In News
คนเข้าคิวรอฟ้าทะลายโจรกลางสายฝน ผู้ป่วยลดแต่สั่งปิดตลาดสด-นัด
ปราจีนบุรี-โควิด-19 ปราจีนฯลดไม่ลง วันนี้ป่วยจำนวน 105 ราย สะสมรวม 2,586 ราย พบคนเฮ!รับฟ้าทะลายโจรกลางสายฝน ขณะผู้ว่าเข้มสั่งปิดตลาดสด-ตลาดนัด พร้อมห้ามแรงงานข้ามจังหวัด
เมื่อเวลา 18.30 น.วันนี้ 25 ก.ค.64 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า นายโชคชัย สาครพานิช นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรีกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปราจีนบุรี ได้มีประกาศจากศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดปราจีนบุรีแจ้งสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ระลอกใหม่ เมษายน 2564 จังหวัดปราจีนบุรีประจำวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 เวลา 14.00 น. วันนี้ จังหวัดปราจีนบุรี พบผู้ติดเชื้อ ระลอก เมษายน 2564 เพิ่ม จำนวน 105 ราย สะสมรวม 2,586 ราย รักษาอยู่โรงพยาบาล 1,884 ราย รักษานอกเขต 4 ราย เสียชีวิตสะสม 15 รายรักษาหายกลับบ้านสะสม 683 ราย
ส่งตรวจสะสมระลอก เมษายน 2564 จำนวน 121 ราย รอผล 4 ราย รวมส่งตรวจระลอก เมษายน 2564 สะสมทั้งหมด 55,770 ราย โดย ผู้ติดเชื้อเพิ่มวันนี้ จำนวน105 ราย (ผู้ป่วยยืนยัน รายที่ 2,482-2,586) เชื่อมโยงคลัสเตอร์ แพกุ้ง/แพปลา ตรวจครั้งที่ 2 จำนวย17ราย เชื่อมโยงโรงงาน/ขายหน่อไม้ อ.เมืองจำนวน6ราย เชื่อมโยงตลาดบริบูรณ์ จำนวน 1 ราย เชื่อมโยงบริษัท WD จำนวน 1 ราย เชื่อมโยงบริษัท ไทยแอโรว์ (จ.ฉะเชิงเทรา) จำนวน 13 ราย สัมผัสเสี่ยงสูงผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 11 ราย สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยยืนยัน จำนวน18ราย ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง จำนวน 2 ราย เดินทางไปมาพื้นที่เสี่ยงจำนวน 31 ราย ป่วยมีอาการ อยู่ระหว่างการสอบสวนโรคจำนวน5ราย พบกระจายทั้ง 7 อำเภอ ดังนี้ อ.เมืองปราจีนบุรี จำนวน27ราย อ. กบินทร์บุรี จำนวน 17 ราย อ. นาดี จำนวน 2 ราย อ. บ้านสร้าง จำนวน 19 ราย อ.ประจันตคามจำนวน 4 ราย อ.ศรีมโหสถ จำนวน 20 ราย อ. ศรีมโหสถจำนวน 10 รายนอกจังหวัดจำนวน6ราย
ขณะที่ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่หน้าตึก opd.รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ตั้งเต้นท์สำหรับบริการสวอตหาเชื้อโควิด-19 พบแรงงานหนุ่ม-สาวของคลัสเตอร์โรงงานอืเลคทรอนิคส์,บริษัทไทยแอร์โร(ฉะเชิงเทรา),แพกุ้ง-ปลา ,โรงงานหน่อไม้ จำนวนมาก มาตรวจคัดกรองหาเชื้อว่าติดโควิด-19 หรือไม่ แม้เป็นวันหยุดยาวต่อเนื่องเป็นจำนวนมากทั้งวัน เนื่องจากเป็นกลุ่มความเสี่ยงสูง
และทีลานจอดรถหน้าอาคารคลังสมุนไพร รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี พบประชาชนจำนวนมากกว่า 200 คน พากันกางร่มเข้าแถวตอนเรียงหนึ่งขณะฝนโปรยปราย เพื่อรอรับยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร โดยไม่หวั่นแม้ฝนจะตกโปรบปรายลงมาอย่างต่อเนื่องทั้งวัน โดยพากันมารอตั้งแต่ช่วงค่อนรุ่ง เวลา 05.00 น.โดยมีเจ้าหน้าที่ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศรมาอำนวยความสะดวก
โดยกำหนดแจกจ่ายให้ ตามความเร่งด่วนแก่ผู้มีอาการก่อน และผู้เสี่ยงสัมผัสสูงตามลำดับ จำกัดเพียงคนละ 3 กระปุก – ป้องกันการหมุนเวียนรับใหม่ จำนวนที่แจกจ่าย ฟ้าทะลายโจรจำกัด เพียงวันละ 200 คน /วัน คนละ 3 กระปุก ท่ามกลางประชาชนมาจากทั่วสารทิศ
ด้านนายวรพันธ์ สุวัณณุสส์ ผวจ.ปราจีนบุรี ได้มีคำสั่งปิดตลาดหน้าค่ายจักรพงษ์ ระบุว่า ... คำสั่งจังหวัดปราจีนบุรี ที่ ๒๑๑0 /๒๕๖๔ เรื่อง ปิดสถานที่ชั่วคราวและกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD- 19)(ตลาดสดหน้าค่ายจักรพงษ์)
ด้วยจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกผู้ค้าในตลาดสดหน้าค่ายจักรพงษ์ ตำบลหน้าเมืองอำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) จำนวนมากและมีความเสี่ยงที่จะแพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่น
ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๗ (๑)ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘(ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปราจีนบุรี ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔ จึงมีคำสั่ง ดังนี้
๑. ปิดตลาดสดหน้าค่ายจักรพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรีจังหวัดปราจีนบุรี ไว้เป็นการชั่วคราว
