถนอมเนื้อสัตว์ด้วยวิธีทำให้เยือกแข็งโดยฉับพลันในจังหวัดสงขลา เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 86.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
ซึ่งอยู่ที่ระดับ 83.2 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 และ 2.2 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเร่งขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 14.0 และ 1.6 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่รายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -12.5 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -16.0 ต่อปี และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 60.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 61.4 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -29.1 และ -31.4 ต่อปี ตามลำดับ อีกทั้งเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 71.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า
ซึ่งอยู่ที่ระดับ 73.0 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 11.2 และ 8.5 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคที่ขยายตัวเร่งขึ้น และการท่องเที่ยวที่ขยายตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 11.0 และ 4.2 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่รายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -8.3 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -10.5 ต่อปี ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 57.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 59.0 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -20.0 และ -7.1 ต่อปี ตามลำดับ อีกทั้งเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 91.8 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 และ 3.1 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล ในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัว อีกทั้งความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
ที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 9.5 และ 1.9 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -15.7 และ -3.8 ต่อปี ตามลำดับ อีกทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 57.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.4 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 20.4 ต่อปี ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -27.4 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 52.0 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตนมสเตอริไลส์ผสม และเครื่องดื่มแบบพร้อมดื่ม ในจังหวัดปทุมธานี เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 99.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.0 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากสะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนหดตัวที่ร้อยละ -1.4 และ -3.3 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคตะวันออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากท่องเที่ยว และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -6.4 -23.9 และ -3.4 ต่อปี ตามลำดับ อีกทั้ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 60.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 61.5 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -24.5 และ -17.8 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 25.0
ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตภัณฑ์จากพลาสติกในจังหวัดชลบุรี เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 99.4 ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 6.3 และ 2.0 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -0.6 -1.4 และ -2.6 ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 3.4 และ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ อีกทั้งจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -14.0 ต่อปี และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 56.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.0 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -13.2 และ -30.1 ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 8.3 และ 33.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 99.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.0 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 3.7 และ 3.5 ต่อปี ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีปัจจัยสนับสนุนจากท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการรายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -2.8 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวอีกทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 56.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.0 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -22.6 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 99.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.0 เครื่องชี้ภาคการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 และ 2.0 ต่อปี ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคของไทย ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งสำรวจจากสำนักงานคลังจังหวัดและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพบว่า ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนกุมภาพันธ์ 2568 สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภูมิภาคปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และภาคใต้จากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ในขณะที่กำลังซื้อสะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคประชาชนซึ่งปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาคโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรเป็นสำคัญ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคใน 6 เดือนข้างหน้าปรับเพิ่มขึ้นในหลายภูมิภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคกลาง และ กทม. และปริมณฑล ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากทุกองค์ประกอบของดัชนีทั้งภาคการผลิตการจ้างงาน และการลงทุน อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ความผันผวนของสภาพอากาศ เศรษฐกิจโลก และการค้าระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด