Authority & Harm

ชาวนาโอด!ไม่ได้รับเงินชดเชยไร่ละพัน ร้องรัฐบาลชุดใหม่ดูแลราคาตกต่ำด้วย



ปราจีนบุรี-ชาวนาร้องทุกข์ชาวนาทั่วไทยยังไม่ได้รับเงินชดเชยไร่ละ1000บาท  พร้อมเรียกร้องถึงรัฐบาลชุดใหม่ราคาข้าวตกต่ำสุดเหลือเพียง 5,100 - 5,200 บาท ต่ำกว่าราคาต้นทุนที่ชาวนาลงทุนสูงมากกว่า 5,000 บาท/ไร่    ขณะ สส.ปราจีนฯแจงได้อภิปรายในสภาเมื่อเร็ว ๆนี้แล้ว

เมื่อเวลา 17.30 น.วันนี้ 6 ก.ค.68  ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ปราจีนบุรี   ได้รับร้องทุกข์ชาวบ้านจากนายพยนต์  พฤกษา  อายุ 6 ปี อดีตกำนัน ต.บางยาง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี  กล่าวว่า  พื้นที่เขตทุ่ง อ.บ้านสร้าง เป็นแหล่งผลิตในการทำนาปรังมากที่สุดของ จ.ปราจีนบุรี    ในขณะนี้ชาวนา ยังไม่ได้รับเงินชดเชยนาข้าวจากทางรัฐบาล    จึงฝากผ่านสื่อมวลชนเรื่องทวงเงินให้ชาวบ้านในทดแทนการผลิต ที่ชาวนาจะได้รับคนละ 1,000 บาท/ไร่  แต่ไม่เกิน 10 ไร่ที่ผ่านมา นั้นชาวบ้านยังไม่รับกัน ตั้งแต่ผลผลิตที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ผลผลิตงวดที่ 2 กำลังออกแล้ว ด้วย    นายพยนต์  กล่าว

และ กล่าวต่อไปว่า    ส่วนราคาข้าวก่อนหน้า  เดิมราคาขาย 10,000 กว่าบาท /ตัน    แต่ตอนนี้ ราคาขายข้าลดลงเหลือเพียง 5000 – 6000 บาท/ตัน   ต่ำกว่าราคาต้นทุนที่ชาวนาลงทุนสูงมากกว่า 5,000 บาท/ไร่    หากชาวนาทำนามากขายราคานี้อาจเสมอตัว  เกษตรกรทำน้อยต้องขาดทุนอ   ส่วน กำไรไม่ต้องไปหวังกัน   นายพยนต์  กล่าว

ด้าน นายอำนาจ วิลาวัลย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี พรรคภูมิใจไทย เขต 1   กล่าวว่า  กรณีเรื่องเงินชดเชยของาวนาทั่วประเทศที่ยังไม่ไดรับนั้นที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆนี้ (วันที่ 3 กรกฎาคม ) ได้หารือประธานสภาผู้แทนราษฎร ผ่านทางรัฐสภา     ถึงกรณีเงินเยียวยาข้าวนาปรังไร่ละ 1,000 บาท  ไม่เกิน 10ไร่  ของชาวนา   ได้ทวงว่าเมื่อไหร่จะได้    และตนได่ฝากถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ท่านใหม่ว่า     ตอนนี้ราคาข้าวเหลือตันละ 5,100 - 5,200 บาท ต่ำกว่าราคาต้นทุน ฝากช่วยเร่งรัดหาวิธีดําเนินการแก้ไขให้ข้าวมีราคาที่สูงขึ้นด้วย

“พรอมยัง สอบถามถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2568 เกิดเหตุการณ์ดินทรุด ตลิ่งริมแม่น้ำปราจีนบุรี บริเวณหมู่ 2 และ หมู่ 3 ตําบลบางกระเบา อําเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี บ้านเรือนได้รับความเสียหายไป 3 หลัง และยังมีอีกหลายหลังที่มีโอกาสจะเกิดเหตุ ผมได้ประสานทางอําเภอ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน และทางอําเภอได้ประสานไปที่ ปภ.จังหวัด สำนักงานโยธา กรมเจ้าท่า กรมชลประทาน อบจ. อบต. ลงไปดูพื้นที่ และวางแผนงานเพื่อแก้ไขสร้างเขื่อนกันดิน   ให้กับพี่น้องประชาชน ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2568 ที่ลงไปดูหน้างาน จนถึงวันนี้ยังไม่มีหน่วยงานใดไปแก้ไขให้กับพี่น้องประชาชนเลย จึงอยากประสานไปยังหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องช่วยเร่งรัดดําเนินการ ก่อนที่บ้านเรือนประชาชนที่อยู่ริมแม่น้ำ อีกกว่า 30 ครัวเรือนจะพังทลายลงไป” นายอำนาจกล่าว

มานิตย์   สนับบุญ/ ปราจีนบุรี