In Global

การประชุมสุดยอดจีน-เอเชียกลางครั้งที่2 จุดเปลี่ยนสู่ความร่วมมือระดับภูมิภาค



การประชุมสุดยอดจีน–เอเชียกลางครั้งที่สอง ณ กรุงอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน ได้ยกระดับความร่วมมือระดับภูมิภาคไปอีกขั้น โดยเปลี่ยนจากฉันทามติในเชิงปรารถนาในการประชุมที่ซีอาน ประเทศจีน ปี 2023 สู่ “ระเบียบวาระเชิงปฏิบัติ” ที่เป็นรูปธรรม

นี่ไม่ใช่แค่เวทีการทูตธรรมดา แต่เป็นสัญลักษณ์ของการเติบโตเต็มที่ของความสัมพันธ์ที่มีรากฐานมาจาก “จิตวิญญาณแห่งจีน–เอเชียกลาง” ตามที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงกล่าวไว้ ซึ่งประกอบด้วยหลักการแห่ง ความเคารพซึ่งกันและกัน ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ผลประโยชน์ร่วมกัน และความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จิตวิญญาณนี้กำลังได้รับการแสดงออกในรูปของข้อตกลงที่จับต้องได้ มุ่งสู่การสร้างประชาคมร่วมแห่งอนาคต ซึ่งแตกต่างจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอื่นของโลก

เมื่อทั้ง 6 ประเทศเริ่มต้น “ปีแห่งความร่วมมือและการพัฒนาคุณภาพสูง” สำหรับช่วงปี 2025–2026 ข้อความจากอัสตานาจึงชัดเจน: ความเป็นหุ้นส่วนนี้มุ่งเน้นที่ ความมั่งคั่งและเสถียรภาพในระยะยาวที่จับต้องได้

จากพิมพ์เขียวสู่การลงมือปฏิบัติ: ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม

การประชุมสุดยอดที่อัสตานาคือการประชุมแห่ง “เนื้อหา” อย่างแท้จริง รายการผลลัพธ์ที่กระทรวงการต่างประเทศจีนเผยแพร่ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ครอบคลุมและลึกซึ้ง ทั้งในด้านแนวทางและการปฏิบัติจริง

มีการลงนามข้อตกลงที่ผ่านการเจรจาอย่างละเอียดหลายฉบับ ครอบคลุมตั้งแต่การอำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุนในอุตสาหกรรม การพัฒนาเกษตรกรรม ไปจนถึงการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน สะท้อนจากตัวเลขการค้าในปี 2024 ซึ่งสูงถึง 9.4หมื่นดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างจีนกับ 5 ประเทศเอเชียกลาง

หัวใจของความร่วมมือนี้คือ “จิตวิญญาณแห่งจีน–เอเชียกลาง” ซึ่งหยั่งรากจากประวัติศาสตร์อันยาวนานของเส้นทางสายไหมกว่า 2,000 ปี โดยยึดหลัก ความเท่าเทียมของอธิปไตย การแก้ปัญหาแบบปรึกษาหารือ และการไม่แบ่งขั้ว ซึ่งแตกต่างจากการเมืองแบบกลุ่มหรือการแข่งขันแบบได้-เสีย

สำหรับประเทศเอเชียกลางที่เคยเป็นเป้าหมายของอิทธิพลจากชาติมหาอำนาจแนวทางนี้คือทางเลือกใหม่ที่เปิดโอกาสให้พวกเขากำหนดเส้นทางพัฒนาของตนได้ พร้อมกับความร่วมมือจากประเทศที่ เคารพในอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของตน

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือการจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือใหม่ในด้าน การลดความยากจน การแลกเปลี่ยนด้านการศึกษา และการควบคุมปัญหาการแปรสภาพเป็นทะเลทราย ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาที่เน้น “ประชาชนเป็นศูนย์กลาง”

