Think In Truth

พระรถเมรีนิทานคติชนของผู้ถูกกวดต้อน  โดย : ฟอนต์ สีดำ



นิทานพระรถ เมรี หรือตำนานนางสิบสอง ไม่ใช่เป็นตำนานเมืองพระรถของอำเภอพนัสนิคมเพียงที่เดียว แต่เป็นตำนานของกลุ่มคนบนเส้นทางแนวกันชน ของชายแดนไทย-กัมพูชา คือ เส้นทางจากอำเภอพนัสนิคม ผ่านไปตำบลสระสี่เหลี่ยม เข้าอำเภอแปลงยาว ผ่านอำเภอพนมสารคาม เข้าอำเภอราชสาส์นหรืออำเภอดงน้อย ไปยังอำเภอบ้านสร้าง และเข้าจังหวัดนครนายก แล้วจะพบคลองความมั่นคงตั้งแต่นครนายกเข้าไปยังรังสิต และยังมีคลองซอยต่างเพื่อการลาดตระเวนของกองเรือ ตั้งแต่ คลองหนึ่งจนถึงนครนายก ประมาณ 25 คลอง บนเส้นทางจากอำเภอพนัสนิคม ไปจนถึงนครนายก คนท้องถิ่นเขาจะเรียกว่า เส้นทางพระรถ ซึ่งจะมีชุมชนของกลุ่มคนที่ถูกกวาดต้อนมาต้องชุมชนเป็นแนวกันชนสลับกันไป เช่น อำเภอพนัสนิคม เป็นชุมชนลาว อำเภอแปลงยาวเป็นชุมชนเขมร อำเภอพนมสารคามเป็นชุมชนลาว อำเภอราชสาส์นเป็นชุมชนเขมร อำเภอบ้านสร้างไปจนถึงนครนายก เป็นชุมชนลาว สลับกันไปอย่างนี้ ซึ่งชุมชนต่างๆ เหล่านี้จะมีประวัติที่มาที่แตกต่างกัน แต่จะมีสิ่งหนึ่งที่คล้ายคลึงกันคือเป็นชุมชนที่ถูกกวาดต้อนมาตั้งชุมชนเป็นแนวกันชนเหมือนกัน

สิ่งหนึ่งที่ชุมชนในเส้นทางพระรถจะเล่าเหมือนกัน คือ นิทานตำนานนางสิบสอง หรือพระรถ เมรี ซึ่งลักษณะของการผูกเรื่องของตำนานเหล่านั้น จะผูกเรื่องไว้กับสถานที่ต่างๆ เพื่อให้เกิดความทรงจำกับชนรุ่นหลัง ให้นึกถึงบรรยากาศของการเกิดขึ้นของชุมชนเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองพระรถ ถ้ำนางสิบสอง หมอนนางสิบสอง สระสี่เหลี่ยม เมืองพระยาเร่ เขาดงยาง คลองท่าลาด บ่อนไก่พระรถ บ่อน้ำนางสิบสอง และอื่นๆ อีกมากมาย ที่ผูกโยงกับเรื่องของตำนานนางสิบสอง

ซึ่งมันไม่แปลกเลยว่า ทำไมประเทศลาวกับกัมพูชาจึงมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมาโดยตลอด และทั้งสองประเทศนี้ ถึงแม้นว่าจะพึ่งพิงประเทศไทยมาโดยตลอด แต่ก็ไม่ได้สร้างความรักและศรัทธาให้กับสองประเทศนี้ ตำนานนางสิบสองนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งหรือไม่ ที่ทำให้ทัศนคติของชาวลาว และกัมพูชา รุ่นเก่านั้นยังฝังใจถึงความเจ็บช้ำแห่งการถูกกวาดต้อนจากบ้านเกิดเมืองนอนมาเป็นเมืองแดนกันชนแห่งความขัดแย้งระหว่างการเมืองและความเชื่อทางศาสนา

ตำนานพระรถเมรี หรือนางสิบสองมีเนื้อเรื่องทำนองว่าพ่อแม่ยากจนเข็ญใจพาลูกสาว 12 คนไปปล่อยป่า นางยักษ์มาพบ จึงไปเลี้ยงจนโต นางยักษ์ก็มีหลายชื่อเช่น สันตรา กังรี พอนางสิบสองนางรู้ความจริงว่าเป็นยักษ์ จึงคิดหนีโดยหนีไปแต่งงานกับท้าวรถสิทธิ์พระราชาเมืองกุตลนคร ได้เป็นมเหสีทั้งสิบสององค์ ด้วยการพบเจอกันในป่าขณะที่นางสิบสองได้หนีจากถ้ำที่กูกกักกันโดยนางยักษ์สันตรา กังรี

นางยักษ์รู้ข่าวก็ตามไปแก้แค้น ด้วยการแปลงเป็นสาวสวยหลอกให้พระราชารักและได้แต่งงานกับท้าวรถสิทธิ์และได้ใช้มารยาและมนต์เสน่ห์ทำให้ท้าวรถสิทธิ์หลงไหล จนทำให้ท้าวรถสิทธิ์แต่งตั้งให้เป็นสนมเอก นางยักษ์สันตราจึงกลั่นแกล้งนางสิบสองมาโดยตลอก พอนางสิบสองตั้งท้อง นางยักษ์สันตราก็แกล้งชวนท้าวรถสิทธิ์ไปเที่ยวป่าอย่างที่ท้าวรถสิทธิ์ชอบ แต่นางยักสันตราไม่ไปด้วย ในขณะที่ท้าวรถสิทธิ์ไม่อยู่ นางยักษ์ก็จับนางสิบสองมาควักลูกตา แต่ด้วยบุญที่นางสิบสองคนสุดท้ายถูกควักดวงตาออกไปข้างเดียวตามกรรมที่ตนได้ควัดดวงตาของปลาออกมาข้าวเดียวเมื่อในช่วงเยาว์วัย เมื่อนางยักษ์ควักลูกตานางทั้งสิบสองแล้วเอาไปขังไว้ในบ่อน้ำนางสิบสอง ทั้งสิบสองนางมีลูก คลอดลูก แล้วต้องฆ่าลูกตัวเองกินเพราะหิว

นางสิบสองคนสุดท้องไม่ยอมฆ่า แอบเลี้ยงลูกจนโตคือ พระรถ หรือพระรถเสน เมื่อทารกโตนางสิบสองคนสุดท้อง ซึ่งยังมีดวงตาที่มองเห็นได้นำพระรถเสนไปฝากให้หลวงตาวัดเวฬุวัน หลวงตาได้พร่ำสอนพระรถจนเก่งในศิลปะวิทยา โดยเฉพาะวิชาตีไก่ ชื่อเสียงของพระรถจึงกระฉ่อนไปทั้งเมือง ทำให้คนทั้งเมืองเป็นที่รู้จัก เมื่อนางยักษ์รู้ หลอกพระรถให้ไปเมืองยักษ์ ฝากสารลับให้นางเมรี (ลูกสาว) ฆ่าพระรถ มีคนช่วยแปลงสารลับให้เป็นสารรัก นางเมรีจึงแต่งงานกับพระรถ

พระรถมอมเหล้านางเมรี หลอกถามความลับเอาดวงตาและของวิเศษกลับมาช่วยแม่และป้า นางเมรีตามมา พระรถไม่ยอมกลับ นางเมรีเลยตรอมใจตาย ส่วนสิบสองนางได้ตาคืน อยู่ดีมีความสุข นางยักษ์เห็นพระรถเลยกระอักเลือดตาย

ตำนานพระรถ ไม่ได้จบเพียงแค่นางเมรีตาย แล้วพระรถได้เกณฑ์ทั้งเมืองมาลากศพนางเมรีไปเผา เล็บนิ้วหัวแม่เท้าของนางเมรีจิกลงไปในดิน และครูดพื้นดินเป็นร่องขนาดใหญ่ กลายเป็นคลองน้ำจากอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา มาจนถึงอำเภอพนมสารคาม คลองน้ำแห่งนั้นจึงเรียกว่า “คลองท่าลาด” มาจนถึงปัจจุบัน

เวอร์ชั่นต่อจากนางสิบสอง หรือพระรถ เมรี นั้น คือ ตำนานพระสุธน มโนรา โดยเป็นการใช้กรรมของคู่รักคู่นี้ ในตำนานพระรถ เมรี นั้น เป็นเรื่องของฝ่ายหญิงเป็นผู้ตามรักฝ่ายชาย และตำนานพระสุธน มโนรา นั้นเป็นเรื่องของฝ่ายชาย ตามรัก ฝ่ายหญิง ซึ่งจะได้เขียนในตอนต่อไป

จากข้อมูลตำนานพระรถ เมรี หรือ นางสิบสองนี้ พบว่า นางสิบสอง หรือ พระรถเมรี หรือ พระรถเสน และในกัมพูชาเรียก พุทธแสนนางกังรี (រឿងភ្នំនាងកង្រី ) เป็นนิทานพื้นบ้านและวรรณคดีไทยที่ได้รับความนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง ประเทศไทย กัมพูชา พม่า และลาว รวมถึงในมาเลเซียที่เผยแพร่ผ่านชาวมาเลเซียเชื้อสายสยามจนภายหลังได้รับความนิยมในหมู่ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน นั่นหมายถึงตำนานพระรถเมรี นี้ไม่ใช่เป็นตำนานเพียงแค่เฉพาะถิ่น แต่หากเป็นตำนานของคนทั้งภูมิภาคให้ลุ่มน้ำโขง รวมทั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยา นั่นจึงสามารถประมาณได้ว่า เป็นตำนานที่สื่อเรื่องกรรมที่มีต่ำความรัก หรือคำอธิบายเรื่องเนื้อคู่ในกฏแห่งกรรม ตามความเชื่อของศาสนาผี ดังนั้นตำนานพระรถเมรี จึงน่าจะมีมาก่อนสมัยพุทธกาล เพื่อสร้างวัฒนธรรมในการครองรักครองเรือน ที่สร้างความเข้าใจระหว่างพฤติกรรมของฝ่ายหญิง และฝ่ายชาย ที่พฤติกรรมตามสันชาตญาณ

นอกจากจะสื่อถึงกฏแห่งกรรมในเรื่องความรักแล้ว ยังสื่อถึงกฏแห่งกรรมในเรื่องของการกระทำ เช่น กรณีที่นางสิบสองในวัยเด็กที่ต้องออกไปหาปลา แล้วใช้เถาวัลย์ร้อยปลาด้วยการแทงทะลุดวงตาของปลาทั้งสองข้าง เมื่อช่วงที่ตั้งท้องและถูกนางยักษ์จับไปขังไว้ในบ่อน้ำ โดยควักลูกตาทั้งสองข้างออก แต่น้องคนสุกท้องถูกควักออกข้างเดียว นั่นคือกฎแห่งกรรมที่เป็นผลจากการกระทำ ที่คนสุดท้องร้อยปลาที่หาได้ด้วยการแทงดวงตาปลาแต่ทะลุดวงเดียว แล้วแฉลบออกทางปากของปลา เมื่อถูกจับถูกควักลูกตาจึงถูกควักออกเพียงข้างเดียว

ดวงตา ในเรื่องเปรียบดั่งกับปัญญา คือ นางสิบสองถูกควักดวงตาออก ก็จะมองไม่เห็นนั่นคือ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ด้วยความคิด ซึ่งไม่สามารถที่จะสืบพันธุ์แห่งความดีได้ แต่น้องคนสุดท้องสามารถสืบพันธุ์แห่งความดีได้ เพราะมีดวงตา หรือมีปัญญามากพอที่จะดูแลพี่สาวทั้งสิบเอ็ดคนได้ และยังเลี้ยงดูบุตรชายให้เติบโต และมีศิลปะวิทยากรในการต่อสู้ชีวิต ทั้งการปรกอบอาชีพและการเอาตัวรอกในสังคมได้ เมื่อนางสิบสองได้ดวงตาคืนจากหลานชายที่นำดวงตามาสวมใส่ ทำให้มองเห็น จึงสามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติสุข นั่นคือ การหลุดพ้นจากความโง่เขลานั่นเอง

