Authority & Harm

เกษตรกรสวนทุเรียนยื่นหนังสือผ่านผู้ว่าฯ จี้รัฐฯเร่งแก้ปัญหาส่งออกทุเรียนล่าช้า



จันทบุรี-เกษตรกรชาวสวนทุเรียนยื่นหนังสือผ่านผู้ว่าฯ ขอให้รัฐบาลเร่งป้องกัน แก้ปัญหาการส่งออกทุเรียนที่ล่าช้า

วันที่  8  เมษายน 2568    ไปที่หน้าศาลากลางจังหวัดจันทบุรี กลุ่มผู้ก่อการดี ตัวแทนชาวสวนผลไม้ผู้ปลูกทุเรียนในจันทบุรีและภาคตะวันออกนำโดยนายสัญชัย โกสัลล์วัฒนา ตัวแทนเกษตรกรชาวสวนและ เจ้าของเพจทำสวนเอาเงิน ไม่ได้เอาเงินทำสวน พร้อมนายเฉลิมพล ศักดิ์คำ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองท่าช้างตัวแทนเกษตรกรสวนทุเรียนรวมตัวกันมายื่นหนังสือต่อนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เพื่อให้ทางจังหวัดส่งเรื่องต่อไปยังรัฐบาล เพื่อ ป้องกันแก้ไขปัญหาในการส่งออกทุเรียน โดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ 1. ขอให้ใช้มาตรฐานการตรวจสอบสารปนเปื้อน BY2 แบ่งเป็น 2 ค่า คือ การตรวจที่เนื้อทุเรียนให้ตรวจแบบไม่พบ (Not Detected) ได้ แต่ในส่วนที่เปลือกขอให้มีเกณฑ์ขั้นต่ำที่รับได้ คือ ๑๐ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม หรือ ๑๐ ppb / 2. ขอให้ยกเลิกการระงับใบรับรองห้องปฏิบัติการในประเทศไทย

เนื่องจากตามหลักสากลท้องปฏิบัติการจะรับรองฉพาะผลการตรวจวิเคราะห์ ในลูกทุเรียนที่เอามาตรวจเท่านั้น ถ้าตรวจพบสารที่ควบคุมในตู้หรือในผลทุเรียนลูกอื่นก็ไม่ได้เอาตรวจ (เพราะการตรวจใหม่ย่อมไม่ใช่การตรวจทุเรียนลูกเดียวกัน) ควรระงับใบ DOA หรือ หนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตสินค้าพืชของโรงคัดบรรจุที่พบเจอเท่านั้น รวมถึงขอให้พิจารณาเพิ่มห้องปฏิบัติการในพื้นที่ปลูกทุเรียน ให้เพียงพอกับผลผลิด เพื่อสร้างควานมั่นใจในระบการตรวจสอบให้ทันต่อเหตุการณ์ และ 3 เนื่องจากการตรวจพบสารตกค้างในทุเรียนไทยมีจำนวนน้อยมากจึงขอให้ลดจำนวนการตรวจแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ที่ด่านชายแดน โดยควรกำหนดสัดส่วนการสุ่มตรวจน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตที่ส่งออกเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าเสียหายจากการขนส่งและเสียโอกาสทางการค้า โดยหนังสือที่ร้องเรียนลงนามรวม 4 คน คือนายวสันต์ รื่นรมย์ นายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทยภาคตะวันออก,นายวุฒิชัย คุณเจตน์ นายกสมาคมทุเรียนไทย,นายวัลลภ คุณาธรรม นายกสมาคมผู้ผลิตทุเรียนไทย และ นายอุกฤษฎ์ วงษ์ทองสาลี ประธานหอการค้าจังหวัดจันทบุรี

โดยนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีได้กล่าวหลังรับหนังสือว่าทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้นิ่งนอนใจ และได้ประชุม วางแผนการป้องกันแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดจากความล่าช้าในการส่งออกทุเรียนจากการตรวจสารตกค้า BY2 ในผลผลิตทุเรียนที่จะส่งออกไปจีน และทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังเร่งหาทางเจรจาแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนก่อนที่ผลผลิตทุเรียนของเกษตรกรจะออกสู่ตลาดหลังกลางเดือนเมษายนนี้เป็นต้นไป ส่วนการป้องกันแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ ทุเรียนอ่อนทางจังหวัดมีมาตรการและมีชุดเฉพาะกิจลงพื้นที่สุ่มตรวจสอบอย่างต่อเนื่องจริงจังเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค เช่นเดียวกันกับทุเรียนสวมสิทธิ์ที่อาจจะมีการลักลอบนำเข้าจากที่อื่นมาส่งออกที่จันทบุรีซึ่งหากพบก็จะดำเนินคดีอย่างเฉียบขาดต่อไป   

กิตติพงศ์  คงคาลัย  ผู้สื่อข่าว จ.จันทบุรี