In Thailand

ผู้ว่าฯร้อยเอ็ดฟังความคิดเห็นประชาคม ผลักดันแผนพัฒนาจังหวัด5ปี



ร้อยเอ็ด-ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด จัดประชุมประชาคมรับฟังความคิดเห็นแผนพัฒนาจังหวัด 5 ปี (พ.ศ.2566-2570)

วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น. นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ.2566 – 2570 ณ ห้องประดับเพชร โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้น อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายชูศักดิ์ ราชบุรี ปลัดจังหวัดร้อยเอ็ด นายสนอง ดลประสิทธิ์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการบริหารราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนกลางทุกแห่ง หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง และผู้แทนภาคประชาสังคมในท้องถิ่น จำนวน 353 คน โดยร่วมประชุมฯ ในห้องประชุม จำนวน 160 คน ส่วนที่เหลือร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์ โอกาสนี้นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ได้ให้เกียรติเข้าร่วมรับฟังการประชุมฯ ผ่านระบบออนไลน์ในครั้งนี้ด้วย

ด้วยจังหวัดร้อยเอ็ดได้จัดทำแผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2566 – 2570 ตามแนวทาง วิธีการ และกรอบระยะเวลาที่คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (ก.บ.ภ.) กำหนด ซึ่งคณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดได้จัดประชุม ยกร่างกรอบและแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ใน 5 ประเด็นการพัฒนา ระหว่างวันที่ 13 - 18 สิงหาคม 2564 โดยเชิญหัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการจัดทำแผน เข้าร่วมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนา พันธกิจ ประเด็นการพัฒนา ค่าเป้าหมายและตัวชี้วัด และแผนงาน/โครงการ ตามกรอบกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) นโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้ง การนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพทั่วไป ปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ศักยภาพการพัฒนาในปัจจุบัน และโอกาสในการพัฒนาในอนาคตของจังหวัด โดยนำมาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และปัญหาอุปสรรค มาวิเคราะห์และจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2566 – 2570  ดังนั้น เพื่อให้การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดเป็นไปตามระเบียบและแนวทางที่กำหนดจังหวัดจึงได้จัดประชุมปรึกษาหารือเพื่อรับฟังความคิดเห็นแผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2566 – 2570 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 

1. รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ดจากทุกภาคส่วนให้เป็นไปตามมาตรา 19 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 
2. นำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ดให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ก่อนจัดส่งให้ ก.บ.ภ. ต่อไป 

ทั้งนี้ นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาของจังหวัดร้อยเอ็ด ไว้ว่า“ร้อยเอ็ดเมืองเกษตรอัจฉริยะ ท่องเที่ยวสร้างสรรค์ วัฒนธรรมสร้างมูลค่า สังคมพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดยมีวัตถุประสงค์รวม 2 ประการ คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) เพิ่มขึ้น และประชาชนมีสุขภาวะที่ดี หลุดพ้นความยากจน พึ่งตนเองได้ โดยมีประเด็นการพัฒนาที่จะขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมาย จำนวน 5 ประเด็นการพัฒนา 22 ตัวชี้วัด และ 26 แนวทางการพัฒนา และการพัฒนาจังหวัดในระยะต่อจากนี้ โดยเฉพาะในยุคหลังโควิด-19 เราจะทำแบบเดิม ด้วยวิธีการเดิมๆ ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว มิฉะนั้นจังหวัดร้อยเอ็ดเราจะตกขบวน เราจะต้องพัฒนาจังหวัดเพื่อเปลี่ยนผ่านหรือพลิกโฉม (Transformation) ไปสู่การเป็นจังหวัดที่ประชาชนหลุดพ้นจากความยากจนได้อย่างไร ในระยะ 5 ปีนี้ เราจะสามารถหยุดยั้งการส่งต่อความยากจนโดยทำให้คนจนข้ามรุ่นลดลง และต้องแก้ไขปัญหาความยากจนแบบตรงจุด ในส่วนการพัฒนาด้านเกษตร ต้องนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้มาใช้ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับสู่การเป็นเกษตรแบบแม่นยำ เกษตรอัจฉริยะ หรือที่เรียกว่า SMART FARM เกษตรกรจะต้องเป็น SMART FARMER ปรับเปลี่ยนสู่การทำเกษตรมูลค่าสูง ทำน้อยได้มาก ในส่วนการพัฒนาการศึกษาต้องมีความสำคัญ เพื่อเตรียมกำลังคนให้สอดคล้องรองรับต่อโลกอนาคต ทั้งการ UPSKILL RESKILL NEWSKILL และการส่งเสริมด้านการจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING การสร้าง SMART CODING SCHOOL มุ่งสร้างคนร้อยเอ็ดให้เป็นคนดี คนเก่ง มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ในส่วนการขับเคลื่อนด้วยการนำแนวคิด BCG MODEL และการขยายผล MODEL SMART TAMBON คำพอุง อำเภอโพธิ์ชัย มาใช้ในการพัฒนา รวมถึงโครงการต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อม และขยะ มุ่งสู่การเป็นจังหวัดสะอาด ต่อไปการจะเอาชนะวิกฤตโควิด-19 ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ภาวะโลกร้อนได้นั้น จังหวัดร้อยเอ็ดจะต้องปรับตัว