Think In Truth

มหากาพย์รัฐปาเลสไตน์กับแผนโดดเดี่ยว อิสราเอล โดย:ฅนข่าว2499



ปาเลสไตน์ยังคงเป็นปัญหาระดับโลกที่ไม่มีวันสิ้นสุด โดยล่าสุด 3 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้ออกมาเคลื่อนไหวเตรียมประกาศให้การรับรองปาเลสไตน์เป็นรัฐเอกราชอย่างเป็นทางการในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้นัยว่าเพื่อเป็นการโดดเดี่ยวอิสราเอล

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นายกรัฐมนตรีไซมอน แฮร์ริส ของไอร์แลนด์ประกาศที่กรุงดับลินว่าชาติของตนจะยอมรับปาเลสไตน์ในฐานะรัฐ แต่ไม่ได้ระบุกรอบเวลา ขณะที่นายกรัฐมนตรีโจนัสแกห์รสโตร์ของนอร์เวย์ ประกาศในกรุงออสโล และนายกรัฐมนตรีเปโดร ซานเชสของสเปนประกาศในกรุงแมดริดว่าจะยอมรับปาเลสไตน์เป็นรัฐในวันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2567ที่จะถึงนี้

ทั้งนี้โดยนายกรัฐมนตรี โจนาสกาห์รสโตร์  ผู้นำนอร์เวย์  แถลงเมื่อวันที่ 22  พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมาว่า นอร์เวย์จะรับรองรัฐปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการในวันที่ 28 พฤษภาคม 2024 พร้อมให้ความเห็นว่าสันติ ภาพในตะวันออกกลางจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากไม่มีการรับรองรัฐปาเลสไตน์ โดยแนวทาง 2 รัฐ เป็นหนทางเดียวที่จะสร้างความมั่นคงและความหวังในอนาคตแก่ชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ เช่นเดียวกับ นายกรัฐมนตรี ไซมอน แฮร์ริส  ผู้นำไอร์แลนด์ ที่ประกาศในวันเดียวกันว่าจะรับรองรัฐปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการในวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 นี้เช่นกัน

ขณะที่ นายกรัฐมนตรีเปโดร ซานเชซ  ผู้นำสเปน แถลงต่อรัฐสภาว่า คณะรัฐมนตรีของสเปนจะให้การเห็นชอบรับรองปาเลสไตน์ในฐานะรัฐเอกราชวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 นี้  หลังจากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ผู้นำสเปนได้เดินทางเยือนหลายประเทศยุโรปและตะวันออกกลาง เพื่อเรียกเสียงสนับสนุนการรับ รองรัฐปาเลสไตน์และการหยุดยิงในฉนวนกาซา “การรับรองรัฐปาเลสไตน์เป็นขั้นตอนจำเป็นเพื่อสนับ สนุนแนวทาง 2 รัฐ ที่จะยุติความขัดแย้งยาวนานหลายสิบปีระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์”

สำหรับสถานะความเป็นรัฐของปาเลสไตน์ปัจจุบันได้รับการรับรองแล้วจาก 142 ประเทศสมาชิกสหประชาติ จากทั้งหมด 193 ประเทศสมาชิก โดยในส่วนของสหภาพยุโรป ยังมีไม่กี่ประเทศที่ให้การรับรองรัฐปาเลสไตน์ อย่างเป็นทางการ แต่หลายชาติสมาชิก แสดงท่าทีพร้อมจะดำเนินการตามรอย สเปน ไอร์แลนด์ และ นอร์เวย์ 

นายเจคซัลลิแวน ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติประจำทำเนียบขาว ระบุว่าสหรัฐฯไม่เห็นด้วยกับการประกาศรับรองรัฐปาเลสไตน์เพียงฝ่ายเดียว แต่ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อการตัดสินใจของรัฐบาลชาติยุโรปทั้ง 3 ประเทศ โดยให้เหตุผลว่าแต่ละประเทศมีอำนาจกำหนดนโนยบายของตัวเอง 

อย่างไรก็ตาม ซัลลิแวนย้ำว่า ประธานาธิบดี โจไบเดน ยังสนับสนุนการแก้ไขความขัดแย้งด้วยแนวทาง 2 รัฐ และ การรับรองรัฐปาเลสไตน์ควรผ่านกระบวนการเจรจาก่อน 

ทางด้านนายกรัฐมนตรี เบนจามินเนทันยาฮู ผู้นำอิสราเอลประณามการตัดสินใจของทั้ง 3 ประเทศ โดยระบุว่าการรับรองสถานะความเป็นรัฐของปาเลสไตน์เป็นการมอบรางวัลให้กับการก่อการร้ายและจะนำไปสู่เหตุซ้ำรอยการสังหารหมู่เหมือนกับเหตุการณ์ในวันที่ 7 ตุลาคม 2023 ปีที่แล้ว

 

ธงชาติขบวนการปฏิวัติอาหรับ (ปาเลสไตน์)

สำหรับ รัฐปาเลสไตน์ (State of Palestine)อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกและตะวันออกกลางเป็นรัฐที่ประกาศเมื่อวันที่15พฤศจิกายน2531โดยสภาแห่งชาติขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ที่พลัดถิ่นในกรุงแอลเจียร์ ซึ่งเห็นชอบคำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ฝ่ายเดียว รัฐปาเลสไตน์อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งนิยามตามพรมแดนเมื่อปี 2510 และกำหนดเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวง พื้นที่ที่พรรณนาว่าจะประกอบเป็นรัฐปาเลสไตน์นั้นถูกอิสราเอลยึดครองตั้งแต่ปี 2510

การประชุมสุดยอดสันนิบาตอาหรับปี 1974(2517) กำหนดให้องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็นผู้แทนชาวปาเลสไตน์โดยชอบด้วยกฎหมายแต่ผู้เดียวและยืนยันอีกครั้งถึงสิทธิของพวกเขาในการสถาปนารัฐที่มีเอกราชอย่างเร่งด่วนโดยองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ในสหประชาชาติเป็นองค์การมิใช่รัฐ (non-state entity) ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 1974 ให้สิทธิพูดในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง หลังคำรับรองคำประกาศดังกล่าวอย่างเป็นทางการและออกเสียงให้ใช้ชื่อปาเลสไตน์ แทนองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์

… สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติที่ 67/19 ยกระดับปาเลสไตน์จากองค์การผู้สังเกตการณ์ (observer entity) เป็นรัฐผู้สังเกตการณ์ที่มิใช่สมาชิกในระบบสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นการรับรองอธิปไตยขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์โดยปริยาย…

ในข้อตกลงกรุงออสโลปี 1993 (2536)อิสราเอลรับรองคณะผู้เจรจาขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ว่า “เป็นผู้แทนของชาวปาเลสไตน์” ตอบแทนการที่องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์รับรองสิทธิของอิสราเอลที่จะดำรงอยู่อย่างสันติ การยอมรับข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 242 และ 338 และปฏิเสธความรุนแรงและการก่อการร้ายผลคือ ในปี 1994 (2537) องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์สถาปนาการปกครองดินแดน ซึ่งบริหารหน้าที่รัฐบาลบ้างในบางส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา

ในปี 2007 (2550) การยึดฉนวนกาซาโดยฮามาส แบ่งชาวปาเลสไตน์ทั้งทางการเมืองและดินแดน โดยฟะตะห์ของมาห์มูด อับบาสยังปกครองเวสต์แบงก์ส่วนใหญ่และนานาประเทศรับรองว่าเป็นองค์การบริหารปาเลสไตน์ ขณะที่ฮะมาสรักษาการควบคุมฉนวนกาซาไว้ ในเดือนเมษายน 2011(2554)พรรคการเมืองปาเลสไตน์ลงนามความตกลงปรองดอง แต่การนำไปปฏิบัติหยุดไปนับแต่นั้น

 

ธงประจำพรรคฮามาส

จนถึงเดือนกันยายน 2015 มีรัฐสมาชิกสหประชาชาติ 136 รัฐ จาก 193 รัฐ (70.5%) ให้การรับรองรัฐปาเลสไตน์กระนั้นหลายประเทศที่มิได้รับรองรัฐปาเลสไตน์ก็รับรององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็น ผู้แทนของชาวปาเลสไตน์ ยิ่งไปกว่านั้น คณะกรรมการบริหารขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับอำนาจจากสภาแห่งชาติปาเลสไตน์ให้ดำเนินหน้าที่รัฐบาลในรัฐปาเลสไตน์

ส่วนหนึ่งของดินแดนนี้ที่อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน เคยถูกเรียกว่า ดินแดนคะนาอัน (Canaan) ในช่วงที่อยู่ใต้การปกครองของอียิปต์ ในภายหลังได้แบ่งการปกครองออกเป็นสองส่วน ส่วนทางใต้กลายเป็นราชอาณาจักรยูดาห์ ส่วนทางเหนือคืออิสราเอล

อย่างไรก็ตามรัฐบาลฟะตะห์ที่นานาประเทศรับรองในเวสต์แบงก์ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อตนเองเป็นรัฐปาเลสไตน์ ส่วนรัฐบาลฮามาสก็ได้รับเลือกเป็นรัฐบาลในฉนวนกาซาในปี 2006 ซึ่งรัฐบาลฟะตะห์เน้นสันติ แต่รัฐบาลฮามาสเน้นใช้ความรุนแรง

ต่อมาในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2014 ฟะตะห์จับมือฮามาสเป็นพันธมิตรตั้งรัฐบาลผสมปาเลสไตน์ ซึ่งสำนักข่าวต่างประเทศรายงานาว่ากลุ่มฟะตะห์ซึ่งเป็นกลุ่มรัฐบาลปาเลสไตน์ได้บรรลุข้อตกลงยุติความขัดแย้งและเป็นพันธมิตรกับกลุ่มฮามาส ซึ่งถือเป็นการบรรลุครั้งใหญ่ของอดีตกลุ่มก่อการร้ายสองฝ่ายของปาเลสไตน์โดยทั้งสองฝ่ายประกาศว่า ข้อตกลงนี้ถือเป็นข่าวดีสำหรับชาวปาเลสไตน์ ที่จะสามารถยุติยุคแห่งความขัดแย้งและความแตกแยกของปาเลสไตน์ และกลุ่มคาดหวังว่า การบรรลุข้อตกลงนี้ จะนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลผสมเอกภาพภายใน 5 สัปดาห์ข้างหน้า ผ่านการลงมติไว้วางใจจากรัฐสภาปาเลสไตน์ และการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่คาดว่าจะมีขึ้นในอีก 5 เดือนข้างหน้า (ปัจจุบันกลุ่มฟะตะห์มีประธานาธิบดีมาห์ มุด อับบาส เป็นผู้นำ และกลุ่มฮะมาส มีนายอิสเมล์ ฮานิยาห์ เป็นผู้นำ – 2566)

อย่างไรก็ตาม ด้านสหรัฐฯแสดงความวิตกต่อการเป็นพันธมิตรของสองกลุ่มการเมืองปาเลสไตน์ ซึ่งเคยเป็นกลุ่มก่อการร้ายว่าอาจขัดขวางต่อความพยายามที่ปาเลสไตน์จะบรรลุข้อตกลงสันติภาพกับอิสราเอล โดยย้ำว่า ทั้งสองกลุ่มจะต้องยึดต่อหลักการไม่ใช้ความรุนแรงและยอมรับการมีอยู่ของอิสราเอล ไม่เช่นนั้นการบรรลุสันติภาพของปาเลสไตน์และอิสราเอลจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้

23 กันยายน 2011 ประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส แห่งปาเลสไตน์ ได้ยื่นสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งเสมือนเป็นการรับรองรัฐปาเลสไตน์ โดยยูเนสโกเป็นองค์การชำนาญพิเศษของยูเอ็นแห่งแรกที่ปาเลสไตน์ได้เป็นสมาชิกเต็ม

31 ตุลาคม 2011 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ลงมติรับรองสถานภาพสมาชิกแก่ปาเลสไตน์โดยสมบูรณ์ โดยชาติสมาชิกทั้งหมด 173 ประเทศ ณ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ยูเนสโก ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สนับสนุนให้ปาเลสไตน์ได้รับสถานภาพเป็นสมาชิกยูเนสโกเต็มตัว โดยมีชาติสมาชิกสนับสนุน 107 ประเทศ คัดค้าน 14 ประเทศ และงดออกเสียง 52 ประเทศ ซึ่งถือเป็นมติรับรองปาเลสไตน์เกินกว่า 2 ใน 3 ที่ทำให้ปาเลสไตน์ได้รับสถานะสมาชิกภาพของยูเนสโกในลำดับที่ 195 ในขณะที่สหรัฐฯ อิสราเอล แคนาดา เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ โหวตค้านการรับรองปาเลสไตน์ ส่วนบราซิล รัสเซีย จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ และฝรั่งเศส ต่างโหวตสนับสนุน ขณะที่อังกฤษและอิตาลีของดออกเสียง

 

นายเบนจามินเนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล

สำหรับการได้เป็นสมาชิกผู้สังเกตการณ์สหประชาชาติ 2012 นั้น ยูเอ็นได้ลงมติยอมรับปาเลสไตน์ในฐานะรัฐผู้สังเกตการณ์ เทียบเท่ากับสถานะของนครรัฐวาติกัน ซึ่งทางยูเอ็นลงมติด้วยคะแนน 138 ต่อ 9 เสียง เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2012 ยอมรับปาเลสไตน์ในฐานะรัฐผู้สังเกตการณ์ซึ่งไม่ใช่สมาชิกยูเอ็น โดยนายอับบาสระบุว่ามติของยูเอ็นเปรียบได้กับใบแจ้งเกิดที่จะนำไปสู่การยอมรับความเป็นรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต แม้ว่าเส้นทางการต่อสู้ไปสู่เสรีภาพที่แท้จริงยังอีกยาวไกล แต่การยอมรับสถานะรัฐปาเลสไตน์จะช่วยกดดันให้รัฐบาลอิสราเอลกลับเข้าสู่กระบวนการเจรจาสันติภาพร่วมกับปาเลสไตน์อีกครั้ง หลังความพยายามในการเจรจาต่อรองหยุดชะงักมานานกว่า 2 ปี ส่วนนายเบนจามินเนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล แถลงประณามคำปราศรัยของอับบาสว่าเป็นยาพิษที่ส่งผลมอมเมาประชาคมโลก ขณะที่กองกำลังติดอาวุธฮะมาสในดินแดนฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ได้ร่วมแสดงความยินดีต่อชัยชนะของรัฐบาลปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์ด้วย

ตราราชการของกองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์

สำหรับทางด้านกำลังความมั่นคงแห่งชาติปาเลสไตน์นั้นรัฐปาเลสไตน์มีกำลังทหารที่เรียกว่ากำลังความมั่นคงแห่งชาติ (Palestinian National Security Forces) และยังมีกองกำลังย่อยอยู่อีก เช่น ฟอร์ซ14(กองทัพอากาศ), ตำรวจพลเรือนปาเลสไตน์ นอกจากนี้ยังมีกองกำลังชาวปาเลสไตน์อื่นๆอีก เช่น กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์ เป็นต้น.