In Thailand
ร้อยเอ็ดถกคกก.โรคติดต่อรับผู้ป่วยโควิด
ร้อยเอ็ด-ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดประชุมหารือคณะกรรมการโรคติดต่อ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือผู้ป่วยโควิดมีอัตราเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
วันที่ 27 กรกฎาคม 2564 เวลา 13.30 น. นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับคณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคจังหวัดร้อยเอ็ด (ศปก.จ.รอ) ณ ห้องประชุมพระมหาเจดีย์ ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายเธียรชัย พุทธรังษี รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายชนาส ชัชวาลวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ดร.เอกภาพ พลซื่อ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด นายชูศักดิ์ ราชบุรี ปลัดจังหวัดร้อยเอ็ด นายสนอง ดลประสิทธิ์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด นายปิติ ทั้งไพศาล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดร้อยเอ็ด คณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคจังหวัดร้อยเอ็ด (ศปก.จ.รอ) เข้าร่วมประชุม พร้อมนี้ได้มีการประชุมผ่านระบบ Zoom Meeting ไปยังหน่วยงานราชการ นายอำเภอ และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ก่อนเริ่มประชุม วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด นำโดย นายอาคม จันทร์นาม ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ได้ประสานงานกับโรงพยาบาลสนามร้อยเอ็ด ถึงความต้องการในเบื้องต้น จึงได้มอบหมายให้บุคลากรครูและนักเรียนนักศึกษา ดำเนินการสนับสนุนจังหวัดร้อยเอ็ด ภายใต้กิจกรรม FIX IT จิตอาสา ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน แบบถาวร ประจำจังหวัดประกอบด้วย 1. เตียงนอนสำหรับผู้ป่วยโควิด - 19 จำนวน 30 ชุด ให้กับโรงพยาบาลสนามจังหวัดร้อยเอ็ด มูลค่า 60,000 บาท 2.เตียงนอนสำหรับผู้ป่วยโควิด - 19 จำนวน 10 ชุด ให้กับโรงพยาบาลอาสามารถ มูลค่า 20,000 บาท 3.ภาชนะเก็บขยะที่ติดเชื้อสำหรับผู้ป่วยโควิด -19 ขนาด 120 ลิตร จำนวน 4 ใบ ให้กับโรงพยาบาลโพธิ์ชัย มูลค่า 6,000 บาท
การประชุมในครั้งนี้ที่ประชุมได้รับทราบ สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยจังหวัดร้อยเอ็ดมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ณ วันที่ 27 ก.ค. 2564 จำนวน 219 ราย (ติดเชื้อมาจากภายนอกจังหวัด 208 ราย คิดเชื้อภายในจังหวัด 11 ราย) ยอดผู้ป่ายสะสม 3,085 ราย รักษาหาย 1,420 ราย ยังรักษา 1,644 ราย เสียชีวิต 21 ราย อำเภอที่มียอดผู้ติดเชื้อสูงสุด ได้แก่อำเภอสุวรรณภูมิ 316 ราย รองลงมาคืออำเภอโพนทอง เกษตรวิสัย และอาจสามารถ 290, 284, 253 ราย ตามลำดับ
สำหรับสถานการณ์การบริหารจัดการเตียงผู้ป่วยจังหวัดร้อยเอ็ดมีเตียงจำนวนทั้งหมด 3,803 เตียง ใช้ไปแล้ว 2,645 เตียง คงเหลือ 1,158 เตียง
นอกจากนี้ที่ประชุมได้มีการหารือในประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. การพัฒนาระบบ Call Center ของศูนย์ช่วยเหลือฯ ต้องมีประสิทธิภาพ แยกเป็น 3 ด้าน 1) Call Center การขอกลับมารักษา 2) Call Center การขอเข้ารับการรักษาด่วน กรณีติดโควิด หรือคิดว่าจะติด 3) Call Center ขอรับการช่วยเหลือทั่วไป และอื่นๆ เมื่อ Call Center รับเรื่องแล้ว ต้องส่งต่อหน่วยรับผิดชอบ พร้อมติดตาม ประเมินผล พร้อมให้มีการเพิ่มคู่สายและเจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์ โดยบูรณาการเจ้าหน้าจากส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมสนับสนุน
2. การบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดจากภายนอก 1) ระบบการตรวจเชื้อ ต้องเร่งตรวจเชื้อให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้ ATK และระบบตรวจยืนยันให้กระชับ พร้อมนี้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้จัดซื้อ ATK ตามที่ สสจ.เสนอจำนวน 30,000 ชุด โดยมอบหมายให้ อบจ.รอ.เป็นหน่วยจัดซื้อจัดหาต่อไป 2) การบริหารเตียง บริหารเตียงสีเขียว และจัดเตรียมเตียงส้ม และสีแดง และยกระดับรพ.สนามให้มีขีดความสามารถมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับผู้ป่วยสีส้ม 3) ระบบส่งต่อ ให้วางระบบทั้งการรับผู้ป่วยจาก กทม.เข้ามายังจังหวัด และการส่งต่อภายในจังหวัด สำหรับการจัดส่งต่อผู้ป่วย รถรับช่วงต่อผู้ติดเชื้อเดินทางมากับรถบัสที่จังหวัดจัดให้ ให้นำรถของโรงพยาบาล และ รถกู้ชีพ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมารับที่ รพ.สนามหอประชุมจังหวัดร้อยเอ็ด ไปยังโรงพยาบาลที่จะได้เข้ารักษา ต่อไป 4) การบริหารการรักษา (4.1) สำรวจอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ ชุด PPE กรณีต้องยกระดับ CI/HI หากจำเป็นต้องจัดหาเพิ่มให้ดำเนินการทันที ต้องมีคลัง (Stock)ให้พร้อม (4.2) บุคลากรที่ทำการรักษา ต้องพร้อมและถ่ายทอด พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อสนับสนุนและแจกจ่ายงาน
3. การป้องกันการระบาดภายในจังหวัด ต้องเข้มงวดมาตรการ D-M-H-T-T-A ทั้งในระดับบุคคล ครัวเรือน และ Cluster เช่น โรงงาน ตลาด แคมป์ก่อสร้าง ฯลฯ ต้องเข้มงาด เฝ้ระวังเร่งตราจเชิงรุก
4. การใช้จ่ายงบประมาณต้องแบ่งให้ชัดเจนว่า เรื่องอะไระใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยใดหรือแหล่งงบประมาณใด ให้มีการหารือให้เกิดความชัดเจนเรื่องความลงตัวในการใช้จ่ายงบประมาณ
5. การจัดการขยะติดเชื้อ
ขณะนี้มีผู้เดินทางจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด วันละ 500 - 700 ราย มีผู้ติดเชื้อเข้าพื้นที่ วันละ 200-250 คน จึงต้องเตรียมจัดหาเตียงให้เพียงพอ จำนวนของผู้ป่วยโควิด- 19 ที่มีอาการรุนแรง มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องจัดหา เครื่องช่วยหายใจ High Flow oxygen ให้กับโรงพยาบาล ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ให้ออกซิเจนโดยที่อัตราไหลของออกซิเจน (oxygen flow rate) สามารถให้ออกซิเจนได้อย่างเพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วย
ในการนี้ นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัด
ร้อยเอ็ด ได้แจ้งความประสงค์บริจาคเครื่องช่วยหายใจ High Flow oxygen ด้วยเงินส่วนตัวจำนวน 1 เครื่อง และ นายเอกภาพ พลซื่อ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด แจ้งความประสงค์บริจาคด้วย 1 เครื่อง (ราคาเครื่องละ 2.5 แสนบาท) นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการติดตามสถานการณ์ของแต่ละอำเภอด้วย