กรรมชั่ว ไม่สามารถสืบโดยโดยทางพันธุกรรมได้ ดั่งเช่น นางยักษ์สันตรา กังรี เป็นนางยักษ์ที่มีความโหดร้าย เมื่อมีบุตรีคือเมรี เมื่อเมรีถูกแปลงสารร้าย เป็นสารรัก แทน นั่นคือการที่ได้รับการกล่อมเกลาในทางที่ดี มีคุณธรรม หรือจะว่าเป็นเพราะการศึกษาก็ว่าได้ ทำให้นางเมรี ได้เปลี่ยนพฤติกรรมของยักษ์ เป็นผู้ที่มีความจงรักภักดี ต่อเป็นสมีตน ซึ่งก็เกิดจากการกล่อมเกลานั่นเอง

การกวดต้อนคนจากทางฝั่งลาว และจากประเทศกัมพูชาไว้ตามเส้นทางพระรถ เป็นการสร้างแนวกันชนของการรุกรานจากพวกจาม ที่เข้ามาทางลาว และ กัมพูชา โดยมีมณฑลปราจีนบุรีหรือจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งถือว่าเป็นหัวเมืองตะวันออก เป็นเมืองควบคุมและปกครอง ซึ่งผู้ที่ถูกกวาดต้นมาตั้งรกรากอยู่ตามเส้นทางพระรถในปัจจุบัน ได้นำเอาตำนานพระรถเมรี มาผูกกับสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้จดจำว่า สถาพแวดล้อม สังคม การเมือง วัฒนธรรม ความเป็นอยู่เมื่อก่อนนั้นเป็นอย่างไร ความเชื่อมโยงเรื่องราวทั้งหมด ก็ไม่ได้โยงไปถึงบริเวณอื่น เช่น ในอำเภอสัตหีบ สระแก้ว บุรีรัมย์ นครราชสีมา ก็ไม่มีสถานที่ที่ผูกโยงกับตำนานนี้เลย นิทานคติชนพระรถเมรี ได้ผู้โยงกับสถานที่เพียงบริเวณใกล้เคียงกับบ้านเมือง บนเส้นทางพระรถ เท่านั้ และไม่มีสถานที่บนเส้นทางพระรรถไปผูกโยงกับตำนานเรื่องอื่นเลย แม้แต่ตำนานที่เป็นนิทานคติชนในเรื่องเดียวกันแต่คนละเวอร์ชั่น อย่าง พระสุธน มโนรา ก็ไม่มีสถานที่ผู้โยงเลย

การผูกโยงเรื่อราวของนิทานคติชน พระรถเมรี หรือนางสิบสองกับสถานที่ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักว่า พวกเขาไม่ได้มีถิ่นฐานที่เป็นรากเหง้านบนเส้นทางพระรถนี้ อย่างที่นางสิบสองต้องระเหเร่รอนจากบ้านมา หลงป่า และถูกนางยักษ์จับทางกักขั้งเลี้ยงดูเพื่อใช้งานในถ้ำนางสิบสอง ซึ่งถ้าจะนับอำเภอที่ตั้งของชุมชนที่เชื่อมโยงกับนิทานคติชนเรื่องนี้ ประกอบด้วย อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอพนมสารคาม จะงหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา และอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดนครนายก รวมทั้งหมด 6 อำเภอ ซึ่งนางสิบสอง น่าจะเกี่ยวโยงกับการนำผู้หญิงจากชุมชนกวาดต้อนเหล่านี้เข้ามาถวายตัวเป็นสนมนางใน ในราชสำนัก ชุมชนละ 2 คน การเชื่อมโยงตำนานที่เกี่ยวข้องจึงพยายามที่จะโยงถึงผู้หญิงเหล่านี้ ที่ทำให้ชุมชนที่ตั้งในถื่นกวาดต้อนเหล่านี้มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนไทย โดยสนิทใจ และมีความรักภักดีต่อแผ่นดินบนเส้นทางพระรถ ที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยด้วยชีวิต ซึ่งวิวัฒนการของความเป็นไทยก็จะคล้ายคลึงกับคนจีนโพ้นทะเลที่อพยบเข้ามาอยู่ในเมืองไทย จนทุกวันนี้ก็กลายเป็นคนจีนรุ่นใหม่ที่รู้สึกว่าตนเองเป็นคนไทยอย่างสนิทใจ นั่นเอง