In Bangkok
ดอนเมืองคุมเข้มฝุ่นจิ๋วแพลนท์ปูนาหลวง พลิกที่ว่างปั้นสวนชุมชนไทเทยิ่นวิภาฯ

กรุงเทพฯ-ดอนเมืองคุมเข้มฝุ่นจิ๋วแพลนท์ปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) พลิกที่ว่างปั้นสวนชุมชนไทเทยิ่นถนนวิภาวดีรังสิต ชวนชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้คัดแยกขยะไม่เทรวม
(29 เม.ย. 68) เวลา 13.30 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตดอนเมือง ประกอบด้วย
ติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 แพลนท์ปูนบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด ถนนวิภาวดีรังสิต ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กำชับผู้ประกอบการตรวจสอบบ่อคายกากคอนกรีตและบ่อตกตะกอน ป้องกันไม่ให้มีตะกอนสะสมจนทำให้น้ำปูนล้นออกมา ตรวจสอบเครื่องฉีดพ่นละอองน้ำให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ล้างทำความสะอาดพื้นไม่ให้มีน้ำปูนหรือเศษหินเศษทรายตกค้าง ตรวจวัดค่าควันดำรถโม่ปูนให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามรอบที่กำหนด นอกจากนี้เขตฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ตามมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศและมาตรการด้านความปลอดภัยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง อาทิ ประเภทสถานประกอบการที่มีหม้อต้มไอน้ำ (Boiler) 1 แห่ง ประเภทแพลนท์ปูน 4 แห่ง ประเภทสถานที่ก่อสร้าง 2 แห่ง ประเภทตรวจวัดควันดำในสถานที่ต้นทาง 5 แห่ง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 กำชับสถานประกอบการในพื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เพื่อควบคุมค่าฝุ่น PM2.5 ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
พัฒนาสวน 15 นาที บริเวณชุมชนไทเทยิ่น ถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งเขตฯ ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ จัดทำลานเปตอง ตั้งวางม้านั่ง ปลูกไม้ยืนต้นไม้พุ่ม เพื่อเพิ่มความร่มรื่นสวยงาม ปัจจุบันเขตฯ มีสวน 15 นาที (สวนเดิม) จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1.สวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พื้นที่ 3 ไร่ 2 งาน 78 ตารางวา 2.สวนหย่อมเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษามหาราชา พื้นที่ 3 งาน 33 ตารางวา 3.สวนรื่นภิรมย์ พื้นที่ 1 ไร่ สวน 15 นาที (สวนใหม่) จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ 1.สวนหย่อมหน้าสถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง พื้นที่ 1 ไร่ 2.สวนหย่อมหน้าบริษัทการท่าอากาศยานไทย พื้นที่ 5 ไร่ 1 งาน 25 ตารางวา 3.สวนหย่อมภายในศูนย์บริการสาธารณสุข 60 รสสุคนธ์ มโนชญากร พื้นที่ 2 งาน 4.สวนหย่อมประตู 1 สนามบินดอนเมือง พื้นที่ 1 งาน 25 ตารางวา 5.ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ วิถีคนดอนเมือง พื้นที่ 4 ไร่ 4 งาน 51 ตารางวา 6.สวนนาวงประชาพัฒนา 21 พื้นที่ 3 ไร่ 7.สวนหย่อมหลังโรงเรียนเปรมประชา พื้นที่ 1 ไร่ 29 ตารางวา อยู่ระหว่างดำเนินการ 8.สวนสุขภาพ ด้านหน้า บมจ.บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ (BAFS) พื้นที่ 3 ไร่ 3 งาน อยู่ระหว่างดำเนินการ 9.สวนดอนเมือง-ไทยเทยิ่น พื้นที่ 62.5 ตารางวา 10.สวนหน้าแฟลตการท่าอากาศยานฯ พื้นที่ 2 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา 11.สวนหน้าตลาดใหม่ พื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน 12.สวน SX-Treme Road หน้าโรงเรียนดอนเมืองทหาราอากาศบำรุง พื้นที่ 1 ไร่ 13 ตารางวา ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ พิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้พื้นที่จัดทำสวน 15 นาที ให้ครบทั้ง 10 แห่ง ตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมถึงอนุรักษ์ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ในพื้นที่ไว้ตามเดิม ออกแบบพื้นที่ภายในสวนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนที่เข้ามาใช้บริการภายในสวนอย่างแท้จริง
เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ ชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้ มีบ้านเรือน 92 หลังคาเรือน ประชากร 309 คน เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี 2568 จำนวน 50 ครัวเรือน วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ โครงการไม่เทรวม ประชาชนในชุมชนคัดแยกขยะเศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ นำมาทิ้งในถังคัดแยกเศษอาหาร 2.ขยะรีไซเคิล ประชาชนในชุมชนคัดแยกขยะรีไซเคิลจากครัวเรือนและนำไปขายเอง นอกจากนี้ที่ทำการชุมชนนัดหมายขายขยะรีไซเคิลประจำเดือน ตามโครงการตลาดนัดขยะรีไซเคิลชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้ร่วมกับโครงการโดยบริษัท วงษ์พาณิชย์ ดอนเมือง 3.ขยะทั่วไป ชุมชนกำหนดจุดทิ้งพลาสติกประเภทเหนียว (โครงการ “วน”) บริเวณที่ทำการชุมชน โดยรวบรวมเก็บไว้ เขตฯ จัดเก็บ 4.ขยะอันตราย ชุมชนกำหนดจุดทิ้งขยะอันตราย/ขยะติดเชื้อ บริเวณด้านข้างที่ทำการชุมชน เขตฯ จัดเก็บตามวันเวลาที่กำหนด สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 3,200 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 2,423 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 200 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 575 กิโลกรัม/เดือน ขยะอันตรายก่อนคัดแยก 1 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 0.5 กิโลกรัม/เดือน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้คำแนะนำในการคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ เพื่อให้การจัดเก็บมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งปริมาณขยะที่คัดแยกจะมีผลต่ออัตราจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยฉบับใหม่
พร้อมกันนี้ได้สอบถามถึงการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้า ปัจจุบันเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 3 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 63 ราย ได้แก่ 1.หน้ากรมทหารสื่อสาร ถนนสรงประภา (ขาเข้า) ตั้งแต่หน้าร้าน 7-11 ถึงปากซอยสรงประภา 28 ผู้ค้า 37 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 17.00-24.00 น. 2.หน้าธนาคารทหารไทยธนชาติ ถนนสรงประภา (ขาเข้า) ตั้งแต่หน้าธนาคารทหารไทยธนชาติ ถึงหน้าธนาคารกรุงไทย ผู้ค้า 9 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 09.00-16.00 น. 3.ถนนสรงประภา (ขาออก) ตั้งแต่หน้าอาคารเลขที่ 570/8 ซอยสรงประภา 5 ถึงหน้าอาคารเลขที่ 570/407 ซอยสรงประภา 7 ผู้ค้า 17 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 17.00- 24.00 น. ส่วนพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 2 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 62 ราย ได้แก่ 1.หน้าหมู่บ้านปิ่นเจริญ 3 ถนนสรงประภา (ขาเข้า) ตั้งแต่ร้านดอนเมืองฟาร์มาซี 310/397 ถึงปากซอยสรงประภา 12 ผู้ค้า 31 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 13.00-24.00 น. 2.หน้ากรมทหารสื่อสาร ถนนสรงประภา (ขาเข้า) ตั้งแต่หน้าร้าน 7-11 ถึงปากซอยสรงประภา 30 ผู้ค้า 31 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-10.00 น. ซึ่งในปี 2567 เขตฯ ยกเลิกจุดทำการค้า 1 จุด บริเวณหน้าวัดคลองบ้านใหม่ ถนนเทิดราชัน ผู้ค้า 29 ราย ยกเลิกวันที่ 27 ก.พ. 67 นอกจากนี้ เขตฯ ได้จัดทำ Hawker center จำนวน 2 จุด ได้แก่ 1.หน้าศูนย์การค้าแฮ๊ปปี้ อเวนิว ถนนสรงประภา (ขาออก) รองรับแผงค้าได้ 20 แผงค้า ช่วงเวลาทำการค้า 14.00-21.00 น. จัดเก็บค่าใช้จ่ายตามอัตราที่ตลาดกำหนด 2.ตลาดโอโซนวัน ถนนสรงประภา (ขาออก) รองรับแผงค้าได้ 100 แผงค้า ช่วงเวลาทำการค้า 17.00-21.00 น. ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยพื้นที่ทำการค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทำการค้าปี 67 เพื่อความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่
ในการนี้มี นางกนกนุช กลิ่นสังฃ์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตดอนเมือง นายสมบัติ กนกทิพย์วรรณ ผู้อำนวยการเขตดอนเมือง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตดอนเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล