Authority & Harm

ปราจีนบุรีรุกตรวจลักลอบทิ้งขยะอุตฯอีก ชี้18ล้อขนจากชลบุรีและแปดริ้วเร่งสอบ



มานิตย์  สนับบุญ081-5583238/ทองสุข  สิงห์พิมพ์/ปราจีนบุรี23072568 ปราจีนบุรี ตรวจสอบลักลอบทิ้งเศษขยะอุตสาหกรรม

วันที่ 23 ก.ค.68 ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ปราจีนบุรีได้รับแจ้งว่ามีรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อจำนวน 6 คันลักลอบนำเศษขยะอุตสาหกรรมมาทิ้งข้างป่ายูคาลิปตัสในพื้นที่หมู่ที่ 7 ต.บ้านนา อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปตรวจสอบอย่างจุดรับแจ้งพบเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองโดยนายธรรมรัฎฐ์ งามแสง นายอำเภอกบินทร์บุรี กำนันตำบลบ้านนา ผู้ใหญ่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ตำรวจสภ.กบินทร์บุรี และอุตสาหกรรมจังหวัดร่วมตรวจสอบจุดที่มีการลักลอบนำเศษขยะอุตสาหกรรมมาทิ้ง นายมานิตย์ ช่างสี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 กล่าวว่า ตนได้มาพบเห็นรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อจำนวน5คันการนำเศษขยะมาทิ้งในบริเวณนี้ ตนจึงรีบแจ้งกำนันแจ้งนายอำเภอทราบและห้ามนำรถบรรทุกออกจากจุดที่นำมาทิ้ง เพื่อรอให้ทางเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ จุดบริเวณที่นำขยะมาทิ้งเป็นที่ดินของนายไพศาล ศิลาแลง 

นายไพศาลกล่าวว่า มีคนมาบอกว่ามีดินลูกรังให้มาถมที่ซึ่งตนเองก็อยากได้ลูกรังมาถมที่ดินเพื่อที่จะทำการการเกษตร ไม่รู้ว่าเป็นเศษขยะอุตสาหกรรมหรืออะไร ซึ่งนำมาถมที่เป็นครั้งที่ 2  กระทั่งมีเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ และได้แจ้งให้ทราบว่าไม่ใช่เป็นดินลูกรังแต่เป็นเศษขยะเศษสายไฟต่างๆ 

นายวิเชียร ทองด้วง อุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรีกล่าวว่า ได้รับแจ้งจากนายอำเภอกบินทร์บุรีว่า ได้รับแจ้งจากชาวบ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมีการลักลอบนำเศษขยะสายไฟมาทิ้งในพื้นที่หมู่ที่7 บ้านเขาน้ำจั่น ต.บ้านนา อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดฯได้ประสานมายังตนให้ตรวจสอบ จึงลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่ามีรถบรรทุก 6คัน บรรทุกขยะจำพวกสายไฟบดละเอียดและเศษขยะอื่นๆ ซึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นขยะปนเปื้อนสารพิษหรือสารเคมีหรือไม่อย่างไร

เบื้องต้นจากการสอบถามคนขับรถบรรทุกพ่วงให้การว่าได้บรรทุกสิ่งของมาจากชลบุรีและฉะเชิงเทรา ซึ่งจะได้ทำหนังสือประสานไปยังอุตสาหกรรมทั้ง 2 จังหวัด ในส่วนขยะที่นำมาทิ้งทางอุตสาหกรรมจังหวัดได้เก็บตัวอย่างเพื่อไปตรวจสอบว่าสิ่งที่นำมาทิ้งในบริเวณนี้ สอบถามเจ้าของที่ดินให้ข้อมูลว่า อยากได้ดินลูกรังมาถมที่เพื่อที่จะปลูกยูคาลิปตัสแต่ไม่ทราบว่าเป็นเศษขยะ ซึ่งเศษขยะอุตสาหกรรมดังกล่าวนี้จะมีสารชนิดใดเจือปนมาหรือไม่ อาจมีกลิ่นตามาอาจมีผลกระทบด้านใดตามมาหรือไม่และจะไปแจ้งความดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป

และเมื่อเวลา 22.20   น.วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ปราจีนบุรี  นายวิเชียร ทองด้วง อุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี แจ้งในไลน์กลุ่มผู้ว่าพบสื่อมวลชน   ระบุว่าพร้อมด้วยนายปิยะ ยินขุนทด วิศวกรชำนาญการพิเศษ และนายปรัชญา วารสิทธิ์ วิศวกรปฏิบัติการ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกับอำเภอกบินทร์บุรี องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา สถานีตำรวจภูธรกบินทร์บุรี เข้าร่วมตรวจสอบบริเวณพื้นที่หมู่ที่7 ตำบลบ้านนา อำเภอกบินทร์บุรี เนื่องจากมีประชาชนแจ้งว่าพบการลักลอบนำกากอุตสาหกรรมจากโรงงานมาทิ้งไว้ในบริเวณดังกล่าว

 ขณะเข้าตรวจสอบพบว่า มีรถบรรทุกพร้อมพ่วง จำนวน 4 คัน บรรทุกกากอุตสาหกรรม จำพวกเศษพลาสติกบดย่อย สายไฟบดย่อยเยื่อกระดาษกองถม เป็นต้น อยู่ระหว่างเตรียมการเทกากอุตสาหกรรมลงพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ยังพบเศษกากอุตสาหกรรมถูกถมในบริเวณพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ 1 งาน เต็มบริเวณ โดยความสูงประมาณ 6 เมตร 

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี จึงได้เก็บตัวอย่างกากอุตสาหกรรมดังกล่าว ส่งให้ศูนย์วิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงานภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ตรวจวิเคราะห์ในลำดับถัดไป ทั้งนี้ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรีได้ดำเนินการลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ณ สถานีตำรวจภูธรกบินทร์บุรี และจะได้ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

พ.ต.ท.วิฑูรย์วงใหญ่ เปิดเผยว่าได้รับแจ้งความลักลอบนำกากอุตสาหกรรมจากโรงงาน   จากนายวิเชียร ทองด้วง   อุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ.2535 และ คณะผู้ร่วมตรวจสอบ ประกอบด้วย นายอำเภอกบินทร์บุรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา กำนันตำบลบ้านนา ผู้ใหญ่บ้าน ม.7 ต.บ้านนาได้ร่วมกันตรวจสอบสถานที่ ทิ้งกากอุตสาหรรมในบริเวณพื้นที่ บ่อลูกรังเก่า พิกัดภูมิศาสตร์13.96912139-101.89183190 โดยมีนายไพศาล ศิลาแลง ให้การยอมรับเป็นเจ้าของที่ดินและมีการยินยอมให้นำกากอุตสหกรรมมาทิ้งในที่ดินของตนเอง ตั้งอยู่ ณ ม.7 ต.บ้านบุเสี้ยว(หลังวัดเขาน้ำจั่น) ต.บ้านมาฯ

 ลักษณะของกากอุตทกกรรมหรือสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุใช้แล้วเป็นเศษไฟฟ้าบดย่อย และ คัดแยกโลหะมีค่า (ทองแดง) แล้วเยื่อกระดาษกองถมในพื้นพื้นที่ 2 ไร่ 1 งานความลึก 7 เมตร มีปริมาตรรวม 6,000 ลบ.ม.ขณะตรวจสอบพบรถบรรทุกพร้อมพ่วงจำนวน 4 คันบรรทุกกากอุตสาหกรรมมาทิ้งในพื้นที่ดังกล่าว 

พนักงานเจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.กบินทร์บุรี จับกุมเจ้าของรถ พร้อมรถบรรทุกจำนวน 4 คัน มอบให้ สภ.กบินทร์บุรี ดำเนินคดีดีต่อไปรายละเอียดรถบรรทุก   รถบรรทุก อีซุซู สีเขียว ทะเบียน 84-6837 นครสวรรค์ พ่วงสีเขียว ป้ายดำ ทะเบียน 84-5733นครสวรรค์, รถบรรทุก ฮีโน่ สีเขียว ทะเบียน 84-5732 นครสวรรค์ พ่วงสีฟ้า ป้ายดำ ทะเบียน 8นครสวรรค์  ,  รถบรรทุก สึไม่ สีฟ้า ทะเบียน 84-5888 ข้อภูมิ พ่อเสีฟ้า ป้ายทำ ทะเบียน 84-5889   , รถบรรทุก ฮีโน่ สีเทา ทะเบียน 85-5375 ขอนแก่น พ่วงสีเทา ป้ายดำ ทะเบียน 85-5376พนักงานเจ้าหน้าที่ได้แจ้งดำเนินคดีกับพนักงานสอบ เพื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และให้พนักงานสอบสวนสืบสวนสอบสวนหาที่มาของกากอุตสาหกรรมดังกล่าวเพื่อดำเนินคดีให้ถึงที่สุดต่อไป

วันเดียวกัน   ผู้สื่อข่าวรายงาน    ได้รับแจ้งจากนายสุนทร คมคาย  เครือข่ายปราจีนเข้มแข็ง    เครือข่ายชาวปราจีนเข้มแข็ง  นำกลุ่มปราจีนเข้มแข็ง  กว่า 30 คน  มายื่นหนังสือที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในนามของเครือข่ายปราจีนบุรีเข้มแข็งและเครือข่าย 304กินได้   ยื่นหนังสือขอติดตามความคืบหน้าการพิจารณาคำขอคัดค้านการเสนอจังหวัดปราจีนบุรีเป็นพื้นที่ขยาย EEC ต่อเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 

 และได้เลยต่อไปยื่นหนังสือกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอให้เปิดเผยข้อมูลเวทีชี้แจงโครงการศึกษาความเหมาะสมในการขยายพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในจังหวัดปราจีนบุรี

มีการยื่นหนังสือคัดค้านการเสนอจังหวัดปราจีนบุรีเป็นพื้นที่ขยาย EEC ต่อเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2568 แล้วนั้น เครือข่ายยังไม่ได้คำตอบและการอธิบายใดๆจากทางคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 

อีกทั้งการดำเนินการศึกษาความเหมาะสมในการขยายเพิ่มจังหวัดปราจีนบุรีเป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกก็ยังคงดำเนินการในพื้นที่ ซึ่งเป็นข้อห่วงกังวลของคนในพื้นที่เป็นอย่างมาก เนื่องจากสภาพปัญหาในปัจจุบันที่เป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมจำนวนมากก็ไม่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน 

ดังนั้นในวันนี้ ทางเครือข่ายปราจีนเข้มแข็ง และ เครือข่าย 304 กินได้ จึงมาทวงถามคำตอบจากทางเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ และยืนยันคัดค้านการขยายพื้นที่ EEC มารวมจังหวัดปราจีนบุรี และขอให้ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ไปศึกษาทบทวนการดำเนินการใน3 จังหวัดในพื้นที่ EEC ในปัจจุบันซึ่งมีปัญหาจำนวนมากซึ่งยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จนถึงขยายผลกระทบมาจังหวัดใกล้เคียงด้วย โดยควรมีมาตรการในการจัดการปัญหาในพื้นที่ EEC เดิม และหยุดการดำเนินการขยายพื้นที่เพิ่ม 

จากนั้นได้เลยต่อไปยื่นหนังสือกับผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ที่สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พวกเราประชาชนในพื้นที่ขอแสดงความห่วงกังวลอย่างยิ่งต่อกระบวนการดำเนินการศึกษาดังกล่าวซึ่งขาดหลักการมีส่วนร่วม โปร่งใส และเป็นธรรม รวมทั้งมีข้อสังเกตว่ากำลังถูกใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการผลักดันนโยบายที่มีผลกระทบเชิงลบต่อชุมชนโดยขาดการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างเหมาะสม 

สิ่งที่ค้นพบจากภาคประชาชน     กระบวนการมีส่วนร่วมที่ไม่แท้จริงของการจัดเวทีมีลักษณะเป็นพิธีกรรมทางเทคนิค การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและเวทีFocus Group ที่ผ่านมานั้นมีเพียงข้าราชการ หน่วยงานรัฐ กลุ่มคนและกลุ่มทุนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับเชิญเข้าร่วมขณะที่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น เกษตรกร กลุ่มเปราะบาง และประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้พื้นที่อุตสาหกรรมกลับไม่ได้รับเชิญหรือไม่มีพื้นที่แสดงความเห็นเครือข่ายปราจีนเข้มแข็ง และเครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี ไม่ต้องการให้การจัดเวทีแบบแบ่งแยกหรือเลือกเชิญเฉพาะกลุ่ม แต่ขอให้มีการจัดเวทีระดับอำเภอที่เปิดกว้างครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เพื่อให้เกิดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างแท้จริงไม่ใช่เวทีที่มีผู้เข้าร่วมเพียง 10–20 คน แล้วกล่าวอ้างว่าเป็นตัวแทนเสียงของประชาชน ซึ่งไม่สามารถสะท้อนความคิดเห็นของพื้นที่ได้อย่างแท้จริง

การประเมินที่เอนเอียงไปทางเศรษฐกิจและขาดความรอบด้าน   มีความกังวลในการใช้เครื่องมือ SROI (Social Return on Investment) ของผู้ทำการศึกษา ในการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม โดยอาจเน้นตัวเลขทางเศรษฐกิจเป็นหลักเช่น GDP หรือรายได้หรือการจ้างงาน โดยละเลยประเมินผลกระทบเชิงลบที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตและพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารของชุมชน หรือสุขภาพของชุมชน 

ขาดความโปร่งใสในกระบวนการศึกษา ประชาชนไม่ได้รับการชี้แจงและไม่มีการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการศึกษาความเหมาะสมฯ ต่อสาธารณะอย่างชัดเจน ทั้งเหตุผลความเป็นมา ขอบเขตวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดวิธีการคำนวณ ขั้นตอนกระบวนการและสมมติฐานต่างๆ ที่ใช้ในการประเมินผลการศึกษา อีกทั้งยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลหรือชี้แจงสถานะหรือผลการดำเนินงานของโครงการศึกษาความเหมาะสมฯ ที่สามารถตรวจสอบได้โดยสาธารณะ 

ปัญหาในพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขจังหวัดปราจีนบุรีกำลังเผชิญผลกระทบอย่างรุนแรงจากภาคอุตสาหกรรม ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีข่าวสารและข้อมูลปรากฏอย่างต่อเนื่องซึ่งมีการร้องเรียนเรื่องมลพิษกลิ่นเหม็น น้ำเสีย การลักลอบฝังกลบขยะอุตสาหกรรม โรงหลอมเถื่อน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีปัญหาสะสมเดิมจากภาคอุตสาหกรรม โรงงานเดิมยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม การผลักดันให้ปราจีนบุรีเข้าสู่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทั้งที่ปัญหาเดิมยังไม่ได้รับการแก้ไขอาจยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์และทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และวิถีชีวิตของประชาชนเลวร้ายลงอีก

มานิตย์ สนับบุญ/ทองสุข สิงห์พิมพ์/ปราจีนบุรี