๒. ให้ผู้ค้าทุกคนในตลาดสดหน้าค่ายจักรพงษ์ รวมถึงผู้ประกอบการร้านค้า อาคารพาณิชย์ด้านในและด้านหน้าตลาดสดหน้าค่ายจักรพงษ์ ตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยผู้ค้าที่จะขายสินค้าได้จะต้องมีผลตรวจเป็นลบ ยกเว้นกรณีเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจะต้องมีผลตรวจครั้งที่สองเป็นลบหากไม่มีผลการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาแสดงต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ จะพิจารณา ห้ามขายสินค้าในสถานที่ดังกล่าว
๓. มอบหมายนายอำเภอเมืองปราจีนบุรี เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ โดยบูรณาการร่วมกับเทศบาลเมืองปราจีนบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำกับ ดูแล และบริหารจัดการในพื้นที่ตามข้อ ๑.และข้อ ๒.หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ หรือต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ กรณีคำสั่งใดขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้ใช้คำสั่งฉบับนี้แทน
อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หากปล่อยให้เนิ่นนานไปจะก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา๓๐ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๔ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๖๔
พร้อมออกคำสั่งให้ทางพนักงานบริษัทไทยแอร์โร(ฉะเชิงเทรา) ซึ่งเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ ให้มารายงานตัว และตรวจหาเชื้อโควิด-19คำสั่งจังหวัดปราจีนบุรีที่๒๑๐๖/๒๕๖๔ เรื่อง ให้พนักงานบริษัท ไทยแอโรว์ จำกัด ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19)ในบริษัท ไทยแอโรว์ จำกัด ที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ส่งผลให้การติดเชื้อแพร่กระจายเป็นวงกว้างในทุกอำเภอของจังหวัดปราจีนบุรี
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19) ในพื้นที่ จังหวัดปราจีนบุรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ และข้อ ๗ (๑) ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่ง พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓
ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปราจีนบุรี ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔ จึงมีคำสั่งดังนี้
ข้อ ๑ ให้พนักงานบริษัท ไทยแอโรว์ จำกัด ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรีไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อสอบสวนโรค ตรวจหาเชื้อ และกักตัวไว้เพื่อสังเกตอาการตนเองเป็นระยะเวลา ๑๔ วัน ณ สถานที่พักหรือสถานที่อื่นใดตามที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีคำสั่ง
ข้อ ๒ ให้บุคคลที่ใกล้ชิดพนักงานบริษัท ไทยแอโรว์ จำกัด ตาม ข้อ ๑ เฝ้าระวังสังเกตอาการตนเอง โดยให้งดหรือหลีกเลี่ยงการออกจากที่พัก หรือการพบปะกับบุคคลอื่น เป็นระยะเวลา ๑๔ วัน หากมีอาการผิดปกติให้แจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่โดยทันที
อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หากปล่อยให้เนิ่นนานไปจะก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา ๓ㆍวรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ตามมาตรา ๕๑ หรือระวาง โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ หรือต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ กรณีคำสั่งใดขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้ใช้คำสั่งฉบับนี้แทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๓ ก.ค.64
และ คำสั่งจังหวัดปราจีนบุรีที่ ๒๑๑๑/๒๕๖๔เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD- 19)(ตลาดสดและตลาดนัด) ด้วยเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD - 19) จำนวนมากในทุกอำเภอของจังหวัดปราจีนบุรี โดยตลาดสดและตลาดนัดเป็นแหล่งแพร่ระบาดของโรคที่สำคัญในขณะนี้
ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ข้อ ๗ (๑) และข้อ ๑๑ ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปราจีนบุรี ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๔กรกฎาคม ๒๕๖๔ จึงมีคำสั่ง ดังนี้
๑. ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของหรือผู้จัดการ ตลาดสดและตลาดนัดทุกแห่ง จัดทำบัญชีผู้ค้าทุกรายในตลาด และหากมีผู้ค้ามาจากหรือเดินทางในลักษณะ ไป - กลับ จากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) จะต้องมีการสุมตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD - 19) ทุก ๑๔ วัน จำนวนอย่างน้อยร้อยละสิบของผู้ค้าที่มาจากหรือเดินทางในลักษณะไป - กลับ จากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
๑) การตรวจสารคัดหลั่งจากโพรงจมูก (SWAB)๒) การตรวจแบบรวมกลุ่ม (Pooled Sample Testing)๓) การตรวจโดยชุดทดสอบ (Antigen Test Kit)
๒. ให้ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอ โดยสาธารณสุขอำเภอร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่ตั้งตลาดสด หรือตลาดนัด ร่วมกับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของหรือผู้จัดการ ตลาดสดหรือตลาดนัด ดำเนินการสุ่มตรวจตามแนวทางข้อ ๑.๓. ให้ผู้ค้าและผู้ใช้บริการต้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019(COVID - 19) (มาตรการ D-M-H-T-T-A) ประกอบด้วยเว้นระยะห่างระหว่างกัน สวมหน้าการผ้าหรือหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย และใช้แอปพลิเคชันไทยชนะหรือหมอชนะ โดยผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของหรือผู้จัดการ ตลาดสดและตลาดนัดนั้นจะต้องมีหน้าที่ควบคุมให้มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ตามมาตรา ๕๑ หรือระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ หรือต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ กรณีคำสั่งใดขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้ใช้คำสั่งฉบับนี้แทนและพร้อมกันนี้เพื่อเข้มงวดห้ามแรงงานเคลื่อนย้ายข้ามจังหวัด ได้ออกคำสั่ง คำสั่งจังหวัดปราจีนบุรี
ที่ ๒๑๑๒/๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
(การเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานของสถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม)ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19)มีการแพร่ระบาดขยายเป็นวงกว้าง โดยปัจจัยสำคัญเกิดจากการเดินทางไป-กลับ ของพนักงานในสถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมที่มีที่พักอยู่นอกพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีและเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19) ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ และข้อ ๗ (๑) ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปราจีนบุรี ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๔ จึงมีคำสั่ง ดังนี้
๑. ให้สถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมจัดทำบัญชีรายชื่อพนักงานของตน ที่มีที่พักอยู่นอกพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีและเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐมจังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) และเดินทางไปทำงานในลักษณะไป - กลับ โดยส่งบัญชีรายชื่อพนักงานของตนให้ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอที่สถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมนั้นตั้งอยู่
๒. ให้สถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมจัดให้มีการสุ่มตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVD - 19) ทุก ๑๔ วัน อย่างน้อยร้อยละสิบของพนักงานตามข้อ. โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
๑) การตรวจสารคัดหลั่งจากโพรงจมูก (SWAB)๒) การตรวจแบบรวมกลุ่ม (Pooled Sample Testing)
๓) การตรวจโดยชุดทดสอบ (Antigen Test Kit)
๓. ให้สถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมจัดทำแผนการเตรียมการกรณีพนักงานในโรงงานมีการติดเชื้อจำนวนมาก เช่น การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม สถานที่พักคอย (CommunityIsolation) และสถานที่กักกันผู้มีความเสี่ยง (Factory Quarantine) ภายในสถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หากปล่อยให้เนิ่นนานไปจะก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา ๓๐วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ตามมาตรา ๕๑ หรือระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ หรือต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ กรณีคำสั่งใดขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้ใช้คำสั่งฉบับนี้แทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
มานิตย์ สนับบุญ/ปราจีนบุรี