Biz news
Money20/20 เปิดงานวันแรกสุดคึกคัก คาดชำระเงินเอเชียโต23.8ลล.ดอลล่าร์

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, 22 เมษายน 2568 - Money20/20มหกรรมงานรวมฟินเทคชั้นนำของโลก กลับมาเยือนกรุงเทพฯ อีกครั้ง หลังจากความยิ่งใหญ่ด้านความสำเร็จในการสร้างโอกาสของอุตสาหกรรมทางการเงินและเทคโนโลยีที่มากมายให้แก่ผู้เข้าร่วมงานชั้นนำระดับภูมิภาคและโลก ซึ่งการกลับมาครั้งนี้เพื่อตอกย้ำประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมทางการเงินและเทคโนโลยีที่สำคัญของภูมิภาคนี้ โดยจากรายงานล่าสุดเกิดขึ้นบนความร่วมมือกับFXC Intelligenceที่ได้มีการเปิดเผยเป็นครั้งเเรกวันนี้ ณ งานMoney20/20 Asia ว่าปริมาณของการชำระเงินระหว่างประเทศ (cross-border payments) ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคาดจะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าภายในปี พ.ศ.2575 โดยจะแตะระดับ23.8 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก12.8 ล้านล้านดอลลาร์ในปีที่เเล้ว ซึ่งอัตราการเติบโตดังกล่าวแซงหน้าค่าเฉลี่ยทั่วโลกและคาดว่าจะทำให้ส่วนแบ่งของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในการการชำระเงินระหว่างประเทศทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ36.8 ภายในปี พ.ศ.2575
รายงานภายใต้หัวข้อ‘How Will Asia’s Money Move in the Future? 2025’s View of 2035’ ซึ่งใช้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับขนาดตลาดจากบริษัทและผู้นำในอุตสาหกรรมมากกว่า100 ราย เพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม เทคโนโลยี นวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายที่คาดว่าจะกำหนดภูมิทัศน์การชำระเงินระหว่างประเทศของภูมิภาคเอเชียในอีกสิบปีข้างหน้า
ประเด็นสำคัญที่ได้จากรายงาน:
ภูมิทัศน์ของการชำระเงินระหว่างประเทศที่ขยายตัว
ในปี พ.ศ.2567 ทวีปเอเชียแปซิฟิกคิดเป็นร้อยละ32.2 ของการชำระเงินระหว่างประเทศของร้านค้าปลีกทั่วโลก ซึ่งมีมูลค่ารวม12.8 ล้านล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลการกำหนดขนาดตลาดของFXC Intelligence ที่เผยแพร่เป็นครั้งแรกในรายงาน ภายในปี พ.ศ.2575 คาดว่าภูมิภาคนี้จะมีมูลค่าถึง23.8 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเติบโตเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก และเพิ่มส่วนแบ่งของกระแสเงินทั่วโลกเป็นร้อยละ36.8.
อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยการทำงานร่วมกันและเทคโนโลยี
รายงานพบว่าบริษัทและผู้นำในอุตสาหกรรมร้อยละ88 มองว่าการทำงานร่วมกันเป็นสิ่งที่สำคัญมากหรือเรียกได้ว่ามากที่สุดต่ออนาคตการชำระเงินของเอเชีย ร้อยละ66 เชื่อว่าระบบการชำระเงินแบบเรียลไทม์จะเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ไม่แพ้กัน ตามมาด้วยร้อยละ59 เรื่องของกระเป๋าเงินดิจิทัลพร้อมด้วยแรงผลักดันเพิ่มเติมจาก โครงการสกุลเงินดิจิทัล หรือCBDC, สินทรัพย์ดิจิทัลหรือเหรียญคริปโทฯ ที่มีความมั่นคงสูง หรือstablecoin, QR code และApplication Programming Interface หรือAPI
พฤติกรรมผู้บริโภค นโยบาย และนวัตกรรมภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง
บริษัทและผู้นำในอุตสาหกรรมระบุว่าพฤติกรรมผู้บริโภคกว่าร้อยละ79% นโยบายด้านกฎระเบียบกว่าร้อยละ86% และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีกว่าร้อยละ79% คือปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อโครงสร้างพื้นฐานในอนาคต แม้ว่าB2B และB2C จะยังคงครองส่วนแบ่งการตลาดอย่างมาก แต่คาดว่าการชำระเงินแบบB2C จะเติบโตเร็วที่สุดเนื่องจากการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซและบริการสมัครสมาชิกต่าง ๆ
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศที่เร่งตัวมากขึ้น
โครงการต่าง ๆ เช่นProject Nexus ที่เกิดขึ้นเพื่อการจัดแนวทางนโยบายระดับภูมิภาค และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเริ่มสร้างรากฐานสำหรับประสบการณ์ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ที่ข้ามประเทศให้ราบรื่นมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้นำในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าความหลากหลายด้านการใช้งาน หรือประสบการณ์ที่เสาะหาของแต่ละภูมิภาคนั้น อาจทำให้โซลูชันที่โดดเด่นมาก ๆ ในการตอบโจทย์การใช้งานระหว่างภูมิภาคต่าง ๆ นั้นเป็นสิ่งอาจจะยังไม่เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
“การเติบโตอย่างรวดเร็วกำลังเกิดขึ้นอย่างเห็นได้อย่างมีนัยสำคัญในด้านของการดำเนินธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งในอีกสิบปีข้างหน้าสิ่งสำคัญที่สุดคือการกำหนดโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแรงในการขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น”คุณScarlett Sieber, Chief Strategy และGrowth Officer ของMoney20/20 กล่าวว่าพร้อมเสริมว่า “อนาคตของภูมิภาคเอเชียไม่ได้ขึ้นอยู่กับรากฐานหนึ่งเดียวที่เหมาะสมกับทุกคนในอุตสาหกรรม แต่ต้องพึ่งรากฐานของวงการทั้งหมดที่เชื่อมโยงกัน และสามารถสร้างสมดุลระหว่างนวัตกรรมและการยอมรับในระดับภูมิภาคได้อย่างแท้จริง”
คุณDaniel Webber, Founder และCEO ของFXC Intelligence กล่าวว่า “ภูมิทัศน์ด้านการชำระเงินของภูมิภาคเอเชียกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีความซับซ้อนอย่างมากเช่นกัน ซึ่งรายงานฉบับนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการร่วมมือกันอย่างตั้งใจระหว่างประเทศและภาคส่วนต่าง ๆ อีกทั้งเทคโนโลยีที่กำลังจะเข้ามามีบทบาท เพื่อให้เกิดระบบนิเวศทางการเงินที่ครอบคลุมอย่างแท้จริง การทำงานร่วมกันนั้นไม่ได้เป็นการสะท้อนถึงความท้าทายทางเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้น แต่มันคือโอกาสของความร่วมมือที่ยิ่งใหญ่ในระดับภูมิภาคด้วยที่ยิ่งใหญ่ด้วยกัน”
รายงานล่าสุดนี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าภูมิภาคเอเชียกำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ด้วยความหลากหลายของโครงสร้างพื้นฐานที่มีมานาน ความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น และนวัตกรรมดิจิทัลที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยภูมิภาคนี้จึงกำลังเปลี่ยนจากระบบการทำงานแบบเอกเทศมาสู่การร่วมมือกันตั้งเเต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยจะจับมือกันทำงานร่วมมากขึ้น โดยจะพึ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากกว่าหนึ่งเดียวเพื่อผลักดันความสำเร็จ และสำคัญที่สุดคือการที่การก้าวสู่ความสำเร็จนั้นจะถูกกำหนดโดยนโยบายที่ชาญฉลาด เทคโนโลยีที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และแนวทางการทำงานร่วมกันในทุกตลาดอย่างแข็งแกร่งและสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างไร้รอยต่อ และลงตัว