Think In Truth

มหากาพย์...'กัญชา'มหาภัยหรือยาวิเศษ ชาวโลก(ตอนที่ 5)โดย: ฅนข่าว2499



ตำรับยากัญชาแผนไทยที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่ได้รับจากคณะกรรมการขับเคลื่อนประชา สัมพันธ์การใช้กัญชาเพื่อการแพทย์กระทรวงสา ธารณสุขซึ่งผลิตโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ทั้งนี้ โดยกำหนดเป็นตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ที่ให้เสพเพื่อการรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้​พ.ศ.2562 (ลงวันที่ 29 มีนาคม 2562)  เป็นตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ในตำราการแพทย์แผนไทย โดยคำแนะนำของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และสภาการแพทย์แผนไทย ตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายประกาศ

ตำรับยาที่ 1 ยาศุขไสยาศน์

(ที่มาของตำรับยา : คัมภีร์ธาตุพระนารายน์)

“ยาศุขไสยาศน์ ให้เอา การบูร 1 ส่วน ใบสเดา 2 ส่วน สหัสคุณเทศ 3 ส่วน สมุลแว้ง 4 ส่วน เทียนดำ 5 ส่วน โกฏกระดูก 6 ส่วน ลูกจันทน์ 7 ส่วน ดอกบุนนาค 8 ส่วน พริกไท 9 ส่วน ขิงแห้ง 10 ส่วน ดีปลี 11 ส่วน ใบกันชา 12 ส่วน ทำเปนจุณละลายน้ำผึ้งเมื่อจะกินเศกด้วยสัพพีติโย 3 จบ แล้วกิน พอควร แก้สรรพโรคทั้งปวงหายสิ้น มีกำลังกินเข้าได้ นอนเป็นศุขนักแลฯ”

สูตรตำรับยาประกอบด้วย ตัวยา 12 ชนิด รวมน้ำหนัก 78 ส่วน ดังนี้

ลำดับ

ตัวยา

น้ำหนักยา

1

การบูร

1 ส่วน

2

ใบสะเดา

2 ส่วน

3

หัสคุณเทศ

3 ส่วน

4

สมุลแว้ง

4 ส่วน

5

เทียนดำ

5 ส่วน

6

โกฐกระดูก

6 ส่วน

7

ลูกจันทน์

7 ส่วน

8

ดอกบุนนาค

8 ส่วน

9

พริกไทย

9 ส่วน

10

ขิงแห้ง

10 ส่วน

11

ดีปลี

11 ส่วน

12

ใบกัญชา

12 ส่วน

ข้อบ่งใช้ - ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร

รูปแบบยา -ยาผง แคปซูล

ขนาดและวิธีใช้ -รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน

น้ำกระสายยาที่ใช้ –น้ำผึ้งรวงถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน

ข้อห้ามใช้ - ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีห้ามใช้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยานอนหลับ และยาต้านการชัก รวมทั้งแอลกอฮอล์ หรือสิ่งที่มี แอลกอฮอล์ผสมอยู่

ข้อควรระวัง -ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด(antiplatelets)

- ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยเป็นส่วนประกอบ

- ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูร และเกิดพิษได้

- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน

- ยานี้อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล

เอกสารอ้างอิง - คัมภีร์ธาตุพระนารายน์ (ฉบับใบลาน). กรมหลวงวงสาฯ กรมหมื่นไชยนาท ประทาน พ.ศ. 2459./ ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์. คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์และมูลนิธิภูมิปัญญา. 2548. หน้า 34.

ตำรับยาที่ 2ยาทำลายพระสุเมรุ

(ที่มาของตำรับยาคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณขุนโสภิตบรรณลักษณ์ เล่ม 2)

