In News

ชี้ผลสำรวจนิด้า'เปิดเทอมลูกเรียนที่ไหนดี' 46%อยากเข้ารร.รัฐ/65%อยากให้รัฐช่วย



กรุงเทพฯ-ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายเพื่อการศึกษาไทย Thailand Education Partnership (TEP) เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง “เปิดเทอมแล้ว ลูกหลานเรียนที่ไหนดี” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 26 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความกังวลที่มีต่ออนาคตของเยาวชนไทยในด้านการศึกษาและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 0.05 ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความกังวลที่มีต่ออนาคตของเยาวชนไทย ทั้งในเรื่องการเข้าถึงระบบการศึกษา ความเท่าเทียม คุณภาพ การสนับสนุน และนโยบายด้านการศึกษา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.69 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล รองลงมา ร้อยละ 25.19 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล ร้อยละ 22.21 ระบุว่า กังวลมาก และร้อยละ 21.91 ระบุว่า ไม่กังวลเลย

สำหรับประเภทของโรงเรียนที่สามารถมอบการศึกษาที่มีคุณภาพดีแก่เด็กไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.26 ระบุว่า โรงเรียนรัฐ รองลงมา ร้อยละ 26.18 ระบุว่า โรงเรียนเอกชน ร้อยละ 7.18 ระบุว่า โรงเรียนนานาชาติ ร้อยละ 6.87 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ ร้อยละ 5.80 ระบุว่า โรงเรียนสาธิต ร้อยละ 5.04 ระบุว่า โรงเรียนสองภาษา (Bilingual School) ร้อยละ 1.22 ระบุว่า โรงเรียนศาสนา และโรงเรียนทางเลือก (โรงเรียนที่มีระบบการศึกษาแบบเปิดให้มีความยืดหยุ่น ทั้งในด้านหลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผล โดยเน้นพัฒนาทักษะตามความสามารถเฉพาะตัวของเด็ก) ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 0.23 ระบุว่า โฮมสคูล (Homeschool เป็นแบบการศึกษาที่ผู้เรียนเลือกใช้บ้านเป็นฐานการเรียนรู้แทนการไปเรียน โดยมีพ่อแม่หรือผู้ปกครองเป็นครูผู้สอน)

ทั้งนี้เหตุผลที่ประชาชนเลือกประเภทของโรงเรียนที่สามารถมอบการศึกษาที่มีคุณภาพดีแก่เด็กไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.64 ระบุว่า ครูมีคุณภาพ รองลงมา ร้อยละ 44.75 ระบุว่า หลักสูตรที่ทันสมัย ร้อยละ 33.69 ระบุว่า ใกล้บ้าน ร้อยละ 32.46 ระบุว่า โรงเรียนมีอุปกรณ์การเรียน การสอนที่ทันสมัย ร้อยละ 31.31 ระบุว่า ราคาที่เหมาะสม ร้อยละ 26.48 ระบุว่า มีสังคมที่ดีในโรงเรียน ร้อยละ 26.23 ระบุว่า ความปลอดภัย ร้อยละ 15.33 ระบุว่า เด็กได้ภาษาที่ 2 (เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นต้น) ร้อยละ 11.23 ระบุว่า ชื่อเสียงที่ผ่านมาของโรงเรียน และร้อยละ 8.03 ระบุว่า การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็ก

สำหรับการมีโอกาสให้บุตรหลานหรือเยาวชนในความดูแลได้เข้าเรียนในโรงเรียนตามที่เลือกไว้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 58.44 ระบุว่า มีโอกาสทุกคน รองลงมา ร้อยละ 15.16 ระบุว่า ไม่มีใครมีโอกาส ร้อยละ 12.63 ระบุว่า มีโอกาสบางคน ร้อยละ 11.23 ระบุว่า ไม่มีบุตรหลาน/เยาวชนในความดูแล และร้อยละ 2.54 ระบุว่า บุตรหลานในความดูแลยังไม่ถึงวัยเข้าโรงเรียน โดยผู้ที่ระบุว่า มีโอกาสบางคน และไม่มีใครมีโอกาส ให้เหตุผลที่ทำให้บุตรหลานหรือเยาวชนในความดูแลบางคนหรือทุกคนไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนตามรูปแบบที่เลือกได้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 56.05 ระบุว่า ค่าใช้จ่ายสูงเกินไป รองลงมา ร้อยละ 14.16 ระบุว่า อยู่ไกลบ้าน ร้อยละ 8.55 ระบุว่า สอบไม่ผ่าน และบุตรหลาน/เยาวชนในความดูแล ปฏิเสธที่จะทำตาม ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 7.97 ระบุว่า รับจำนวนจำกัด และร้อยละ 4.72 ระบุว่า ในอดีตไม่มีโรงเรียนที่มีรูปแบบที่หลากหลายอย่างปัจจุบัน

ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนถึงหน่วยงานที่จะสามารถช่วยเหลือประชาชนในการสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 65.50 ระบุว่า รัฐบาล (รวมกระทรวงและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง) รองลงมา ร้อยละ 18.86 ระบุว่า ไม่มีภาคส่วนใดทำได้ ต้องพึ่งพาตนเอง ร้อยละ 9.54 ระบุว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 4.12 ระบุว่า ผู้ประกอบการภาคธุรกิจ (เช่น การเปิดโรงเรียนเองของภาคธุรกิจ) ร้อยละ 1.45 ระบุว่า ประชาสังคม หรือ องค์กรไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.63 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 17.94 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.78 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.28 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.51 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก โดยตัวอย่าง ร้อยละ 47.48 เป็นเพศชาย และร้อยละ 52.52 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 20.38 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 20.69 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 29.62 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 29.31 อายุ 60 ปีขึ้นไป โดยตัวอย่าง ร้อยละ 97.33 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 1.98 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.69 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 20.08 สถานภาพโสด ร้อยละ 76.18 สมรส และร้อยละ 3.74 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ โดยตัวอย่าง ร้อยละ 0.76 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 19.54 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 31.68 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 10.31 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 32.44 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.27 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 11.53 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.01 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 25.04 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.68 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.43 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน และร้อยละ 20.31 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน

ตัวอย่าง ร้อยละ 15.19 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 2.82 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 15.04 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 33.13 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 12.90 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.34 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.44 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 1.53 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.23 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001-70,000 บาท ร้อยละ 0.15 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 70,001-80,000 บาท ร้อยละ 1.07 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.16 ไม่ระบุรายได้