In Bangkok
ป้อมปราบเล็งยุบแผงค้าตรอกอิสรานุภาพ หลังปรับปรุงภูมิทัศน์พัฒนาสวน15นาที

กรุงเทพฯ-ป้อมปราบเล็งยุบแผงค้าตรอกอิสรานุภาพหลังปรับปรุงภูมิทัศน์ พัฒนาสวน 15 นาทีโรงเรียนวัดโสมนัส ชวนชาวชุมชนวัดโสมนัสคัดแยกขยะไม่เทรวม
(22 เม.ย. 68) เวลา 13.00 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ประกอบด้วย
ตรวจการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณตรอกอิสรานุภาพ ถนนเจริญกรุง ซึ่งเขตฯ มีโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และระบบระบายน้ำภายในตรอกอิสรานุภาพ อีกทั้งตรอกดังกล่าวมีขนาดเล็กและคับแคบ ทำให้รถยนต์ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ ถือว่าเป็นจุดเสี่ยงหากเกิดอัคคีภัย ซึ่งภายหลังปรับปรุงภูมิทัศน์และระบบระบายน้ำแล้วเสร็จ เขตฯ จะพิจารณายกเลิกจุดทำการค้าดังกล่าว เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยต่อไป ปัจจุบันเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 2 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 44 ราย ได้แก่ 1.ถนนพะเนียง ฝั่งวัดโสมนัส ผู้ค้า 11 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 09.00-15.00 น. 2.ถนนเจริญกรุง (ตรอกอิสรานุภาพ) ผู้ค้า 33 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-18.00 น. ซึ่งในปี 2567 เขตฯ ยกเลิกจุดทำการค้า 2 จุด ได้แก่ 1.ถนนดำรงรักษ์ ฝั่งโบ๊เบ๊ทาวเวอร์ ผู้ค้า 43 ราย 2.ถนนดำรงรักษ์ ฝั่งกระทรวงพัฒนาสังคม ผู้ค้า 28 ราย ยกเลิกวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ต่อมาในปี 2568 เขตฯ ยกเลิกจุดทำการค้าอีก 8 จุด ได้แก่ 1.ถนนเฉลิมเขต 2 ฝั่งธนาคารกรุงไทย ผู้ค้า 4 ราย 2.ถนนยุคล 2 ผู้ค้า 4 ราย 3.ถนนเจริญกรุง (ปากซอยศรีธรรมาธิราช) ผู้ค้า 4 ราย 4.ถนนมหาจักร ตั้งแต่ถนนเจ้าคำรบ ถึงถนนเจริญกรุง ผู้ค้า 27 ราย 5.ถนนเจ้าคำรบ ตั้งแต่ถนนวรจักร ถึงถนนมหาจักร ผู้ค้า 13 ราย 6.วงเวียน 22 กรกฎาคม (หน้าอาคารหมอมี) ผู้ค้า 5 ราย ยกเลิกวันที่ 1 มกราคม 2568 7.สวนมะลิ 1 ผู้ค้า 11 ราย ยกเลิกวันที่ 23 มกราคม 2568 8.ถนนพลับพลาไชย หน้ามูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และหน้าวัดคณิกาผล ผู้ค้า 12 ราย ยกเลิกวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมาเขตฯ ยกเลิกจุดทำการค้าไปแล้ว 10 จุด รวมผู้ค้า 151 ราย โดยผู้ค้าส่วนหนึ่งเข้าไปทำการค้าในอาคารพาณิชย์เอกชนบริเวณใกล้เคียง บางส่วนย้ายไปทำการค้าบริเวณตลาดส้ม ตลาดสะพานขาว โบ๊เบ๊ทาวเวอร์ ตลาดวรจักร คลองถมเซ็นเตอร์ อาคารแคปปิตอล เสือป่าพลาซ่า และอาคาร 555 ส่วนพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 2 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 52 ราย ได้แก่ 1.ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่หน้าโรงพยาบาลกว๋องสิว ถึงแยกหมอมี รวมผู้ค้า 24 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 09.00-16.00 น. ผู้ค้า 12 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 18.00-24.00 น. ผู้ค้า 12 ราย 2.ถนนวรจักร ตั้งแต่หน้าบ้านเลขที่ 232 ถึง 90-92 รวมผู้ค้า 28 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 09.00-15.00 น. ผู้ค้า 25 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 18.00-24.00 น. ผู้ค้า 3 ราย ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ พิจารณาหาแนวทางในการจัดระเบียบพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทำการค้าปี 67 ขอความร่วมมือผู้ค้าให้จัดเก็บอุปกรณ์ทำการค้าและทำความสะอาดพื้นที่หลังเลิกทำการค้าในแต่ละวัน เพื่อความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่