          “ยาทำลายพระสุเมรุ เอาลูกจันทน์ 1 เฟื้อง ดอกจันทน์ 1 สลึง ลูกกระวาน 1 สลึงเฟื้อง กานพลู 2 สลึง เกลือสินเธาว์ 3 สลึง ดีปลี 2 สลึงเฟื้อง หว้านน้ำ 3 สลึงเฟื้อง โกฐสอ 1 บาท โกฐเขมา 1 บาทเฟื้อง เทียนดำ 5 สลึง เทียนแดง 5 สลึงเฟื้อง เทียนขาว 6 สลึง เทียนตาตั๊กแตน 6 สลึงเฟื้อง เทียนข้าวเปลือก 7 สลึง ขิงแห้ง 7 สลึงเฟื้อง กัญชา 2 บาท รากเจ็ตมูลเพลิง 2 บาทเฟื้อง หัวบุกรอ 9 สลึง เนื้อลูกสมอไทย 9 สลึงเฟื้อง เนื้อลูกสมอเทศ 10 สลึง การะบูน 10 สลึงเฟื้อง หัศกุนเทศ 10 สลึงเฟื้อง พริกไทยล่อน 57 บาท 3 สลึง บดเป็นผงละลายน้ำอ้อยแดง หรือน้ำนมโค กินครั้งละ 1 สลึง แก้ลมจุกเสียด ลมปะทะอก ลมตามืดหูหนัก ปวดหัวมึนตึง ลมเมื่อยขบในร่างกาย ลมสะดุ้งแลสั่นไปทั้งตัว ลมเปรี่ยวดำ แก้จุกผามม้านย้อย มารกะไษย ไส้พองท้องใหญ่ ลมคลั่งเพ้อ ลมอำมะพฤกษ์อำมะพาธ ลมปัตฆาต แก้โรคผิวหนัง ลมชักปากเบี้ยวตาแหก แก้ริดสีดวงทวาร แก้โรคเสมหะโลหิตเรื้อรัง หายแล”

สูตรตำรับยาประกอบด้วย ตัวยา 23 ชนิด รวมน้ำหนัก 1,338.75 กรัม ดังนี้

ลำดับ

ตัวยา

น้ำหนักยา

1

ลูกจันทน์

1.875 กรัม

2

ดอกจันทน์

3.75 กรัม

3

กระวาน

5.625 กรัม

4

กานพลู

7.5 กรัม

5

เกลือสินเธาว์

9.375 กรัม

6

ดีปลี

11.25 กรัม

7

ว่านน้ำ

13.125 กรัม

8

โกฐสอ

15 กรัม

9

โกฐเขมา

16.875 กรัม

10

เทียนดำ

18.75 กรัม

11

เทียนแดง

20.625 กรัม

12

เทียนขาว

22.5 กรัม

13

เทียนตาตั๊กแตน

24.375 กรัม

14

เทียนข้าวเปลือก

26.25 กรัม

15

ขิงแห้ง

28.125 กรัม

16

กัญชา

30 กรัม

17

เจตมูลเพลิง

31.875 กรัม

18

บุกรอ

33.75 กรัม

19

สมอไทย

35.625 กรัม

20

สมอเทศ

37.5 กรัม

21

การบูร

39.375 กรัม

22

หัสคุณเทศ

39.375 กรัม

23

พริกไทยล่อน

866.25 กรัม

ข้อบ่งใช้ -             แก้ลมจุกเสียด เมื่อยขบตามร่างกาย แก้ปวดกล้ามเนื้อ คลายกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งจากโรคลมอัมพฤกษ์ อัมพาต

รูปแบบยา -          ยาผง ยาแคปซูล

ขนาดและวิธีใช้ - รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร

น้ำกระสายยาที่ใช้ - น้ำอ้อยแดง น้ำนมโคถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน

ข้อห้ามใช้ -ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

ข้อควรระวัง - ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)

-  ควรระวังการใช้ยานี้ ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง

- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน

- ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ

- ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูรและเกิดพิษได้

ข้อมูลเพิ่มเติม

ลมเปลี่ยวดำ เป็นโรคลมชนิดหนึ่ง เกิดจากการกระทบกับความเย็นมากจนเป็นตะคริว ผู้ป่วยมีอาการกล้ามเนื้อเกร็งอย่างรุนแรง กระตุก ทำให้เจ็บปวดบริเวณที่เป็นมาก มักแก้โดยการนวดจุดบริเวณตาตุ่มด้านในหรืออาจรักษาด้วยยาสังขวิไชย หรือยาทำลายพระสุเมรุ

เอกสารอ้างอิง

ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อำพัน กิตติขจร). คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อุตสาหกรรมการพิมพ์; 2504. หน้า 268.

ตำรับยาที่ 3ยาแก้ลมแก้เส้น

(ที่มาของตำรับยา : เวชศาสตร์วัณ์ณณา เล่ม 5)

“ขนานหนึ่งเอา เทียนขาว 1 เทียนดำ 2 เทียนข้าวเปลือก 3 ขิง 4 เจตมูล 5 ใบกัญชา 20 พริกไทย 40 ส่วน ทำเป็นจุณละลายน้ำผึ้ง น้ำส้มซ่ากินแก้ลมแก้เส้นแก้เมื่อยแก้เหน็บชาแก้ตีนตายมือตายหายดีนัก”

สูตรตำรับยาประกอบด้วย ตัวยา 7 ชนิด รวมน้ำหนัก 75 ส่วน ดังนี้

ลำดับ

ตัวยา

น้ำหนักยา

1

เทียนขาว

1 ส่วน

2

เทียนดำ

2 ส่วน

3

เทียนข้าวเปลือก

3 ส่วน

4

ขิง

4 ส่วน

5

เจตมูลเพลิงแดง

5 ส่วน

6

ใบกัญชา

20 ส่วน

7

พริกไทย

40 ส่วน

ข้อบ่งใช้ -แก้ลมในเส้น บรรเทาอาการมือเท้าชา อ่อนแรง

รูปแบบยา - ยาผง ยาแคปซูล

ขนาดและวิธีใช้ -รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร

น้ำกระสายยาที่ใช้ -น้ำผึ้งรวง น้ำส้มซ่าถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน

ข้อห้ามใช้ - ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

ข้อควรระวัง

- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)

- ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง

- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน

- ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ลมในเส้น เป็นลมที่พัดประจำอยู่ตามเส้นต่างๆ ในร่างกาย เช่น ลมจันทกระลา พัดอยู่ในเส้นอิทา ลมสูญทกลา พัดอยู่ในเส้นปิงคลา เมื่อลมเหล่านี้ผิดปกติจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหรือชาตามแนวเส้นที่ลมนั้นพัดประจำหรือบริเวณใกล้เคียง เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

สุ่ม วรกิจ พิศาล. เวชศาตร์วัณ์ณณา ตำราแพทย์แบบเก่า เล่ม 5 เรียบเรียงตามตำราของท่านพระยาประเสริฐสารทดำรง (หนู) บิดา. กรุงเทพฯ: พิศาลบรรณนิติ์; 2460 หน้า 974.

ตำรับยาที่ 4ยาอัคคินีวคณะ

(อยู่ระหว่างการผลิตที่มาของตำรับยา : คัมภีร์ธาตุพระนารายน์)

“อัคคินีวคณะ ให้เอา กัญชา ยิงสม สิ่งละส่วน เปลือกอบเชย ใบกระวาน กานพลู สะค้าน สิ่งละ 2 ส่วน ขิงแห้ง 3 ส่วน รากเจตมูลเพลิง ดีปลี สิ่งละ 4 ส่วน น้ำตาลกรวด 6 ส่วน กระทำเป็นจุณ น้ำผึ้งรวงเป็นกระสาย บดเสวยหนักสลึง 1 แก้อาเจียน 4 ประการ ด้วยติกกะขาคินีกำเริบ และวิสมามันทาคินีอันทุพล จึงคลื่นเหียนอาเจียน มิให้เสวยพระกระยาหารได้ ให้จำเริญพระธาตุทั้ง 4 ให้เสวยพระกระยาหาร เสวยมีรสชูกำลังยิ่งนัก

ข้าพระพุทธเจ้า ขุนประสิทธิโอสถจีน ประกอบทูลเกล้าฯถวาย ครั้งสมเด็จพระนารายณ์เปนเจ้าเมืองลพบุรี เสวยเพลาเช้าอัตรา ดีนักแลฯ”

สูตรตำรับยาประกอบด้วย ตัวยา 10 ชนิด รวมน้ำหนัก 27 ส่วน ดังนี้

ลำดับ

ตัวยา

น้ำหนักยา

1

กัญชา

1 ส่วน

2

ยิงสม (โสม)

1 ส่วน

3

เปลือกอบเชย

2 ส่วน

4

ใบกระวาน

2 ส่วน

5

กานพลู

2 ส่วน

6

สะค้าน

2 ส่วน

7

ขิงแห้ง

3 ส่วน

8

เจตมูลเพลิง

4 ส่วน

9

ดีปลี

4 ส่วน

10

น้ำตาลกรวด

6 ส่วน

ข้อบ่งใช้ - แก้คลื่นเหียนอาเจียน ที่เกิดจากการย่อยอาหารผิดปกติ

รูปแบบยา - ยาผง ยาแคปซูล

ขนาดและวิธีใช้ -รับประทานครั้งละ 3.75 กรัม วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า

น้ำกระสายยาที่ใช้ – น้ำผึ้งรวงถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน

ข้อห้ามใช้ - ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

ข้อควรระวัง

- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)

- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน

ข้อมูลเพิ่มเติม

ติกกะขาคินี หมายถึง ไฟย่อยอาหารกำเริบ ซึ่งมักสัมพันธ์หรือเกิดจากปิตตะกำเริบ

วิสมามันทาคินี อันทุพล หมายถึง ไฟย่อยอาหารที่มีลักษณะที่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่คงที่ เช่น บางมื้อกินอาหารได้มากเนื่องจากไฟย่อยอาหารมีกำลังแรง แต่พอถึงมื้อต่อไปมีอาการเบื่ออาหาร ไม่อยากรับประทานอาหาร เนื่องจากไฟย่อยอาหาร (อัคนิ) อ่อนกำลังลง ลักษณะอาการขึ้นๆ ลงๆ ไม่แน่นอน ไม่สม่ำเสมอของไฟย่อยอาหารเป็นผลจากความผิดปกติของ “วาตะ” อาจกล่าวอีกอย่างว่า “วาตะทำให้ไฟย่อยอาหารมีลักษณะที่ไม่แน่นอน”

ยามีรสร้อน ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคกระเพาะอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารและแบ่งรับประทานก่อนอาหารเช้าและเย็น

ชื่ออื่นในตำรายาเกร็ด เช่น อัคคีวัชณะ, ยาชื่ออัคคีวัฒนะ, ยาชื่ออัคนี

เอกสารอ้างอิง

  • คัมภีร์ธาตุพระนารายน์ (ฉบับใบลาน). กรมหลวงวงสาฯ กรมหมื่นไชยนาท ประทาน พ.ศ. 2459.

- ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์. คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์และมูลนิธิภูมิปัญญา. 2548. หน้า 29.

ตำรับยาที่ 5ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย

(อยู่ระหว่างการผลิต–ที่มาของตำรับยาตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม)

“สิทธิการิยะ จะกล่าวลักษณะกำเนิดแห่งลม อันชื่อว่าเนาวนารีวาโย เป็นคำรบ 18 นั้น เกิดแต่ปลายปัตคาดปลายสันทฆาตเจือกันกล่าวคือจับต้นคอเป็นต้นก็ดี ในลำคอก็ดี เหตุว่าแล่นถึงกันมักบังเกิดแก่สตรีทรงครรภ์ กระทำให้ปลายมือปลายเท้า ดุจปลาดุกยอก แล้วขึ้นมาจับเอาต้นคอให้คอแข็ง จะเบือนคอก็มิได้ สมมติว่าคอแข็งแล้วกระทำพิษให้ร้อนเป็นกำลัง จึงพระฤาษีเพทะกะเทพให้แต่งยานี้แก้ เอากัญชา 1, ดีปลี 1, พริกไทย 1, ขิงแห้ง 1, ขอบชะนางทั้ง 2, ตานหม่อน 1, ลูกจันทน์ 1, ดอกจันทน์, สมุลแว้ง 1,อบเชย 1, กานพลู 1, เอาเสมอภาค ทำเป็นจุณบดละลายน้ำผึ้งกินหนัก 1 สลึง ให้กินเช้าเย็น อาจารย์ท่านกล่าวไว้ว่าให้กิน 7 วันหายวิเศษนักฯ”

สูตรตำรับยาประกอบด้วย ตัวยา 12 ชนิด รวมน้ำหนัก 12 ส่วน ดังนี้

 

ลำดับ

ตัวยา

น้ำหนักยา

1

กัญชา

1 ส่วน

2

ดีปลี

1 ส่วน

3

พริกไทย

1 ส่วน

4

ขิงแห้ง

1 ส่วน

5

ขอบชะนางแดง

1 ส่วน

6

ขอบชะนางขาว

1 ส่วน

7

ตานหม่อน

1 ส่วน

8

ลูกจันทน์

1 ส่วน

9

ดอกจันทน์

1 ส่วน

10

สมุลแว้ง

1 ส่วน

11

อบเชย

1 ส่วน

12

กานพลู

1 ส่วน

ข้อบ่งใช้ -แก้อาการเจ็บแปลบที่ปลายมือปลายเท้า ต้นคอตึงแข็งเกร็ง หันคอไม่ได้

รูปแบบยา -ยาผง ยาแคปซูล

ขนาดและวิธีใช้ -รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ก่อนอาหาร

น้ำกระสายยาที่ใช้ –น้ำผึ้งรวงถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน

ข้อห้ามใช้ -ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

ข้อควรระวัง

- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)

- ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยเป็นส่วนประกอบ

ข้อมูลเพิ่มเติม - ลมเนาวนารีวาโย เป็นลมที่ทำให้มีอาการเจ็บแปล๊บที่ปลายมือปลายเท้าคล้ายปลาดุกยอก ต้นคอตึงแข็งเกร็ง หันคอไม่ได้

เอกสารอ้างอิง - โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ. ตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร, พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. 2375 ฉบับสมบูรณ์, 2505. หน้า 322.

หมายเหตุ :ติดตามตอนที่ 6 – 11 ในตอนต่อไป