ปฏิญญาอัสตานา: การพัฒนาแนวคิดจากปฏิญญาซีอาน

เมื่อเปรียบเทียบ “ปฏิญญาอัสตานา” กับ “ปฏิญญาซีอาน” จะเห็นพัฒนาการอย่างชัดเจน

ปฏิญญาซีอาน วางรากฐานและพิมพ์เขียวความร่วมมือ ขณะที่ปฏิญญาอัสตานา คือการ ลงมือปฏิบัติ ผ่านแผนและโครงการที่เป็นรูปธรรม

ตัวอย่างเช่น จากที่เคยพูดถึงการ “ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า” ในซีอาน กลายเป็น “การอัปเกรดข้อตกลงการลงทุน และลดขั้นตอนทางการค้า” ในอัสตานา รวมถึงการเดินหน้าโครงการรถไฟ จีน–คีร์กีซสถาน–อุซเบกิสถาน อย่างเป็นรูปธรรม

การประกาศให้ ปี 2025–2026 เป็น ‘ปีแห่งความร่วมมือและการพัฒนาคุณภาพสูง’ ยังช่วยกำหนดกรอบเวลาและเป้าหมายร่วมอย่างชัดเจน มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีเทคโนโลยี และใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ภายใต้แนวคิด Belt and Road ที่ตอบรับเสียงวิจารณ์ในอดีต

สนธิสัญญาเพื่อนบ้านถาวร: สถาปนาสถาปัตยกรรมความมั่นคงใหม่

อีกหนึ่งผลลัพธ์สำคัญของการประชุมคือ การลงนามใน “สนธิสัญญาเพื่อนบ้านถาวรและความร่วมมือ”

คำว่า “ถาวร” มีนัยสำคัญอย่างยิ่ง แสดงถึงความมุ่งมั่นระยะยาว ไม่ใช่แค่ทางการทูต แต่เป็นการรับรองว่าความสัมพันธ์นี้จะคงอยู่ และตั้งอยู่บนหลักการ ไม่รุกราน, สนับสนุนซึ่งกันและกัน, แก้ปัญหาด้วยสันติวิธี

ในยุคที่โลกเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ สนธิสัญญานี้เป็น “รากฐานแห่งเสถียรภาพ” ในเอเชียกลาง และยังถือเป็น ต้นแบบทางการทูตระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ของจีนอีกด้วย

แนวคิดเบื้องหลังความร่วมมือจีน–เอเชียกลางคือ “การพัฒนาเป็นหลักประกันสันติภาพที่ดีที่สุด” เพราะเมื่อมีงาน มีรายได้ และคุณภาพชีวิตดี ความขัดแย้งย่อมน้อยลง

ศูนย์กลางใหม่แห่งเสถียรภาพในยูเรเซีย

การประชุมที่อัสตานาไม่ได้เป็นเพียงความคืบหน้าเชิงทวิภาคี แต่คือการ สร้างศูนย์กลางใหม่ของความมั่นคงและการพัฒนาในใจกลางยูเรเซีย

จาก “แนวคิด” ที่ซีอาน สู่ “การลงมือทำ” ที่อัสตานา กลไกความร่วมมือนี้แสดงให้เห็นถึง ความคล่องตัวและประสิทธิภาพ

การประกาศมิตรภาพแบบถาวร พร้อมแผนพัฒนาร่วมที่ชัดเจน สร้าง “จุดยึดที่มั่นคง” ในโลกที่ผันผวน นี่ไม่ใช่แค่การทูตภูมิภาคธรรมดา แต่คือการ สร้างประชาคมร่วมแห่งอนาคต บนพื้นฐานของความเคารพซึ่งกันและกันและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน

หากความร่วมมือนี้เดินหน้าต่อไปอย่างมั่นคง จะไม่เพียงแต่กำหนดทิศทางของเอเชียกลางเท่านั้น แต่ยังเป็น ต้นแบบใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่เน้นการพัฒนาเพื่อความมั่นคง และการมีผลประโยชน์ร่วม แทนที่จะยึดกับพันธมิตรผันแปร

แหล่งข้อมูล: https://news.cgtn.com/news/2025-06-20/From-consensus-to-action-in-new-era-of-China-Central-Asia-relations-1EmhI3XRnqM/p.html