พัฒนาสวน 15 นาที โรงเรียนวัดโสมนัส ซึ่งเขตฯ ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ จัดวางม้านั่ง ตั้งวางไม้ดอกไม้ประดับ ปัจจุบันเขตฯ มีสวน 15 นาที จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ 1.สวนหย่อมวงเวียน 22 กรกฎา พื้นที่ 1 ไร่ 1 งาน 2.สวนหย่อมจักรพรรดิพงษ์ พื้นที่ 9 ตารางวา 3.สวนหย่อมและลานกีฬาศูนย์สวัสดิภาพเด็ก เยาวชน และสตรี พื้นที่ 2 งาน 4.สวนริมคลองผดุงกรุงเกษม (แยกมัฆวาน-แยกเทวกรม) พื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน 5.สวนหย่อมโรงเรียนวัดโสมนัส พื้นที่ 50 ตารางวา 6.สวนหย่อมท่าเรือผ่านฟ้า พื้นที่ 20 ตารางวา อยู่ระหว่างดำเนินการ 7.ลานกีฬาทรัพย์สินพัฒนา นางเลิ้งรวมใจ พื้นที่ 1 งาน 60 ตารางวา อยู่ระหว่างดำเนินการ ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ พิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้พื้นที่จัดทำสวน 15 นาที ให้ครบ 10 แห่ง ตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกแบบพื้นที่ภายในสวนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนที่เข้ามาใช้บริการภายในสวนอย่างแท้จริง
เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ ชุมชนวัดโสมนัส พื้นที่ 1,200 ตารางวา มีประชากร 739 คน บ้านเรือน 187 หลังคาเรือน เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี 2567 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1. ขยะอินทรีย์ โครงการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิด เขตฯ จัดอบรมให้ความรู้เรื่องขยะอินทรีย์ให้กับชุมชน การคัดแยกเศษอาหารออกจากขยะแต่ละประเภท โดยมอบถังขยะสำหรับใส่เศษอาหารให้กับชุมชน เปลี่ยนขยะเศษอาหารในครัวให้กลายเป็นปุ๋ย 2.ขยะรีไซเคิล ประชาชนคัดแยกขยะรีไซเคิล เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก มีศูนย์รับซื้อขยะรีไซเคิลในชุมชน โดยแต่ละครัวเรือนจะนำขยะรีไซเคิลมาขายเพื่อเป็นรายได้ 3.ขยะทั่วไป ตั้งจุดรองรับขยะทั่วไปบริเวณชุมชน เจ้าหน้าที่ชักลากนำไปรวบรวมที่จุดพักขยะ เขตฯ จัดเก็บทุกวัน 4.ขยะอันตราย เขตฯ จัดอบรมให้ความรู้ในการคัดแยกขยะอันตราย เพื่อให้ทราบถึงประเภทของขยะรีไซเคิล เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ ตั้งจุดรองรับขยะอันตรายรวบรวมส่งให้เขตฯ นำไปกำจัด สำหรับปริมาณขยะก่อนและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 620 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 500 กิโลกรัม/วัน ขยะรีไซเคิลก่อนคัดแยก 7 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 29 กิโลกรัม/วัน ขยะอินทรีย์ก่อนคัดแยก 15 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 90 กิโลกรัม/วัน ขยะอันตรายก่อนคัดแยก 0.5 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 1 กิโลกรัม/วัน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้คำแนะนำในการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ เพื่อให้การจัดเก็บมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งปริมาณขยะที่คัดแยกจะมีผลต่ออัตราจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยฉบับใหม่
ในการนี้มี คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สำนักเทศกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล