In Bangkok

กทม.ต่อยอดโครงการBKK  Trailพัฒนา จุดอำนวยความสะดวกเชื่อมระหว่างเขต



กรุงเทพฯ-(26 ต.ค. 66) เวลา 9.00 น. : นายณรงค์ เรืองศรี รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมการพัฒนาเส้นทางโครงการ Bangkok Trail (BKK  Trail วิ่งได้-เดินดี) ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาความปลอดภัยและเพิ่มความสะดวกสบายในเส้นทาง โดยมี ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักการโยธา ผู้แทนเขตพระนคร คลองสาน สาทร บางคอแหลม ดุสิต บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ธนบุรี ราชเทวี ปทุมวัน จตุจักร พญาไท และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 13 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกทม.2

ในที่ประชุมสำนักการโยธารายงานผลดำเนินการปรับปรุงกายภาพทางเท้าตามแนวเส้นทางแล้ว 4 เส้นทาง ผ่านพื้นที่เขต 12 เขต ประกอบด้วย 1.Bkk Trail Route (006)ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ธนบุรี และเขตพระนคร ประกอบด้วย 1.ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า 2.ถนนอรุณอมรินทร์ 3.ถนนจักรเพชร 4.ถนนมหาราช 5.ถนนพระจันทร์ 6.ถนนอรุณอมรินทร์ และ7.ถนนสะพานพุทธ  

2. เส้นทาง Bkk Trail Route (008) พื้นที่เขตคลองสาน ธนบุรี บางคอแหลม และเขตสาทร ประกอบด้วย 1.ถนนกรุงธนบุรี ช่วงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถึงถนนเจริญนคร 2.ถนนเจริญคร ช่วงจากคลองต้นไทร ถึงสะพานเจริญนคร 5 3.ถนนเจริญนคร ช่วงสะพานเจริญนคร 5 ถึงสะพานเจริญนคร 8 4.ถนนเจริญกรุง ช่วงจาก สะพานพระรามที่3 ถึงถนนจันทน์ 5.ถนนเจริญกรุง ช่วงจากแยกถนนมไหสวรรค์ ถึงสะพานกรุงเทพ 6.ถนนเจริญกรุง สะพานกรุงเทพ ถึงถนนจันทร์

3. เส้นทาง Bkk Trail Route (12) พื้นที่เขตดุสิต ราชเทวี และเขตปทุมวันประกอบด้วย 1.ถนนบรรทัดทอง ช่วงจากสะพานเจริญผล ถึงถนนพระรามที่ 1 2.ถนนพระรามที่ 6 ช่วงจากสะพานข้ามคลองแสนแสบ ถึงถนนจรัสเมือง 3.ถนนจรัสเมือง ช่วงจากถนนพระรามที่ 6 ถึงถนนบรรทัดทอง

4. เส้นทาง Bkk Trail Route (13) พื้นที่เขตจตุจักร พญาไท ราชเทวี และเขตดุสิต
ประกอบด้วย 1.ถนนราชวิถี ช่วงจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถึงถนนพระรามที่ 6
2.ถนนพระรามที่ 6 ช่วงจากแยกตึกชัย ถึงถนนกำแพงเพชร 3.ถนนกำแพงเพชร ช่วงจากถนนพระรามที่ 6 ถึงถนนกำแพงเพชร 2 4.ถนนกำแพงเพชร 2 ช่วงจากถนนกำแพงเพชร ถึงถนนกำแพงเพชร 4 5.ถนนกำแพงเพชร 4 ช่วงจากถนนกำแพงเพชร 2 ถึงถนนกำแพงเพซร 3 6.ถนนกำแพงเพชร 3 ช่วงจากถนนกำแพงเพชร 4 ถึงถนนพหลโยธิน 7.ถนนพหลโยธิน ช่วงจากหน้ากรมการขนส่งทางบก ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

และเพื่อเป็นการพัฒนาต่อยอดเส้นทางดังกล่าวได้มอบหมายทุกสำนักงานเขตที่เกี่ยวข้องดำเนินการ 1.กำหนดจุดน่า check in 2.กำหนดร้านค้าที่สามารถแวะซื้อน้ำและขนมได้ 3.กำหนดร้านค้าที่สามารถแวะทานอาหารได้ 4.กำหนดจุดจอดรถ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวต่อไป

ทั้งนี้ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ได้เน้นย้ำว่าในเส้นทางที่กำหนดอยากให้มองในมิติที่ระหว่างเขตให้มีความเชื่อมโยงกัน เป็นเส้นทางเป็นเชื่อมออกไปยังจุดต่างๆ อย่างเช่นบางเขตสามารถเชื่อมโยงออกแม่น้ำคูคลองที่มีทางเดินเลียบคลองซึ่งมีทั้งให้มีภาพที่สวยงามก็สามารถที่จะเป็นทางเลือกสำหรับประชาชนในการเดินทางไม่ว่าจะเป็นเดินเท้า ปั่นจักรยาน หรือต่อระบบรถ ราง เรือ เพื่อพัฒนาการเชื่อมต่อการเดินทางตามนโยบาย เดินทางดี 9 ดี 9 ด้าน ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยมอบหมายเขตเร่งสำรวจและกำหนดจุดต่างๆ ในเส้นทาง โดยรวบรวมส่งสำนักการโยธาในวันที่ 2 พ.ย.66 เพื่อดำเนินการพัฒนาเส้นทางต่อไป