Authority & Harm
หลุดกะลา!ร่วมตัวหน้าศาลากลางปราจีนฯ ค้านดึงปราจีนฯร่วมอีอีซี/จริตกลัวจีนเทา

ปราจีน บุรี--ภาคประชาสังคม จ.ปราจีนบุรีแถลงการณ์หน้าศาลากลาง จ.ปราจีนบุรี แสดงเจตนารมณ์ค้านการเสนอให้ปราจีนบุรีเป็นพื้นที่ขยายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ไม่เอาทุนจีนเทา พร้อมเรียกร้องให้ยุติการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) โครงการจัดจ้างที่ปรึกษาจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการขยายพื้นที่เขต EEC จนกว่าจะมีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) อย่างมีส่วนร่วมจากประชาชน
เมื่อเวลา 09.30 น.วันนี้ 19 พ.ค.68 ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ปราจีนบุรี ได้รับแจ้งที่ด้านล่าง หน้าศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี ต.ไม้เค็ด อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี มีตัวแทนภาคประชาชนในแต่ละอำเภอของจังหวัดปราจีนบุรี อาทิ นายสุนทร คมคาย อดีตผู้สมัคร สส.ปราจีนบุรี ,นายอภิชาต ทันพุฒิ อดีตผู้สมัคร สส.ปราจีนบุรี, นายวิโรจน์ น้อยสำเนียง จากกลุ่มรักเมืองปราจีนบุรี, นางสาววุรุณี พาวงษ์บล จากวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลดงบัง, นางระตะนะ ศรีวรกุล ประธานเครือข่ายเกษตรอินทรีย์จังหวัด, นายสุเมธ เหรียญพงษ์นาม จากกลุ่มปราจีนบุรีเข้มแข็ง นายคณิตเจือจาน รองประธานสภา เกษตร ปราจีนบุรี และ ทนายศุภอรรถ เกตุแก้วมณี ทนายความ และ ตัวแทนจากกลุ่มต่าง ๆ ในแต่ละอำเภอ รวมทั้งสิ้น 7 แห่ง รวมประมาณ 150 คน พร้อมมีการไลฟ์สดผ่านเฟสบุ๊ค
ได้ร่วมกันชูป้ายคัดค้านแสดงเจตนารมณ์อย่างเป็นทางการต่อผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี นายวีระพันธ์ ดีอ่อน ผู้ว่าราชการจังหวัด เรียกร้องให้ยุติหรือระงับกระบวนการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขยายพื้นที่เขต EEC จนกว่าจะมีการศึกษา SEA ที่ครอบคลุมและมีส่วนร่วมของภาคประชาชนทุกระดับ โดยเสนอให้จัดเวทีแลกเปลี่ยนข้อดี-ข้อเสียระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน ทั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ อส.คอยสังเกตุการณ์
จากนั้นผลัดกันกล่าวปราศรัย ต่อต้านให้ปราจีนบุรีเป็นพื้นที่ขยายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พร้อมเรียกร้องให้ยุติการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) โครงการจัดจ้างที่ปรึกษาจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการขยายพื้นที่เขต EEC จนกว่าจะมีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) อย่างมีส่วนร่วมจากประชาชน
และ ได้อ่านแถลงการณ์ มีเนื้อหาระบุดังนี้ ... แถลงการณ์เครือข่ายปราจีนเข้มแข็ง เรื่อง ขอคัดค้านการนำจังหวัดปราจีนบุรีเข้าสู่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อขยายพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC มาที่จังหวัดปราจีนบุรีตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2568 นั้น
พวกเราเครือข่ายปราจีนเข้มแข็งและภาคีเครือข่ายไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวคิดดังกล่าว โดยมีเหตุลสำคัญ ดังนี้ 1. พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 หรือ EEC เป็นกฎหมายที่สร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างพลเมืองไทยกับนายทุนต่างชาติแบบสุดขั้ว ด้วยการสร้างมาตรการ ลด แลก แจก แถม ให้ทุนต่างชาติในหลายมิติ
2. เป็นกฎหมายที่เกิดในยุครัฐบาลคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คลช.) ที่อาศัยอำนาจพิเศษ (มาตรา 44ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557) อันเป็นกฎหมายที่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนมากที่สุดฉบับหนึ่ง
3. การบริหารงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ภายใต้กฎหมาย EEC ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 ถึงปัจจุบัน ถือเป็นความล้มเหลว โดยเฉพาะประเด็นการควบคุมและจัดการมลพิษ ขยะพิษ และกากอุตสาหกรรมอันตราย ที่ไม่สามารถกำกับควบคุมการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนกลายเป็นปัญหาเพิ่มหนักขึ้นดังปรากฎเป็นข่าวแทบรายวัน
4.กฎหมาย EEC กลายเป็นเครื่องมือเอื้อประโยชน์ให้เกิดธุรกิจสีเทา นำไปสู่การกระทำความผิดหรือการละเลยความรับผิดชอบต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศในด้านต่างๆ เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม สังคมวัฒนธรรม สิทธิชมชน จนทำให้คนท้องถิ่นดั้งเดิมกลายเป็นพลเมืองชั้นสอง
5. การขยายพื้นที่ EEC มาจังหวัดปราจีนบุรี อ้างถึงเหตุผลทางเศรษฐกิจเป็นที่ตั้ง และมองมิติด้านฐาน
ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม พื้นที่การเกษตร และมิติทางด้านสังคมวัฒนธรรมเป็นเรื่องรอง โดย อธิบายว่าการพัฒนาต้องต้องยอมแลกกันบ้างเพื่อความเจริญ ทั้งที่ความเจริญเหล่านั้นไม่ได้เป็นของประชาชนในพื้นที่โดยตรง แต่เป็นของทุนต่างชาติมากกว่า
6. สำนักงาน EEC ต้องประเมินผลสัมฤทธิ์ของการใช้กฎหมาย EEC ตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เสียก่อน เพื่อให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของกฎหมายที่ใช้มาแล้วมากกว่า 5 ปี ก่อนที่จะนำกฎหมายนี้มาใช้กับจังหวัด ปราจีนบุรี
7.ประชาชนชาวปราจีนบุรีต้องมีสิทธิ์ตัดสินใจต่ออนาคตของตนเอง ซึ่งเขาต้องได้รับคำอธิบายเนื้อหาของ กฎหมาย EEC ทุกมาตรา เพื่อได้เข้าใจถึงผลดีผลเสียของกฎหมายดังกล่าว ประกอบการตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมหรือ ไม่เข้าร่วม EEC
เหตุผลทั้ง 7 ข้อ เป็นข้อสังเกตเบื้องต้นจากเครือข่ายปราจีนเข้มแข็งและองค์กรภาคีเครือข่ายอื่นๆที่มากันในวันนี้หากเป็นเหตุผลมากพอที่จะบอกกับรัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกว่าเราไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ท่านจะนำจังหวัดปราจีนบุรีเข้าไปอยู่ในเขตพิเศษภายใต้กฎหมาย EEC จึงขอประกาศ "คัดค้าน" นโยบายนี้จนถึงที่สุด
จากนี้ไปพวกเราจะทำการสื่อสารรณรงค์ทุกรูปแบบเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชนชาวจังหวัดปราจีนบุรีเห็นถึง "ภัยคุกคาม" ที่กำลังเข้ามาผ่านระบบและกลไกของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ทั้งนี้ พวกเรา จะประสาน กับกลุ่ม องค์กร ภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ให้ออกมาส่งเสียงเรียกร้องและเคลื่อนไหวร่วมกันให้เป็นวาระประชาชนเพื่อ"หยุดขบวนการยกปราจีนให้กับนายทุนจีน" จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายจึงแถลงมา ณ โอกาสนี้ ด้วยความเชื่อมั่นลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2568และก่อนแยกย้ายกันกลับ ได้ร่วมสักการะอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 หน้าศาลากลาง จ.ปราจีนบุรี ด้วย
นาย ศุภอรรถ เกตุแก้วมณี ทนายความ กล่าวว่า เรามาคัดค้านเศรษฐกิจพิเศษ ที่จะมาลง ในจังหวัด ปราจีนบุรี เป็นจังหวัดที่ 4 .ในภาคตะวันออก หลายคนไม่เห็นด้วยว่าภาคเกษตร คนประจีนไม่ได้ประโยชน์นอกจากนายทุน จ.ปราจีนฯ อุตสาหกรรมเกิดมา 20 ปีที่ผ่านมานี้มีพื้นที่นิคม 2 นิคมประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไรจะเอาเข้ามาอีกโดยอีซีจะถูกควบคุมทั้งจังหวัดโดยพื้นที่เรานั้นเน้นสมุนไพรเพื่อการเกษตรก็จะถูกนายทุนที่จะเอาโรงงานเข้ามาตั้งในพื้นที่ ในโรงงานเราเป็นห่วงประชาชนรวมตากัน ประมาณร้อยกว่าคน ที่จะมาคัดค้าน ภาคประชาชนยังไม่ได้พิจารณาก็ให้เลื่อนไปก่อน ให้ทบทวนว่าผลประโยชน์ ตกที่ใคร วันนี้มารวมกลุ่มกันเพื่อต่อต้านมา แสดงสัญลักษณ์จุดยืน มาคุยหา ทางออกร่วมกันกับ ภาคเกษตรกร ต้องประนีประนอมกัน
ด้านนาย คณิต เจือจาน อายุ 69 ปี รองประธานสภาเกษตรกร กล่าวเสริมว่า มีความเห็น เรารู้อยู่ปัญหาที่เกษตรกร เรื่องน้ำมลพิษยังแก้ไม่ได้ สภาเกษตร มีหน้าที่ จะประสานทุกอย่างของเกษตรกรเท่านั้น ต้องส่งเรื่องเข้าระบบข้าราชการอยู่ที่ข้าราชการจะขยับ ได้แค่ไหน ยังค้างคาอยู่อีกเยอะมากมายเลยการทับถมก็จะไม่หมด